เลขเรียกหนังสือ
เลขเรียกหนังสือ
เลขเรียกหนังสือ Call Number คือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาหนังสือบนชั้น เลขเรียกหนังสือจะประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ Classification Number และตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งชาวไทย ถ้าเป็นหนังสือภาษาต่างประเทศใช้อักษรตัวแรกของนามสกุล ผู้แต่ง โดยอักษรตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ผสมกับเลขกำกับอักษรผู้แต่ง และอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องหรือชื่อเรื่องแบบฉบับที่เป็นรายการหลัก
เลขเรียกหนังสือจะเขียนหรือพิมพ์ไว้ที่สันหนังสือ และจะปรากฎที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เมื่อเข้าใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด
เลขเรียกหนังสือประกอบด้วยส่วนสำคัญๆ 3 ส่วนคือ
1. เลขหมู่หนังสือ Classification Number เป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงเนื้อหาสาระของหนังสือ และ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือนั้นๆ การกำหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงเนื้อหา และ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสืออาจแตกต่างกันตามระบบการจัดการหนังสือ
2. เลขผู้แต่ง Author Numver, Book Number สัญลักษณ์ที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขตัวอักษร ได้มาจากอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งที่ใช้ลงรายการหลักในบัตรรายการ ส่วนตัวเลขนั้น บรรณารักษ์เป็นผู้กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงลำดับสระ พยัญชนะ และตัวสะกดของชื่อนั้นๆ ในห้องสมุดขนาดเล็กที่มีหนังสือไม่มากนักส่วนที่เป็นเลขผู้แต่งอาจมีเพียงอักษรแรกของชื่่อที่ใช้ลงรายการผู้แต่งหรือรายการหลัก สำหรับห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเป็นจำนวนมาก โอกาสที่หนังสือในหมวดเดียวกัน เขียนโดยผู้แต่งชื่อเดียวกัน หรือขึ้นต้นด้วยอักษรเดียวกันย่อมมีได้มาก เพื่อป้องกันการสับสนและเพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการที่จะหยิบหาหนังสือเล่มที่ต้องการ ห้องสมุดจึงต้องกำหนดเลขประจำผู้แต่งเพิ่มขึ้น เพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างชื่อผู้แต่งที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเดียวกัน โดยการกำหนดเลขผู้แต่งนี้ บรรณารักษ์จะกำหนดขึ้นโดยใช้ตารางกำนหดเลขผู้แต่งเป็นบรรทัดฐาน
3. อักษรชื่อเรื่อง Workmark เป็นสัญลักษณ์ได้มาจากพยัญชนะตัวแรกของชื่อหนังสือ ในห้องสมุดสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือ เป็นจำนวนมาก โอกาสที่หนังสือจะมีเลขหมู่ซ้ำกัน เลขผู้แต่งซ้ำกันย่อมมีได้มาก ห้องสมุดจึงช่วยให้ผู้ใช้เห็นความแตกต่างของหนังสือแต่ละเล่มโดยใช้อักษรตัวแรกของชื่อเรื่องไว้ในเลขเรียกหนังสือออกด้วย อักษรชื่อเรื่องนี้จะอยู่ถัดจากเลขผู้แต่ง
การจัดชั้นหนังสืออย่างมีระบบ การจัดหนังสือให้เป็นระเบียบเป็นอีกงานหนึ่งของห้องสมุดที่จะต้องมี เป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับให้บริการแก้ผู้ใช้บริการ และเพื่อให้ง่ายแก่การศึกษาค้นคว้า และทำให้หนังสือบนชั้นมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ง่านและรวดเร็ว จัดแบบระบบดิวอี้ Dewey Decimal Classification: D.D.C การจัดหนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ แบ่งออกเป็น 10 หมวดดังนี้
000 คอมพิวเตอร์ เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป บรรณารักษ์ศาสตร์
100 ปรัชญา จิตวิทยา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี
700 ศิลปกรรม นันทนาการ
800 วรรณคดี
900 ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์
- Log in to post comments
- 2059 views