อบรม "ข้อควรระวังในการตีพิมพ์"
สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดอบรม "ข้อควรระวังในการตีพิมพ์" เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 ณ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
วิทยากร คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การอบรมใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เนื้อหาส่วนใหญ่พูดถึงแนวทางในการเขียนบทความและการเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน
สำหรับผมและทีมกองบรรณาธิการวารสารวิทยบริการ จำนวน 5 คน ได้มีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ ต้องกราบขอบพระคุณสำนักวิทยบริการที่ให้การสนับสนุนในครั้งนี้
แม้กลุ่มเป้าหมายในการอบรมจะเป็นคณาจารย์ผู้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการมากกว่ากลุ่มผู้ผลิตหรือดูแลวารสาร แต่ก็ได้รับสาระประโยชน์ในหลายเรื่อง สรุปพอสังเขป ดังนี้
- การเขียนบทความและการทำวิจัย การนำงานเขียน ภาพประกอบ และเพลง ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน โดยการทำหนังสือขออนุญาต ซึ่งอาจได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงานในลักษณะ Fair use (อาจตกลงกันโดยมีค่าใช้จ่าย) การนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจมีปัญหาตามมาหลังจากผลงานนั้นได้รับการเผยแพร่ (ภาพที่อนุญาตให้สามารถนำไปใช้ได้ส่วนมากอยู่ใน wikimedia commons ซึ่งเป็นเว็บที่ทำเพื่อให้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป) หลายคนเข้าใจผิดว่า ภาพที่สามารถเข้าถึงได้ในอินเทอร์เน็ต (open access) สามารถนำไปใช้ได้ จริงๆ แล้วไม่สามารถนำไปใช้ได้ หากต้องการใช้ต้องขออนุญาตทั้งสิ้น และสิ่งที่ควรทราบอีกประการคือ ลิขสิทธิ์ภาพจะเป็นของเจ้าของภาพหลังจากเสียชีวิตไปแล้วอีก 50 ปี
หมายเหตุ: ภาพทางการวิจัยวิทยาศาสตร์ ห้ามตกแต่งเด็ดขาด
* กรณีที่เป็นงานเขียน อย่า cut and past งานเขียนมาใช้ แต่ให้รวบรวม ประมวลความคิด และเรียบเรียงเป็นสำนวนของตนเอง แล้วเขียนอ้างอิงผลงานนั้น จึงนำไปใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ต้องการเอามาทั้งประโยคก็สามารถทำได้ โดยการเขียนให้รู้ว่าไม่ใช่ข้อเขียนของตนเอง และเขียนให้รู้ว่าเป็นคำพูดของใคร ตัวอย่างเช่น เชษฐา กล่าวว่า "นักวิจัยที่ดีต้องมีจริยธรรม และจริยธรรมอยู่สูงกว่ากฎหมาย"
- การทำวิจัยไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด
- ทำวิจัยเพื่อ?
* ใบปริญญา
* เพื่อประโยชน์เพื่อนมนุษย์
* ความก้าวหน้าทางวิชาการ (ตำแหน่ง)
* เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้
* การเผยแพร่ข้อค้นพบทางลบ (Nagative Finding) ก็มีประโยชน์ ทำให้ผู้อื่นรู้และไม่เดินตามเรา ซึ่งเป็นการป้องกันการสูญเสียทางวิชาการได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวารสารที่รับตีพิมพ์บทความในลักษณะนี้มากนัก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน
- นักวิจัยที่ดี?
* นักวิจัยต้องมีจริยธรรม ไม่มีกฎหมายบังคับชัดเจน เอากฎหมายมาลงโทษไม่ได้ แต่จริยธรรมอยู่สูงกว่ากฎหมาย (คนมักตีความกฎหมายเข้าข้างตนเอง) และในทางปฏิบัติ ความผิดทางจริยธรรม ไม่สามารถตอบว่า ไม่รู้ (ไม่ได้) ที่สำคัญสังคมไทยยังไม่ตระหนักเรื่อง จริยธรรม
* นักจัยต้องทำงานเป็นทีม
* ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
- การให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นคุณธรรมของอาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา ปัจจุบันปัญหาในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคุณสมบัติข้อนี้ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน เช่น ผู้เขียนบทความร่วมทุกคนควรได้เห็นต้นฉบับบทความก่อนการเผยแพร่และให้การยินยอมด้วยเสมอ แนวทางนี้ผู้ดูแลวารสารก็สามารถนำไปปฏิบัติได้เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นกลไกป้องกันและลดความขัดแย้งได้
- จริยธรรมนักวิจัย (ต้องไม่ทำ?)
* ปลอมแปลงข้อมูล (Fabrication)
* ดัดแปลง (Falsification)
* ละเมิดลิขสิทธิ์ (Infringement)
* การลอก (Plagiarism)
หมายเหตุ: นักวิจัยทางสายวิทยาศาสตร์ควรให้มีการบันทึกการทำงานลงใน log book (log book คือ สมุดที่นักวิจัยใช้บันทึกการทำงานทุกอย่าง อย่างละเอียด) สามารถป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลได้ เนื่องจากสามารถนำ log book มาตรวจสอบได้
- บทความวิจัยควรมีส่วนของ กิตติกรรมประกาศ เนื่องจากเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณ ผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือ ผู้ให้การสนับสนุน
- Log in to post comments
- 44 views