ข้าราชการสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่เปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับ เมื่อเกษียณราชการจะได้รับเงินอะไรบ้าง? และเมื่อไหร่?

กรณีที่ 1 พนักงานมหาวิทยาลัยเปลี่ยนสภาพที่ไม่เป็นสมาชิก กบข.

     ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. เมื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้วไม่ประสงค์จะเป็นสมาชิก กบข.ต่อไป มีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญตามพระราชบัญญัติกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ.2539 และได้รับค่าจ้างพนักงาน มหาวิทยาลัยตั้งแต่วันที่เปลี่ยนสถานภาพ จะได้รับเงินอะไรบ้าง และได้รับเมื่อไร?

       1. เงินบำนาญ = (เงินเดือนเฉลยี่ 60 เดือนสุดท้าย x เวลา ราชการ(ปี) )/50

*โดยบํานาญที่คำนวณได้ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือน เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย* (ซึ่งก็ได้รับทุกเดือนแล้ว)

        2. เงินเกษียณจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ 

                จำนวน 50,000 บาท

                จะได้รับในวันที่มหาวิทยาลัยจัดงานผู้เกษียณให้และรับที่วิทยาเขตหาดใหญ่

         3. เงินจากเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

                ได้รับตามจำนวนที่ได้หักไว้ในแต่ละเดือน + ด้วยเงินที่กองทุนฯ สมทบให้ 3-5 %  

                จะได้รับในเดือนตุลาคม (หลังจากเกษียณแล้ว) 

       *(ต้องลาออกตอนที่ใกล้เกษียณ หน่วยงานฯ จะส่งหนังสือมาให้เรา)

         4. เงินชดเชย

              ครบ 6 ปี = เงินดือนสุดท้าย x 8   เท่า

              ครบ 8 ปี = เงินดือนสุดท้าย x 10   เท่า

  * 8 ปีขึ้นไป x 10  และจะได้ประมาณเดือนมกราคม ของปีถัดไป

        5. เงินบำเหน็จดำรงชีพ

          เป็นเงินส่วนหนึ่งของบำเหน็จตกทอดซึ่งเป็นเงินที่ทายาทจะได้รับหลังจากที่ผู้รับบำนาญเสียชีวิต ทั้งนี้ทางรัฐบาลให้สิทธิกับผู้เกษียณในการขอรับเงินส่วนหนึ่งก่อน เรียกว่า เงินบำเหน็จดำรงชีพ เป็นเงิน 15 เท่าของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยแบ่งจ่าย เป็น 3 ครั้ง

    การขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพจะต้องทำอย่างไรและจะจ่ายให้เมื่อไหร่บ้าง
คำตอบ
   เงินบำเหน็จดำรงชีพเป็นเงินส่วนหนึ่งของบำเหน็จตกทอดซึ่งเป็นเงินที่ทายาทจะได้รับหลังจากที่ผู้รับบำนาญเสียชีวิต ทั้งนี้ทางรัฐบาลให้สิทธิในการขอรับเงินส่วนหนึ่งก่อน เรียกว่า เงินบำเหน็จดำรงชีพ เป็นเงิน 15 เท่าของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยแบ่งจ่าย เป็น 3 ครั้ง
     ครั้งที่ 1 เมื่อผู้เกษียณยื่นขอตอนเกษียณอายุ 60 ปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ 15 เท่าของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท 
     ครั้งที่ 2 เมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ (นับจากวันเกิด) จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้อีกครั้งตามสิทธิ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท (หรือเท่าที่เหลือจากครั้งที่ 1) ยื่นที่งานการเจ้าหน้าที่ของกองการเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง
     ครั้งที่ 3 เมื่อผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ (นับจากวันเกิด) ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน 100,000 บาท (แต่ถ้าเงินบำเหน็จดำรงชีพหมดไปแล้วจากการเบิกครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ก็อาจจะไม่มี)

       ผู้เกษียณควรนำหลักฐานต่างๆ ส่งให้งานการเจ้าหน้าที่ให้ครบเพื่อประโยชน์แก่ตัวผู้เกษียณและทายาท ในการรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ เช่น

        - สำเนาบัตรประชาชน

        - สำเนาทะเบียนบ้าน (ของตนเอง และ ของทายาท)

        - สำเนาสมุดธนาคาร (Book Bank)

         กรณีบิดามารดาของผู้เกษียณเสียชีวิต ผู้เกษียณต้องยื่นใบมรณบัตร หรือ ทะเบียนคนตาย หรือ ใบรับรองการตาย ของบิดามารดาผู้เกษียณด้วย โดยสามารถติดต่อขอหลักฐานได้ที่งานทะเบียนราษฎร์ ที่ ที่ว่าการอำเภอ

 

หมายเหตุ    ถ้าเปลี่ยนสภาพฯ รอบที่ 1 คือ 1 ตุลาคม 2559 จะนับได้ครบปี

                     ถ้าเปลี่ยนสภาพฯ รอบที่ 2 คือ 2 ธันวาคม 2559 จะนับไม่ครบปี

 

 กรณีที่ 2 พนักงานมหาวิทยาลัยเปลี่ยนสภาพที่ยังคงเป็นสมาชิก กบข.

     ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. เมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้วประสงค์จะเป็นสมาชิก กบข.ต่อไป เมื่อเกษียณราชการจะได้รับเงินบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 จะได้รับเงิน ดังนี้

     1.เงินบํานาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ(ปี) )/50

*โดยบํานาญที่คำนวณได้ต้องไม่เกิน 70 % ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย*

     2.เงินก้อนจาก กบข. = เงินประเดิม(ถ้ามี) + เงินชดเชย + เงินสะสม + เงินสมทบ +ผลประโยชน์

       

Rating

Average: 2.5 (2 votes)