การเขียนรายงานการประชุม (สรุปจากการเข้าอบรม)
การเขียนรายงานการประชุม
การเขียนรายงานการประชุม คือ เป็นการบันทึกความคิดเห็นของผู้ที่มาประชุมและผู้ที่เข้าร่วมการประชุม ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การลงมติของที่ประชุมเพื่อเป็นหลักฐานเอาไว้
วิธีการจดและเขียนรายงานการประชุม
1.จดรายละเอียดทุกคำพูดของกรรมการทุกคน คำต่อคำ กิริยาอาการ พร้อมด้วยมติ
2.จดย่อคำพูด เอาแต่ใจความที่เป็นประเด็นสำคัญอันนำไปสู่ข้อสรุป พร้อมด้วยมติ
3.จดสรุปหาสาระสำคัญของเรื่องที่พิจารณา ความเห็น เหตุผล และข้อสรุป
การเขียนจดหมายเชิญประชุม มีหลักการเขียนดังนี้
1.จดหมายเชิญประชุมควรส่งล่วงหน้าให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุม เพื่อให้เตรียมตัวเข้าร่วมประชุม หรือหากมีธุระจะได้แจ้งให้หน่วยงานทราบ
2.แจ้งเรื่องที่ประชุม วัน เวลา สถานที่ พร้อมทั้งระเบียบวาระการประชุมให้ชัดเจน
3.ใช้สำนวนภาษาที่ชัดเจน รัดกุม และได้ใจความ ไม่เขียนเยิ่นเย้อ วกวน เพราะจะทำให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมายที่ไม่ถูกต้อง
4.การเขียนจดหมายเชิญประชุม อาจจะเขียนระเบียบวาระการประชุมลงไปในจดหมายเชิญประชุม หรือแยกระเบียบวาระการประชุมอีกแผ่นต่างหากก็ได้
ความสำคัญของรายงานการประชุม
1.เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการประชุม
2.เป็นหลักฐานการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคล องค์กร
3.เป็นเครื่องมือติดตามงาน
4.เป็นหลักฐานอ้างอิงที่ใช้ได้ตามกฎหมาย
5.เป็นข้อมูลข่าวสาร
คุณลักษณะรายงานการประชุม
1.รูปแบบ : ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาด เรียบร้อย สวยงาม
2.องค์ประกอบ : ครบถ้วน สมบูรณ์
3.การใช้ภาษา : ถูกระดับ ถูกไวยกรณ์ สละสลวยเข้าใจง่าย
4.เนื้อหา : ถูกต้อง ชัดเจน เที่ยงตรง เข้าใจง่าย เป็นระเบียบ
คุณสมบัติของผู้เขียนรายงานการประชุม
1.รอบรู้ในเรื่องที่ประชุม
2.มีสมาธิดี
3.มีทักษะในการใช้ภาษา
4.มีความถี่ถ้วน รอบคอบ
5.เที่ยงตรง ยุติธรรม รักองค์กร
รูปแบบรายงานการประชุมองค์ประกอบรายงานการประชุม
โดยทั่วไปใช้รูปแบบตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526
รูปแบบรายงานการประชุม มี 3 ส่วน
1.ส่วนต้น/นำ
2.ส่วนเนื้อเรื่อง
3.ส่วนท้าย
สามารถเข้าไปดูตัวอย่างไฟล์รายงานการประชุม ได้ดังเอกสารประกอบเนื้อหา
ขอบคุณค่ะ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- Log in to post comments
- 317 views