กฎหมายลิขสิทธิ์

สรุปกฎหมายลิขสิทธิ์

     กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นกฏหมายที่กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธี หรือรูปแบบอย่างใด

     งานด้านวรรณกรรมที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองได้แก่ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่ิงพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศัย สนุทรพจน์ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การคุ้มครองงานสร้างสรรค์เหล่านี้  จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อสร้างขึ้นโดยไม่มีขั้นตอนทางกฎหมาย และไม่จำเป็นต้องมีการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนก่อน จึงหมายความว่าเมื่อท่านสร้างสรรค์งานหรือเขียนงาน กฎหมายให้ความคุ้มครองงานชั้นนั้นทันที เจ้าของผลงานเท่านั้นมีสิทธิ์เผยแพร่งานสู่สาธารณชน เว้นแต่ได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากเจ้าของ หากผู้ใดทำละเมิดนำงานไปเผยแพร่ คัดลอก ดัดแปลง ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด จักต้องรับโทษอาญา และชดใช้ค่าเสียหาย ทางเพ่งแก่ผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนั้น ส่วนการจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ที่กระทำต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น ไม่ใช่การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ แต่เป็นการเผยแพร่ชื่องานลิขสิทธิ์ของตนแก่บุคคลภายนอก เพื่อประโยชน์ในการค้นหา ติดต่อ กับเจ้าของชิ้่นงาน อันเป็นความช่วยเหลือของทางการอันเป็นแหล่งข้อมูลแก่เอกชนที่สนใจใช้ประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์

     ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์ผลงานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน ดังนั้น การสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์และได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายนั้นไร้ขั้นตอนยุ่งยาก หากคนไทยชื่นชอบ สร้างสรรค์งาน ย่อมส่งผลต่อความเจริญของชาติ แม้จะเป็นงานวรรณกรรม เพราะการเขียนอักษรบ่งบอก ถึงการพัฒนาทางปัญญา แนวความคิดของคนในชาติ จักสังเกตได้ว่า งานวรรณกรรมของหลายประเทศนำรายได้เข้าประเทศสูงมาก  เช่น หนังสือแฮรี่ พอตเตอร์ การ์ตูนและนิยายรักเกาหลี  นิยายรักหรือกำลังภายในของจีน ฮ่องกง ใต้หวัน เป็นต้น

Rating

Average: 4 (3 votes)