โภชนาการอาหารเป็นยา
โภชนาการอาหารเป็นยา
“อาหาร” หมายถึงสิ่งที่มนุษย์กิน ดื่มหรือที่เราบริโภคเพื่อให้แก่ร่างกาย ช่วยซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอ และทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ ซึ่งมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน อาหารประจำวันของมนุษย์ จึงมีความจำเป็นต้องประกอบด้วยอาหารหลายอย่างเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน
“อาหารเป็นยา” หมายถึง อาหารที่มีผัก ผลไม้พื้นบ้าน และสมุนไพร ท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบ ปลอดจากเชื้อโรค สารเคมี และสารพิษ มีคุณค่าทาง โภชนาการในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม มีส่วนช่วยในการเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับประชาชนที่ต้องการ ดูแลสุขภาพ
ในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่หันมาดูแลสุขภาพกันมาก โดยหันมากินอาหารเพื่อสุขภาพกันเยอะมากขึ้น หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ดังนั้นในปัจจุบันมีร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น
หลักในการกินอาหารเพื่อสุขภาพ
1. รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้ปกติ
2. รับประทานข้าวให้เป็นอาหารหลัก ข้าวควรรับประทานเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ
3. รับประทานพืชผักผลไม้เป็นประจำ เพราะพืชผักผลไม้มีทั้งสีเขียว สีเหลือง
4. รับประทานปลาและเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเหลืองเป็นประจำ ดื่มนมให้พอเหมาะตามวัย
5. รับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัด และเค็มจัด
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารถนอมเช่น อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง
8. งดหรือลดเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่น เครื่องดื่ม แอลกอฮอล
การกินอาหารให้เป็นยารักษาโรค
อาหารที่ต้องกินและห้ามกินต่อไปนี้ถือว่าควรเริ่มแต่เด็ก เพราะโรคมีการเพาะบ่มยาวนานนับสิบปี อาหารรักษาโรค ลดการเกิดมะเร็ง อาการของโรคหัวใจ โรคสมอง โรคอัมพฤกษ์
1. ห้ามกินน้ำอัดลม น้ำผลไม้กล่อง ชาเขียว ชาขาว บรรจุขวดเสี่ยงโรคอ้วน สมองฝ่อเร็ว (ห้ามเชื่อคำโฆษณาว่าไม่มีน้ำตาล)
2. ลดหรืองด ของหวาน ของมัน เครื่องใน หนังเป็ด/ไก่/หมู เสี่ยงโรคอ้วน สมองฝ่อเร็ว โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
3. งดหรือลด แป้ง มันเทศ มันฝรั่ง มันสำปะหลังเสี่ยงเกิดภาวะดื้ออินซูลิน โรคสมองเสื่อมนานาชนิด
4. งดเนื้อแดง เนื้อวัวเสี่ยงเกิดสารพิษ ทำลายเส้นเลือด
5. ไข่แดงทานได้ 2-3 ฟอง
6. งดบุหรี่เด็ดขาด อาหารสุขภาพต้านพิษบุหรี่ไม่อยู่
รับประทานอาหารให้เป็นยา
1. ส่งเสริมการกินพริกหยวก พริกหวาน รวมพริกขี้หนู เนื่องจากมีสารในกลุ่มนิโคตินป้องกันและชะลอโรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน
2. กินถั่วที่มีเปลือกตั้งแต่ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เชสนัท วอลนัท อัลมอนด์และอื่น ๆ แต่ไม่ใช่อบเนยหรือเกลือ
3. น้ำมันมะกอก (Extra virgin olive oil) แบบไม่ผ่านความร้อนกินกับสลัด 4 ช้อนโต๊ะต่อวัน
4. กาแฟที่มีคาเฟอีนและช็อกโกแลตดำ (dark chocolate) ที่มีโกโก้ 70% ขึ้นไปช่วยบำรุงสุขภาพตั้งแต่หัวสมองจดเท้า
