การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563-2567
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (ศูนย์ TCI) ได้ทำการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ไปแล้ว 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2558 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการของวารสารไทย ทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบให้มีมาตรฐานระดับสากล ซึ่งการประเมินที่ผ่านมานั้นจะสิ้นสุดการรับรองคุณภาพในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ศูนย์ TCI จึงจัดให้มีการประเมินคุณภาพวารสารรอบที่ 4 ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งในการประเมินคุณภาพครั้งนี้ ทุกวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI จะต้องได้รับการประเมินคุณภาพใหม่อีกครั้ง โดยภายหลังการประเมิน จะมีระยะเวลาการรับรองคุณภาพวารสารเป็นระยะเวลา 5 ปี คือ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ในการประเมินครั้งนี้ ศูนย์ TCI ได้มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินใหม่ ดังนี้
เกณฑ์หลัก (เป็นเกณฑ์ที่ไม่คิดเป็นคะแนน แต่วารสารกลุ่ม 1 ต้องผ่านเกณฑ์หลักนี้ทุกข้อ)
- วารสารต้องออกตรงตามเวลาที่กำหนด ออกตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในนโยบายของวารสาร ซึ่งเกณฑ์ข้อนี้เป็นเกณฑ์สำคัญที่สุดสำหรับวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI
- วารสารมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ที่จดทะเบียนถูกต้องตามหลักสากล
- วารสารต้องมีเว็บไซต์ที่มีข้อมูลครบถ้วน ควรประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐาน ดังนี้
- ข้อมูลบทความในฉบับซึ่งประกอบไปด้วย ชื่อบทความ และชื่อของผู้นิพนธ์
- Aim & scope ของวารสารที่ชัดเจน
- ข้อความที่ระบุประเภทบทความที่รับตีพิมพ์อย่างชัดเจน
- ข้อความที่ระบุประเภทของการ Peer-review (เช่น single blinded หรือ double blinded)
- ข้อความที่ระบุจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินต่อบทความ
- กำหนดออก เช่น ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือน...... ฉบับที่ 2 เดือน...... เป็นต้น
- รายชื่อและที่อยู่ของกองบรรณาธิการทุกท่าน
- คำแนะนำสำหรับผู้เขียน และต้องระบุรูปแบบของการอ้างอิงที่ใช้หรือให้ตัวอย่างการใช้เอกสารอ้างอิง
- บทความมีรูปแบบการตีพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน ข้อมูลบทความในแต่ละฉบับ ควรประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐาน ดังนี้
- กรณีที่เนื้อหาบทความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด 1) ชื่อบทความภาษาอังกฤษ 2) ชื่อและสังกัดผู้นิพนธ์ภาษาอังกฤษครบถ้วนทุกคน 3) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ 4) คำสำคัญภาษาอังกฤษ
- กรณีที่เนื้อหาบทความเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่น เช่น ภาษาจีน, ภาษามลายู เป็นต้น 1) ชื่อบทความภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทยหรือภาษาอื่น 2) ชื่อและสังกัดผู้นิพนธ์ภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทยหรือภาษาอื่นครบถ้วนทุกคน 3) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทยหรือภาษาอื่น 4) คำสำคัญภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทยหรือภาษาอื่น
เกณฑ์รอง (เป็นเกณฑ์ที่คิดเป็นคะแนน โดยมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน)
- วารสารต้องมี citation ที่ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล TCI พิจารณา citation/article เฉลี่ยของวารสารในฐานข้อมูล TCI 3 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559-2561) ตามสาขาของวารสาร ดังนี้
- Life Sciences
- Social Sciences
- Physical Sciences
- Health Sciences
- วารสารต้องมีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลายหน่วยงาน พิจารณาจากที่อยู่ (สังกัด) ของผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการวารสาร โดยต้องมีกองบรรณาธิการจากหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานที่จัดทำวารสาร โดยพิจารณาจากหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัย/กอง ขึ้นไป
- วารสารต้องตีพิมพ์บทความที่มีผู้นิพนธ์มาจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก พิจารณาจากที่อยู่ของผู้นิพนธ์บทความ โดยต้องมีบทความจาก หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานที่จัดทำวารสาร (ในกรณีที่บทความมีผู้นิพนธ์ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก จะถือว่าเป็นบทความจากหน่วยงานภายนอก) โดยพิจารณาจากหน่วยงานระดับมหาวิทยาลัย/กอง ขึ้นไป
- วารสารมีรูปแบบการอ้างอิงที่ถูกต้องตามมาตรฐาน มีรูปแบบการอ้างอิงของบทความ โดยจะต้องมีการอ้างอิงตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้
- วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ พิจารณาจาก
- การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรงตามสาขาวิชา (ควรมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอย่างน้อย 2 ท่าน/บทความ)
- บทความจากผู้นิพนธ์ภายในต้องได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ (ผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่อยู่ในสังกัดหรือหน่วยงานเดียวกัน)
- ความเข้มข้นในการประเมินคุณภาพบทความ (ผู้ทรงคุณวุฒิมีการประเมินและวิจารณ์เนื้อหาเชิงวิชาการของบทความและให้ข้อคิดเห็นเชิงวิชาการ)
- วารสารต้องมีระบบการจัดการวารสารแบบออนไลน์ (โดยมีหลักฐาน submission, review, และ editor decision บนเว็บไซต์) หรือระบบ Online Journal System (OJS) พิจารณาจากเว็บไซต์ของวารสารมีระบบการจัดการวารสารแบบออนไลน์และมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องหรือไม่
- คุณภาพของบทความในวารสาร พิจารณาจากบทความที่วารสารส่งเข้ามาให้ทำการประเมิน 10 บทความ ในช่วงเวลา 3 ปีย้อนหลัง โดยจะพิจารณาจาก
- ความชัดเจนและรายละเอียดของบทคัดย่อ (Clarity of abstracts)
- คุณภาพของบทความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร (Quality and conformity to the stated aim and scope of the journal)
- องค์ประกอบและความง่ายของการอ่านบทความ (Readability of articles)
- องค์ความรู้ใหม่ (Originality and Body of Knowledge)
- เกณฑ์คุณภาพอื่นๆ
- มีการระบุวันที่รับบทความ (received), วันแก้ไขบทความ (revised), วันตอบรับบทความ (accepted) โดยใช้กับ บทความตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป
- วารสารมีเนื้อหาและรายละเอียดของ Publication Ethics ประกอบด้วย 1) บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors) 2) บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors) 3) บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- Log in to post comments
- 283 views