การพัฒนาคุณภาพวารสารให้เทียบเท่าเกณฑ์ระดับนานาชาติ
เมื่อวันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2567 มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "การเตรียมวารสารเข้าสู่ฐาน Scopus"
วิทยากรโดย คุณโกสินธุ์ ศิริรักษ์
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไประดับชำนาญการ
บรรณาธิการจัดการวารสาร Trends in Sciences (TiS)
"ข้อความด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งจากสไลด์ของคุณโกสินธุ์ ที่นำมาแลกเปลี่ยน ขออนุญาตบันทึกไว้เผื่อเป็นประโยชน์กับสำนักพิมพ์ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานวารสารทุกท่านครับ"
ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การบริหารจัดการวารสาร: ความสำคัญ ความคาดหวัง และความท้าทาย
- ทำวารสารแล้วก็ต้องทำให้ดี ทำไม่ดีไม่ต้องทำ
- ความสำเร็จในการทำงานวารสารเหมือนยอดภูเขาน้ำแข็ง แต่ภาระงาน ความยุ่งยากในการทำงานเหมือนฐานของภูเขาน้ำแข็ง คนทำวารสารต้องพูดให้น้อย ทำให้มาก
- ความสำคัญของวารสาร
- สำเร็จการศึกษา + ศึกษาต่อ + การทำงาน
- เผยแพร่ผลงานตีพิมพ์ + ตำแหน่งทางวิชาการ + ความก้าวหน้าในอาชีพ
- KPI หน่วยงาน + เคลมภาระงานด้านการวิจัย + แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
- ทุนวิจัย และ การประเมินมหาวิทยาลัย / หน่วยงาน
- รางวัล / ค่าตอบแทน / ความภูมิใจ / คุณค่าทางใจ
- ชื่อเสียงของสาขาวิชา, คณะ, มหาวิทยาลัย/หน่วยงาน, ประเทศชาติ
- การจัดอันดับหน่วยงานด้านการวิจัย เช่น QS, THE, SCImago, Nature เป็นต้น
- เป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ + ต่อยอดงานวิจัย
- ฯลฯ
- ปัญหาที่พบในการทำวารสารยุคบุกเบิก
- จำนวนบทความ --> ขาดแคลนบทความ + ออกเล่มล่าช้า
- งบประมาณ --> งานประมาณจัดพิมพ์รูปเล่ม + งบประมาณด้านบุคลากร + ค่าตอบแทนผู้ประเมิน
- นโยบายผู้บริหาร
- แนวทางการแก้ไขปัญหา
- จำนวนบทความ --> เชิญบทความมาลงตีพิมพ์ (Invited Article) + ส่งเล่มวารสารไปทั่วประเทศ? + บทความฉบับเต็มจากงานประชุมวิชาการ + จัดทำฐานข้อมูลอีเมลนักวิจัย เพื่อประชาสัมพันธ์วารสาร
- งบประมาณ --> ลดจำนวนเล่มตีพิมพ์ + สร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพวารสาร + พัฒนาระบบวารสารออนไลน์ (OJS)
การพัฒนาคุณภาพวารสารตามหลักเกณฑ์ Scopus
- การบริหารจัดการวารสาร
- เตรียมวารสาร
- ชื่อวารสารไม่ควรเป็นชื่อหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย (ชื่อวารสารสำคัญมากที่ทำให้วารสารก้าวไปข้างหน้า ให้เป็นที่รู้จัก จดจำ ชื่อวารสารควรบ่งบอกตัวตนของวารสาร ไม่ควรเป็นชื่อหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย เพื่อความเป็นสากล)
- สาขา/ขอบเขต
- รูปแบบวารสาร/การอ้างอิง
- กองบรรณาธิการ/บทความ (ต่างประเทศ)
- เชิญชวน/ประชาสัมพันธ์
- บทความรับเชิญ
- งบประมาณ
- ระบบวารสารออนไลน์ (ภาษาอังกฤษ)
- ฐานข้อมูลอีเมลนักวิจัยในสาขาของวารสาร
- แบบฟอร์มต่าง ๆ
- ทีมวิชาการ
- ทีมบริหารจัดการ
- เรียนรู้ ศึกษา จากวารสารอื่น/พี่เลี้ยงระยะแรก
- วิเคราะห์ฐานข้อมูล
- วิเคราะห์หลักเกณฑ์ฐานข้อมูล Scopus
- วางแผนสัดส่วนบทความต่างประเทศ
