การให้บริการแบบ Staff less Library ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการให้บริการ

​​​​​​​​​​​​​​ Staff-less Library คือ การขยายเวลาให้บริการให้ยาวนานขึ้นผ่านเทคโนโลยีที่จะทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์นอกเวลาทำการปกติ  การเข้ามาของเทคโนโลยี Staff-less ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนห้องสมุดให้เป็นสถานที่ไร้การพบปะพูดคุยระหว่างผู้ใช้บริการกับบรรณารักษ์ แต่อย่างใด

 นอกจากคำว่า Staff-less Library แล้ว คำว่า Open Library หรือ Automated Library ก็ถูกนำมาใช้เทียบแทนกันในบางกรณี เพราะคำเหล่านี้สื่อถึงวัตถุประสงค์ของการเปิดให้บริการแบบไร้พนักงานคอยดูแลได้มากกว่า นั่นก็คือการ ‘เปิด’ พื้นที่ห้องสมุดให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ แม้ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาทำการนั่นเอง

          การเปิดให้บริการแบบนี้ ห้องสมุดจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นประตูที่ผู้ใช้งานต้องกรอกรหัสถึงจะเข้าไปได้ จุดค้นหาข้อมูลหนังสือ เครื่องให้บริการยืมคืนอัตโนมัติ และกล้องวงจรปิด ที่คอยบันทึกภาพและสอดส่องดูแลห้องสมุดนอกเวลาทำการ สำหรับการให้บริการใน Staff-less Library ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในโซนยุโรป ทั้งสแกนดิเนเวีย และสหราชอาณาจักร นอกจาก Open+ แล้ว Bibliotheca ยังพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ สำหรับห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นระบบ Cloud Library สำหรับจัดการข้อมูลออนไลน์ Smart Shelf สำหรับการจัดการระบบคืนหนังสือ ระบบ Streaming เพื่อถ่ายทอดกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น และอีกหลากหลายระบบที่ห้องสมุดแต่ละแห่งสามารถออกแบบหรือ ‘Customize’ ให้เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของตนเองได้

 การให้บริการแบบ Staff-less จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีพื้นฐานเทคโนโลยีที่รองรับพฤติกรรมการใช้งานห้องสมุดตั้งแต่การเดินเข้ามาในพื้นที่ การค้นหาหนังสือ และการยืมคืนหนังสือ เทคโนโลยีพื้นฐานของ Open+ ครอบคลุมพฤติกรรมผู้ใช้งาน คือ ตั้งแต่การรักษาความปลอดภัยที่ประตูทางเข้า การบันทึกข้อมูลคนเข้าออกแบบเรียลไทม์ การเก็บข้อมูลการกระจายตัวของผู้ใช้งาน รวมถึงระบบการค้นหา ยืม คืน หนังสือแบบ Self-service ซึ่งโดยส่วนมากเป็นระบบ RFID (Radio Frequency Identification) เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถให้บริการตนเองได้นอกเวลาทำการของเจ้าหน้าที่

           คำตอบของคำถามที่ว่าการให้บริการแบบ Staff-less Library หรือหากเรียกให้ตรงประเด็นมากขึ้นคือ Open Library นั้นเหมาะสมหรือไม่ ห้องสมุดที่ไม่มีบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่จะยังทำหน้าที่ในฐานะห้องสมุดได้หรือไม่ พฤติกรรมผู้ใช้งานเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ผู้ใช้งานห้องสมุดคงเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีที่สุด

 

Rating

Average: 5 (1 vote)