แนวทางการเลือกใช้กราฟ (Chart Type) ในการนำเสนอข้อมูล

ในการประมวลผลและรายงานผลเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้บริหารหรือผู้ี่นำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ให้เห็นแนวโน้มและคาดการณ์สถานการณ์ เพื่อวางแผนการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นกราฟจึงถูก นํามาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำเสนอข้อมูลที่กระชับ ชัดเจน และสื่อความหมายให้เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องใช้เวลามากนักในการอธิบายข้อมูล

วันนี้จะมานำเสนอการเลือกใช้กราฟให้ถูกต้องกับการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ครับ

1. กราฟแท่ง (Bar charts)
กราฟแท่งนิยมใช้งานมาที่สุดโดยใช้แสดงการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา หรือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม

ภาพที่ 1 กราฟแท่ง

2. กราฟวงกลม (Pie charts)
กราฟวงกลมเหมาะสำหรับการใช้เปรียบเทียบข้อมูล ใช้ได้ทั้งข้อมูล discrete และ continuous และเหมาะสำหรับชุดข้อมูลขนาดเล็ก ไม่ควรใช้กับข้อมูลที่แบ่งได้มากกว่า 5 Categories

ภาพที่ 2 กราฟวงกลม

3. กราฟเส้น (Line Chart)
กราฟเสนใช้สำหรับแสดงข้อมูลที่มีความสมพันธ์กับเวลา (time-series) โดยจะใช้กับข้อมูลประเภท continuous โดยที่กราฟเส้นจะช่วยในการแสดง แนวโน้ม (trend) การเพิ่ม ลด และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล อย่า plot กราฟเกินกว่า 4 เส้น และใชเส้นทึบ (Solid Lines) เท่านั้น

ภาพที่ 3 กราฟเส้น

4. กราฟพื้นที่ (Area Charts)
กราฟพื้นที่แสดงความสมพันธ์ของข้อมูลกับเวลา (time-series) แต่แตกต่างจากกราฟเส้นโดยที่สามารถนำเสนอปริมาณของข้อมูลได้ด้วย แต่ไม่แสดงข้อมูลมากกว่า 4 Categories และเลือกใช้สีที่มีความแตกต่างเพ่อให้สามารถเห็นข้อมูลที่ซ้อนกันอยู่ 

ภาพที่ 4 กราฟพื้นที่ 

5. กราฟจุด (Scatter Plots)
กราฟจุดใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรข้อมูล 2 ชุด เหมาะสำหรับใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ 

ภาพที่ 5 กราฟจุด

6. Bubble Charts
ใช้สำหรับการแสดงผลเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลประเภท nominal หรือจัดอันดับ (ranking) และหลีกเลี่ยงการใช้ส้ญลักษณ์แปลก ๆ แทนการใชวงกลมซึ่งอาจนําไปสู่ความไม่ถูกต้องของข้อมูล

ภาพที่ 6 Bubble Charts

7. Heat Maps
ใช้แสดงการจัดกลุ่มข้อมูล (Categorical Data) โดยใช้ความเข้มของสีในการนําเสนอค่าของข้อมูลในแผนที่หรือตารางข้อมูล ควรเลือกใช้สีให้เหมาะสม ไม่ควรใช้สีที่ตัดกัน แนะนําให้ใช้สีเดียวแล้วไล่ความเข้มของสีตามค่าของข้อมูล

ภาพที่ 7 Heat Maps

การสร้างกราฟที่ดี จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ สามารถแสดงให้เห็นความก้าวหน้า แนวโน้มของผลลัพธ์ในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ในอดีต ปัจจุบัน และพยากรณ์แนวโน้มในอนาคตได้ โดยสิ่งสำคัญคือ ผู้รับสารสามารถเข้าใจกราฟ และเข้าใจข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โดยแสดงลูกศรขึ้น หรือลง เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และแปลผลได้ง่าย กำหนดค่าเป้าหมายหรือค่าเทียบเคียงจะทำให้ทราบว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ มากน้อยเพียงไร ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจเพื่อเลือกประเด็นในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป ด้วยหลักการเพียงเท่านี้ก็สามารถนำกราฟไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย 

Rating

Average: 4.3 (6 votes)