1. ไขมันในเลือดสูง แทนที่จะหายามากินให้ปวดหัว ตับพัง ก็หากระเทียมสดมากินวันละ 10 กลีบ กินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัว
2. ปวดหัว ให้หาผักคะน้า หรือ ปวยเล้ง(แมกนีเซียม) กินวันละ 4 ขีด และ กินปลาทูอีกวันละ 2 ตัว (น้ำมันปลาลดการอักเสบได้) หรือ จะชงโกโก้กินก็ช่วยได้
3. เป็นหวัด ไอ จามบ่อย ให้หมั่นแปรงลิ้น และ กินกระเทียม หอม หรือ พริกให้มากๆ
4. ภูมิแพ้แค่กินฝรั่งวันละ 4 ชิ้น กินเมล็ดฝักทองวันละ 1 กำมือ (สังกะสี)
5. แพ้ฝุ่นละอองไรฝุ่น กินโยเกิร์ตรสธรรมชาติ และ นมเปรี้ยวไม่หวานจัด
ที่สำคัญว่ากันว่าผักพื้นบ้านนี่แหละคือ ยาที่ดีต่อสุขภาพ
8 ผักพื้นบ้านมีดีที่เป็นยา
1. ก้านตง สรรพคุณ แก้พิษร้อนถอนพิษไข้ส่วนที่นำมาใช้ ราก ใบอ่อน ยอดอ่อนการปรุงอาหาร ใบอ่อน และยอดอ่อน นำมาต้มให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือแกงแคร่วมกับผักอื่นๆ
2. ข่า สรรพคุณ เหง้าแก่ รสร้อน เผ็ดปร่า ขับลม แก้ฟกช้ำ บวม แก้พิษ ขับลมในลำไส้ รักษา กลากเกลื้อน ส่วนที่นำมาใช้ เหง้าแก่ อ่อน ต้นอ่อน ดอกตูม การปรุงอาหาร เหง้าใช้ปรุงพริกแกง ใส่ในต้มยำ ต้นและดอกกินสดได้ หรือลวกกินกับน้ำพริก
3. แค สรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้หัวลม ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ฝักอ่อน ดอกกินอาหารให้เป็น ‘ยา’ thaihealth การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม
4. มะเขือพวง สรรพคุณ ผลช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ ส่วนที่นำมาใช้ ผลอ่อนการปรุงอาหาร กินสดหรือต้มจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกง
5. ผักปลัง สรรพคุณ ก้านช่วยแก้พิษฝี แก้ท้องผูก และลดไข้ ส่วนใบช่วยขับปัสสาวะ และบรรเทาอาการผื่นคัน ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ดอกอ่อน การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้ม แกงแค
6. ตำลึง สรรพคุณ ใบมีรสเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้แสบคัน แก้เจ็บตา ตาแดง ส่วนต้นช่วยแก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ผลอ่อน การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก ผัด แกง ผลอ่อนนำไปดอง
7. มะระขี้นก สรรพคุณ มีความเชื่อผิดๆ ว่ามะระขี้นกแก้โรคเอดส์ แต่ความจริง มะระขี้นกแค่ช่วยให้อาการดีขึ้นเท่านั้น เพราะมะระขี้นกทำให้เจริญอาหารและเป็นยาระบาย ช่วยแก้ลมเข้าข้อ หัวเข่าบวม บำรุงน้ำดีแก้โรคม้าม โรคตับ ขับพยาธิ น้ำต้มใบมะระเป็นยาระบายอ่อนๆ ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ผลอ่อนการปรุงอาหาร ยอด ใบ ลวกจิ้มน้ำพริก ผลนำไปผัดหรือแกงได้
8. ชะพลูสรรพคุณ ส่วนลูกขับเสมหะ ส่วนใบแก้ปวดท้อง จุกเสียด ส่วนที่นำมาใช้ ใบ การปรุงอาหาร กินกับเมี่ยงคำ แกงกะทิ หรือน้ำพริก กินได้ทั้งสดและลวก
เอกสารอ้างอิง
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (อ้างถึงใน นวรัตน์ ธรรมทัศน์, 2560). อาหารเป็นยา หรือ ยาเป็นอาหาร. วันที่สืบค้น 30 พฤษภาคม 2567, จาก http://finearts.pn.psu.ac.th/article/article/nawarat.pdf
ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา. (2563). รับประทานอาหาร ให้เป็นยารักษาโรค. วันที่สืบค้น 30 พฤษภาคม 2567, จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/รับประทานอาหาร-ให้เป็นย/
- Log in to post comments
- 16 views