Creative Commons กับการสร้างสื่ออย่างไร...ไม่ให้โดนลิขสิทธิ์
ผลงานทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นมาล้วนแต่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์กับเจ้าของผลงาน หรือที่เรียกว่า Copyright (©) ซึ่งหากผู้อื่นจะนำผลงานนั้นไปใช้ก็ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน หากมีการนำงานมาใช้โดยไม่ขออนุญาตก็จะละเมิดลิขสิทธิ์กับเจ้าของผลงาน ตรงนี้เองทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า Creative Commons
ก่อนอื่นเลยนะครับ เรามาทำความรู้จักกันคำว่า “Creative Common” กันก่อนดีกว่า
Creative Commons หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “สัญญาอนุญาตแบบเปิด” เป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นำผลงานไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ผู้ที่นำผลงานไปใช้จะต้องทำตามเงื่อนไข ดังนี้
1) Attribution – สามารถทำซ้ำ/แจกจ่าย/ดัดแปลงได้ แต่ต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มา ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
2) Non Commercial – สามารถทำซ้ำ/แจกจ่าย/ดัดแปลงได้ แต่ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์
3) No Derivatives – สามารถทำซ้ำ/แจกจ่าย แต่ห้ามดัดแปลงเว้นแต่จะขออนุญาตก่อนดัดแปลง
4) Share Alike – สามารถทำซ้ำ/แจกจ่าย/ดัดแปลงได้ แต่ต้องขออนุญาต ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
5) Public Domain Dedication – สามารถทำซ้ำ/แจกจ่าย/ดัดแปลงได้โดยไม่ต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มา ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
ในการสร้างสื่อเราจำเป็นต้องหารูปภาพ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ จากหลากหลายเว็บไซต์ เพื่อนำมาสร้างตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น เพื่อการค้า การศึกษา หรือการประชาสัมพันธ์ ฯลฯ และวันนี้ผมจะมาแนะนำ 5 เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวมรวมรูปภาพ หรือองค์ประกอบที่ใช้ในการสร้างสื่อแบบถูกกฎหมาย และไม่ติดลิขสิทธิ์ มาให้ทุกคนได้รู้และสามารถทำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงาน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ
1. Pexels
สำหรับใครกำลังมองหาภาพแนว Street แนวฮิปสเตอร์ หรือภาพคูล ๆ ไว้ตกแต่งเว็บไซต์ รับรองได้เลยว่ามาเว็บนี้ถูกใจแน่นอน เพราะภาพถ่ายส่วนใหญ่ในนี้ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก ส่วนเงื่อนไขไม่มีข้อห้ามอะไรเลย สามารถใช้ได้ตามสะดวก และสามารถค้นหาเป็นภาษาไทยได้อีกด้วย
2. Freepik
เป็นเว็บยอดฮิตที่หลาย ๆ คนชอบใช้กัน โดยจะมี source แบบไม่ติดลิขสิทธิ์ให้เลือกทั้งรูปภาพ, ไอคอน, PSD และเวกเตอร์ แต่ส่วนที่เด่นที่สุดน่าจะเป็นเวกเตอร์ที่มีแบบสวย ๆ ให้เลือกมากมาย สิทธิ์ในการใช้งานมีดังต่อไปนี้
- สามารถนำไปใช้ส่วนบุคคล หรือเชิงพาณิชย์ได้
- สามารถนำไปใช้งานเพื่อสร้างชิ้นงานให้กับลูกค้าได้
- สารมาถนำไปใช้ในสื่อโฆษณา และบทความเชิงพาณิชย์ได้ เมื่อองค์ประกอบหลักไม่ใช่ภาพที่เรามาใช้ทั้งหมด
- สามารถนำไปใช้บนเว็บไซต์ สื่อนำเสนอ แอปพลิเคชัน หรือองค์ประกอบของงานดีไซน์ได้
- สามารถนำไปใช้กับแบรนด์ และโลโก้ หรือเป็นส่วนประกอบได้ แต่ต้องมีการปรับแต่ง หรือดัดแปลง ให้เป็นชิ้นงานใหม่ในแบบที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดจากงานต้นฉบับ
3. Canva
อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่อยากจะแนะนำ เพราะ Canva นั้น เรียกได้ว่าเป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว !! เพราะว่านอกจากจะขึ้นชื่อในเรื่องของ Templates ที่มีให้ผู้ใช้ได้เลือกเข้าไปใช้งาน สร้างสรรค์ปก หนังสือ นิตยสาร เว็บไซต์ รวมไปถึงเรซูมเม่ แล้วนั้น ก็มีรูปภาพฟรีให้ดาวน์โหลดไปใช้งานด้วย แถมภาพที่ทางเว็บไซต์เปิดให้ Download ฟรี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น Canva ก็ไม่ได้เปิดให้ดาวน์โหลดไปใช้งานฟรีกันได้ทุกรูป บางภาพก็อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายด้วยเช่นกัน แต่โดยรวมแล้ว ภาพที่เปิดให้ดาวน์โหลดไปใช้งานกันได้ฟรี ๆ นั้นก็มีให้เลือกเยอะมากมาย และเพียงพอต่อการใช้งานครับ
4. flaticon
เป็นเว็บไซต์ของนักออกแบบ UX/UI หรือ Graphic Designer ที่ต้องการไอคอน หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไปปรับใช้กับรูปภาพหรือทำ Infographic สวย ๆ ซึ่งเว็บนี้มีให้เลือกทั้งแบบฟรี และแบบเสียเงินครับ
5. Pixabay
Pixabay มีภาพให้เลือกมากว่า 300,000 ภาพ โดยส่วนมากจะเป็นภาพที่ไว้ใช้ในการโฆษณาหรือภาพแบบปกติทั่วไป ไม่ใส่สี ฟิลเตอร์ หรือย้อมสีภาพ เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมสำหรับการค้นหาภาพแบบไม่ติดลิขสิทธิ์ ซึ่งแต่ละรูปบอกได้เลยว่าสวยงามไม่แพ้กับเว็บไซต์ที่เสียเงินเลยจริง ๆ จุดเด่นของเว็บนี้อยู่ที่ภาพถ่ายเป็นหลัก ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประกอบการโฆษณา/แก้ไข/ตัดต่อ หรือตกแต่งได้เลย ส่วนเวกเตอร์ และภาพประกอบต่าง ๆ ก็มีให้เลือกเช่นเดียวกัน ส่วนข้อห้ามมีไม่กี่อย่าง ดังนี้
- ห้ามนำภาพจาก Pixabay ไปขายต่อที่อื่น
- ห้ามนำภาพไปขายในรูปแบบสินค้าที่จับต้องได้ เช่น โปสเตอร์ โปสการ์ด หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้น และสามารถจับต้องได้
- ห้ามนำภาพที่มีใบหน้าบุคคลไปใช้ในทางเสื่อมเสีย
- ห้ามนำภาพไปใช้ในแนวทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
ดังนั้น ก่อนนำผลงานไปใช้ อยากให้เราตรวจสอบเรื่องลิขสิทธิ์ในผลงานก่อนสักนิด ถึงแม้ว่าจะเป็น Creative Commons เองก็ตาม ก็ยังคงมีเงื่อนไขบางอย่างที่คนนำผลงานไปใช้ต้องระวังและปฏิบัติตามเช่นกัน โปรดศึกษาเงื่อนไขของเว็บไซต์ให้ดีก่อนใช้กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ :)
- Log in to post comments
- 2606 views