จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

เมื่อวันที่ 30 - 31 มกราคม 2559 ผมมีโอกาสได้ไปอบรมหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Human Research Participated Protection Course) โดยมี พ.อ. นพ. รศ.สุธี พานิชกุล เป็นวิทยากร 

ในการอบรมมีหัวข้อในการบรรยาย ดังนี้
    - วิวัฒนาการและหลักจริยธรรมวิจัยพื้นฐาน
    - บทความหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมวิจัย การประเมินความเสี่ยง

การปฏิบัติงานในหน้าที่ คือ จุดเริ่มต้นของความเป็นมืออาชีพ

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559 ผมมีโอกาสเข้าฟังคุณสมพงษ์ เจริญสุข บรรยายในหัวข้อ การทำงานแบบมืออาชีพของคนทำงานองค์กรยุคใหม่ มุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลาย ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 10

เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2559 ผม (คณิศร รักจิตร) และพี่พิเชษฐ (พิเชษฐ เพียรเจริญ) ในฐานะตัวแทนวารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 10 (AUTOMATED DATA INPUT AND ELECTRONIC JOURNAL MANAGEMENT) ซึ่งจัดโดย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre: TCI) 

ปฐมนิเทศพนักงานใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี ๒๕๕๘

เมื่อวันที่ ๒๐-๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ ผมได้มีโอกาสเข้าร่าวกิจกรรมปฐมนิเทศพนักงานใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี ๒๕๕๘ 
แม้หากนับอายุการทำงานที่สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แล้วนั้น ผมมีอายุการทำงานประมาณ ๕ ปี และมีโอกาสบรรจุในตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ ในปีนี้จึงมีโอกาสได้เข้าปฐมนิเทศพนักงานใหม่

การปฐมนิเทศในช่วงแรกเป็นการปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นสงขลานครินทร์ ให้มุมมองแนวคิดในการทำงานและการใช้ชีวิต 

จริยธรรมกับการเผยแพร่ผลงานวิจัย

ผมมีโอกาสฟังบรรยาย "จริยธรรมกับการเผยแพร่ผลงานวิจัย" โดย นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ณ อาคาร LRC มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

การแก้ไขข้อความในไฟล์ PDF ด้วย Adobe Acrobat Pro

หลายท่านคงเคยชินกับการใช้ Adobe Acrobat Pro ในการแก้ไข เพิ่ม ลบ หน้าในไฟล์ PDF ผมเองก็เช่นกัน แต่บล็อกนี้นอกจากเป็นการบันทึกความรู้แล้ว ยังเป็นการบันทึกความโง่ของตนเองไว้ด้วย สืบเนื่องจากมีอาจารย์ 2-3 ท่าน ถามผมว่าต้องการแก้ไขข้อความในไฟล์ PDF ทำได้อย่างไร ผมตอบด้วยความมั่นใจอย่างที่สุดว่า ทำไม่ได้ แล้ววันหนึ่งวันที่ความโง่ของตนเองปรากฏ คือ วันที่อาจารย์คม (นามสมมติ) มาขอให้ติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Pro รุ่งขึ้นอีกวันอาจารย์คมก็มาแนะนำวิธีการแก้ไขข้อความในไฟล์ PDF ให้ผมได้หายโง่ ซึ่งมีวิธีการ ดังภาพ

การดูแลสุขภาพตามแนวทางของ อาจารย์ไกร มาศพิมล และ นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์

บล็อกนี้ต้องบอกกล่าวกันก่อนว่า เป็นการเขียนที่เก็บไว้ให้ตัวเองอ่านเป็นสำคัญ แต่หากจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้างก็ยินดีครับ
ความจริงการรับฟังเรื่องนี้ เกิดจากพี่บ่าว (ลูกพี่ลูกน้อง) ส่งลิงค์วิดีโอใน youtube ตัวหนึ่งมาให้ฟัง โดยโฆษณาชวนเชื่อว่า ดีมาก 
ผมเองก็เป็นคนเชื่อคนง่ายอยู่แล้วเลยเปิดฟังอย่างไม่ลังเล 

ข้อคิดยามรู้สึกเหนื่อย จากการฟัง ศาสตราจารย์ระพี สาคริก

ผมมีโอกาสได้ฟังเทปบันทึกการบรรยายของ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก เรื่อง ครูกับการเรียนรู้ไม่จบ เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมีโอกาสได้ดูวิดีโออื่นของท่านในอินเทอร์เน็ต ได้ข้อคิดในการทำงานหลายประการ ปัจจุบันท่านอายุ 94 ปี แต่ยังทำงานตั้งแต่ 9 โมง ถึง 5 ทุ่ม เป็นอย่างน้อย อาทิตย์ละ 7 วัน เป็นแบบอย่างการทำงานที่น่าน้อมนำมาปฏิบัติมากเลยครับ 

ใครบ้างที่ควรเขียนบันทึกความรู้ในเว็บไซต์การจัดการความรู้สำนักวิทยบริการ

เมื่อพูดถึงการเขียนบันทึกความรู้ หลายคนบอกว่าไม่รู้จะเขียนอะไร ไม่มีอะไรจะเขียน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น หรือเพราะยังไม่เข้าใจว่า ความรู้ คืออะไร

ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ (ที่มา: http://www.royin.go.th/dictionary)