- วางแผนสัดส่วนกองบรรณาธิการต่างประเทศ (ด้านวิทยาศาสตร์ฯ)
- กองบรรณาธิการตีพิมพ์ 20 เรื่องขึ้นไป ในฐาน Scopus (สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
- การมีค่า Citation ใน TCI, ACI, & Scopus
- รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาของวารสาร
- ฐานข้อมูลนักวิจัยระดับนานาชาติ
- กองบรรณาธิการตีพิมพ์ 5-10 เรื่องขึ้นไป ในฐาน Scopus (สายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
- การจัดทำและเผยแพร่
- การเผยแพร่ จำนวนฉบับต่อปี
- จำนวนบทความต่อฉบับ (เช่น 8-10 บทความ เป็นต้น) กำหนดและตีพิมพ์ให้ชัดเจน
- การตรวจสอบภาษาอังกฤษ (English Editing) ผู้ประเมินต่างประเทศ
- ผู้ประเมินจากฐานข้อมูลระดับนานาชาติ
- รายชื่อผู้ประเมินจากผู้เขียน 3-5 คน เพื่อดูความโปร่งใสของผู้เขียน ผู้เขียนไม่ควรเสนอชื่อผู้ประเมินที่มีความใกล้ชิด
- Review Process (Workflow Chart) ข้อมูลการประเมิน
- Author Guidelines คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
- Publication Ethics จริยธรรมการตีพิมพ์
- Proofreading by Author* ผู้เขียนควรได้รับการตรวจสอบบทความก่อนตีพิมพ์เสมอ เพื่อความถูกต้องของบทความและรับผิดชอบร่วมกับกองบรรณาธิการในเวอร์ชันสุดท้าย
- วางแผนออกฉบับล่วงหน้า หากมีบทความควรตีพิมพ์ล่วงหน้า
- เครือข่ายสังคมออนไลน์ Facebook, Twitter เป็นต้น
- ออกแบบปกวารสาร
- พัฒนาวารสาร
- สร้างอัตลักษณ์วารสาร
- ส่งวารสารเข้าฐานข้อมูลต่าง ๆ
- วารสาร & งานประชุมวิชาการ
- บรรณาธิการรับเชิญ หรือ บทความฉบับเต็มจากงานประชุมวิชาการ
- เชิญชวนศาสตราจารย์ตีพิมพ์
- การประชาสัมพันธ์ + เปิดรับบทความฉบับถัดไปเมื่อวารสารออนไลน์
- ปรับปรุงกองบรรณาธิการทุก ๆ 2-3 ปี หรือ วิเคราะห์วารสารทุก 4-6 ปี
- เพิ่มจำนวนบทความที่ส่งมาตีพิมพ์, DOI CrossRef
- ตรวจสอบความซ้ำซ้อน (Dupli Checker, Turnitin, iThenticate)
- Highlights, Graphical Abstract, Copyright Transfer Agreement ต้องให้ผู้เขียนจัดการประเด็นเหล่านี้?
- การเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่วารสาร
- ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ที่เหมาะสม ? ตรวจสอบเปรียบเทียบกับวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน
- เตรียมวารสาร
- หลักเกณฑ์การประเมินฐานข้อมูล Scopus
- นโยบายวารสาร
- Aim and scope ของวารสาร ต้องระบุสาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ชัดเจน
- รายชื่อและต้นสังกัดของกองบรรณาธิการทุกท่าน
- กำหนดออกวารสารชัดเจน
- ระบุข้อความบทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ
- คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความที่ครบถ้วน (1 หน้า)
- รูปแบบการประเมินบทความ
- พิจารณาโดยกองบรรณาธิการวารสาร
- ผู้พิจารณาทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งทราบชื่อผู้ประเมิน (Open peer review)
- ผู้พิจารณาทราบชื่อผู้แต่ง แต่ ผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Single-blind peer review)
- ผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และ ผู้แต่งไม่ทราบชื่อประเมิน (Double-blind peer review) (จะได้คะแนนเต็ม)
- กองบรรณาธิการ
- กองบรรณาธิการหลากหลายประเทศ (จะได้คะแนนเต็ม)
- กองบรรณาธิการบางประเทศ
- กองบรรณาธิการภายในประเทศ
- ผู้เขียนบทความ
- ผู้เขียนบทความหลากหลายประเทศ (จะได้คะแนนเต็ม)
- ผู้เขียนบทความบางประเทศ
- ผู้เขียนบทความภายในประเทศ
- วารสารที่เป็นที่ยอมรับของวงการวิชาการในสาขา
- มาก
- ปานกลาง
- น้อย
- ความถูกต้องของบทคัดย่อ
- บทคัดย่อคุณภาพภาษาอังกฤษดีมาก
- บทคัดย่อคุณภาพภาษาอังกฤษปานกลาง
- บทคัดย่อคุณภาพภาษาอังกฤษแย่
- ความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับขอบเขตวารสาร
- มาก
- ปานกลาง
- น้อย
- เนื้อหาบทความฉบับเต็ม
- เนื้อหาในบทความอ่านง่าย ภาพและตารางชัดเจน
- เนื้อหาในบทความเดียวกันไม่ไปในทิศทางเดียวกัน
- เนื้อหาในบทความอ่านยาก ตัวอักษร ตัวเลขและรูปภาพในตารางไม่ชัดเจน
- การอ้างอิงวารสารในฐานข้อมูล Scopus*
- citation/article สูง
- citation/article น้อย
- citation/article ไม่มี
- การอ้างอิงผลงานของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ*
- การอ้างอิงผลงานสูง
- การอ้างอิงผลงานน้อย
- ไม่มีการอ้างอิงผลงาน
- การออกวารสารตามกำหนดเวลา*
- ออกก่อนเวลา
- ออกตรงเวลา
- ออกล่าช้า 1ฉบับ
- เนื้อหาบทความสามารถเข้าถึงแบบออนไลน์
- ฉบับล่าสุดสามารถอ่านบทความเต็มได้
- ฉบับล่าสุดสามารถอ่านบทคัดย่อได้
- ฉบับล่าสุดไม่สามารถเข้าถึงได้
- เว็บไซต์วารสารเป็นภาษาอังกฤษ
- เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
- บางส่วนเป็นภาษาอังกฤษ
- ไม่มีภาษาอังกฤษ
- คุณภาพของเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ
- ดีมาก
- ปานกลาง
- น้อย
- นโยบายวารสาร
การเตรียมกองบรรณาธิการวารสาร
- เตรียมรายชื่อ + ข้อความเชิญเป็นกองบรรณาธิการ
- เลือกตามสาขาวารสารและหลากหลายประเทศ
- เชิญกองบรรณาธิการต่างประเทศ (ASEAN > 100 รายชื่อ?)
- กอง บก. มีบทความตีพิมพ์ใน Scopus จำนวน 10 เรื่องขึ้นไป?
- ท่านใดตอบรับเป็นกอง บก. แล้วขึ้นรายชื่อบนเว็บไซต์วารสารเลยชาวต่างชาติไม่คำนึงเรื่องหนังสือแต่งตั้ง หากตอบรับแล้วไม่ขึ้นชื่อในเว็บไซต์จะดูไม่ดียิ่งกว่า
การเตรียมนักวิจัยต่างประเทศ
- เตรียมรายชื่อ + ข้อความเชิญตีพิมพ์บทความในวารสาร
- เลือกตามสาขาวารสารและหลากหลายประเทศ
- เน้นนักวิจัยต่างประเทศ + อาเซียน? (บทความภาษาอังกฤษจะทำให้ยอดการอ้างอิงสูงและรวดเร็ว)
- เลือกนักวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Scopus เป็นหลัก
- เลือกอีเมลรวบรวมไว้ใน Excel + Clean data (> 5,000 เมล)
- การเลือกหลากหลายประเทศจะทำให้การอ้างอิงกระจาย
- การเพิ่มจำนวนบทความต่อปี จะทำให้จำนวนการอ้างอิงสูงขึ้น
การทาบทามผู้ประเมินระดับนานาชาติ
- ผู้ประเมินจากฐานข้อมูล เช่น Scopus, ScienceDirect เป็นต้น
- เลือกจากสาขาของบทความ คำสำคัญ บรรณานุกรม หรือสาขาของผู้เขียน
- เปิดโอกาสให้ผู้เขียนเสนอชื่อผู้ประเมิน 3-5 คน
- ทาบทามผู้ประเมินบทความละ 8-10 คน + กรอกข้อมูลในระบบให้ละเอียด
- กำหนดระยะเวลาการประเมิน 3-4 อาทิตย์ต่อบทความ
- Log in to post comments
- 9 views