การกำหนดขีดความสามารถบุคลากรสำนักวิทยบริการ

 

สำนักฯ กำหนดขีดความสามารถที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยพิจารณาจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนกลยุทธ์ ความต้องการของลูกค้า และสมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามลักษณะของแต่ละงาน เนื่องด้วยการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้สำนักวิทยบริการต้องเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึงเรื่องขีดความสามารถ เพื่อให้บุคลากรมีทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน

ซึ่งในปี 2562 คณะกรรมการ HRM ได้ทบทวนการจัดกลุ่มบุคลากรเพื่อการกำหนดขีดความสามารถใหม่ โดยจัดกลุ่มเป็น 3 ประเภท คือ 1. ประเภทบุคลากร (กลุ่มทั่วไป กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ) 2. ประเภทผู้นำ (กลุ่มผู้นำ) 3. ประเภทผู้บริหาร (ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ) และมีการพิจารณาคุณลักษณะ Competency ที่จำเป็นของบุคลากรสำนักวิทยบริการแต่ละประเภท ดังนี้ ประเภทบุคลากร เน้นการบริการ การสื่อสาร การแก้ปัญหา เทคโนโลยี นวัตกรรม, ประเภทผู้นํา เน้นการบริหารจัดการ การมอบหมาย การวางแผน, ประเภทผู้บริหาร เน้นการบริหารจัดการสมัยใหม่ การนำองค์กรอย่างเป็นระบบ ทักษะเชิงบริหาร เพิ่มเติมจากเดิมที่มีการประเมิน Competency online ของมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว  การประเมิน Competency ผู้ประเมินความสามารถ คือ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน ลูกค้าและเพื่อนร่วมงานซึ่งหากความสามารถในปัจจุบันมากกว่าเกณฑ์ที่องค์กรคาดหวัง นั่นคือ จุดแข็ง แต่หากพบว่าความสามารถในปัจจุบันน้อยกว่าเกณฑ์ (มากกว่า 2)  นั่นคือ จุดอ่อนหรือโอกาสการพัฒนา ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะนำจุดอ่อนมาพัฒนาก่อนตามความจำเป็นเร่งด่วนของงาน แล้วจึงพัฒนาความสามารถอื่นๆ ให้ดียิ่งขึ้น โดยกำหนดหลักสูตร วิธีการพัฒนา ระยะเวลา และสื่อสารแผนการพัฒนากับบุคลากรได้รับทราบรวมทั้งจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามเครื่องมือการพัฒนาความสามารถตามแผนที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นจะมีการประเมินซ้ำอีกครั้ง ในปี 2562 มีแนวทางปรับปรุงวิธีการประเมินขีดความสามารถเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดรูปแบบวิธีการประเมินขีดความสามารถบุคลากร  3 วิธี 1. ประเมินโดยใช้ระบบประเมินการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากร HRM โดยระบบจะให้หัวหน้างานประเมินการเรียนรู้และสัมฤทธิ์ผลจากการพัฒนา 2.แบบทดสอบ เป็นการทดสอบโดยวัดความรู้ก่อนหลังจากการอบรม 3. การนำเสนอความรู้ที่ได้รับจากการไปพัฒนาตนเองในรูปแบบการนำเสนอ (KM) ซึ่งการประเมินทั้ง 3 วิธี จะทราบผู้ที่ผ่านการประเมินทักษะในแต่ละทักษะ  ซึ่งสำนักวิทยบริการกำหนดให้บุคลากรต้องผ่านการประเมินขีดความสามารถในองค์กรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 กรณีบุคลากรรายที่ไม่ผ่านการประเมินขีดความสามารถทักษะด้านใด จะต้องถูกกำหนดให้อบรมด้านนั้นซ้ำและมีการประเมินซ้ำอีกครั้งจนกว่าจะผ่านการประเมินขีดความสามารถ  ส่งผลให้บุคลากรของสำนักวิทยบริการมีผลการปฏิบัติงานระดับดีเด่นขึ้นไป ร้อยละ 83 มีความเชี่ยวชาญและก้าวหน้าตามตำแหน่งงาน ร้อยละ 38 ,ผลงานวิจัย/นวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรร้อย 100 ส่งผลให้ผู้รับบริการพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 90.6  ซึ่งผลจากการประเมินขีดความสามารถสำนักวิทยบริการยังนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้การปรับปรุงการดำเนินการจะถูกบันทึกไว้ใน KM Portal (ภาพประกอบ 4.2-01) เพื่อให้บุคลากรในองค์กรได้เรียนรู้การทำงานและนำมาเป็นแนวทางในการปรับพัฒนาการทำงานต่อไป

 

 

 

 

Rating

Average: 5 (3 votes)