การพัฒนาคุณภาพวารสารให้เทียบเท่าเกณฑ์ระดับนานาชาติ

เมื่อวันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2567 มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "การเตรียมวารสารเข้าสู่ฐาน Scopus" 
วิทยากรโดย คุณโกสินธุ์ ศิริรักษ์ 
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไประดับชำนาญการ
บรรณาธิการจัดการวารสาร Trends in Sciences (TiS)
 

"ข้อความด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งจากสไลด์ของคุณโกสินธุ์ ที่นำมาแลกเปลี่ยน ขออนุญาตบันทึกไว้เผื่อเป็นประโยชน์กับสำนักพิมพ์ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานวารสารทุกท่านครับ"

ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ว่าด้วยการใช้ AI กับงานวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือ

    ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายในทุก ๆ วงการ รวมทั้งวงการห้องสมุดก็ไม่เว้น ถ้าจะพูดถึงเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงแซงทุกโค้ง ณ ตอนนี้ ก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่า AI ทุกวงการให้ความสนใจพร้อมกับความกังวลใจมิน้อยว่า AI จะมาแย่งงานจากคนหรือเปล่า เราจะตกงานกันในยามแก่หรือไม่ แต่ถ้าคิดในอีกมุมหนึ่ง ถ้าเราใช้ AI

การประชุมชี้แจงเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 พ.ศ. 2568-2572

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จัดให้มี “ประชุมชี้แจงเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI ในรอบที่ 5 พ.ศ. 2568-2572” เมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร โดยมีบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และผู้เกี่ยวข้องวารสาร ทั้งสิ้น 480 คน จาก 240 วารสาร

การประชุมประกอบด้วย 4 หัวข้อ ดังนี้

สรุปการประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 14 (The 14th Symposium for Thai Journal Development Network)

จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 14 ในวันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งจัดโดย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,200 คน

การพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (3)

การที่ ก.พ.อ. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ ใช้ผลงานทางวิชาการที่มีความเหมาะสมและยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ยังคงมีมาตรฐานทางวิชาการ จึงให้ใช้ผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ โดยไม่ต้องอยู่ในฐานข้อมูล TCI ได้ ทั้งนี้ วารสารวิชาการระดับชาติต้องเป็นวารสารวิชาการที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (2)

หลังจากทราบผลการประเมินและอ่านรายละเอียดทั้งหมด ผมเริ่มต้นด้วยการทบทวนว่า ตัวเองพลาดอะไรไปบ้าง แล้วจะปรับการทำงานส่วนใดบ้าง จากนั้นนำประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขเรียนปรึกษากับ รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ ผู้ผลักดันให้วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขึ้นสู่ TCI 1 พร้อมทาบทามและขอความกรุณาให้ช่วยเป็นบรรณาธิการคนต่อไป (เนื่องจากบรรณาธิการพิเชษฐ เพียรเจริญ กำลังเกษียณอายุราชการ) บทสรุปแนวทางการปรับปรุงแก้ไข มีดังนี้

การพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (1)

เนื้อหานี้ผมวางแผนและตั้งใจที่จะเขียนตั้งแต่ทราบผลการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563-2567 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 แล้ว แต่ตั้งใจว่าจะเขียนเมื่อทราบผลการประเมินรอบที่ 4 ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อปรับกลุ่มอีกครั้ง เพื่อบันทึกไว้ว่าผมได้ทำอะไรไปบ้าง ทั้งยังหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนทำงานวารสารด้วยกันอีกด้วย

Creative Commons กับการสร้างสื่ออย่างไร...ไม่ให้โดนลิขสิทธิ์

 

ผลงานทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นมาล้วนแต่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์กับเจ้าของผลงาน หรือที่เรียกว่า Copyright (©) ซึ่งหากผู้อื่นจะนำผลงานนั้นไปใช้ก็ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน หากมีการนำงานมาใช้โดยไม่ขออนุญาตก็จะละเมิดลิขสิทธิ์กับเจ้าของผลงาน ตรงนี้เองทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า Creative Commons

ก่อนอื่นเลยนะครับ เรามาทำความรู้จักกันคำว่า “Creative Common” กันก่อนดีกว่า

10 ฟอนต์ฟรี เชิงพาณิชย์

วิถีชีวิตออนไลน์ เรื่องฟอนต์ ใครว่าไม่สำคัญ เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เนื้อหาที่เราต้องการนำเสนอมีความน่าสนใจมากขึ้น ปัจจุบันการโหลดฟอนต์มาใช้ ก็ทำได้ง่าย ๆ มีให้โหลดมากมายหลากหลายภาษา เว็บโหลดฟอนต์ภาษาไทย ที่ได้รับความนิยมมาก คือ

www.f0nt.com  หรือ  https://fonts.google.com/

แต่อย่าลืมว่า ฟอนต์ที่มีให้โหลดไปใช้กันได้ฟรี ๆ นั้น มีลิขสิทธิ์นะค๊า ก่อนใช้อย่าลืมสังเกตุด้วย ส่วนมากจะให้ใช้ฟรีแบบส่วนตัว แต่ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์  (หมายถึงอะไรก็ตามที่ทำแล้วได้เงิน)