การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์ด้วย QR Code

 

                หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  มีหน้าที่ให้บริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบให้แก่ อาจารย์ นักศึกษา นักเรียน บุคลากร ตลอดผู้สนใจทั่วไป การให้บริการวารสารฉบับพิมพ์ เป็นอีกหนึ่งการให้บริการที่สำคัญของหอสมุด

            การให้บริการวารสารฉบับพิมพ์ แบ่งเป็น  2 ประเภท คือ การให้บริการวารสารฉบับปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถยืมได้ เนื่องจาก มีผู้ใช้บริการต้องการจำนวนมาก จำเป็นต้องให้มีการหมุนเวียนใช้ในห้องสมุด หากต้องการใช้ผู้ใช้บริการจะต้องนำไปถ่ายเอกสารเท่านั้น  และ วารสารฉบับล่วงเวลา  ที่สามารถยืมได้เป็นเวลา 2 วัน

            การให้บริการวารสารฉบับปัจจุบัน ที่ไม่สามารถยืมได้นั้น พบว่า ผู้ใช้บริการจะต้องนำตัวเล่มไปถ่ายเอกสาร ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก และผู้ใช้บริการท่านอื่น หาตัวเล่มวารสารไม่พบ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่า วารสารบางชื่อสามารถเข้าถึงบทความวารสารฉบับเต็มแบบออนไลน์ได้  ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการสารสนเทศที่ไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอ

            จากปัญหาที่กล่าวไว้ข้างต้น ประกอบกับ ผู้พัฒนาได้เล็งเห็นว่า ในปัจจุบัน ผู้ผลิตวารสารวิชาการได้มีการพัฒนารูปแบบการเผยแพร่บทความวารสารให้เป็นฉบับออนไลน์มากขึ้น ทั้งจากฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ( TCI), Thai Journals Online (ThaiJO) หรือจากฐานข้อมูลหน่วยงานที่ผลิตวารสารเอง  ผู้พัฒนาจึงได้พัฒนารูปแบบการเข้าถึงบทความวารสารด้วย QR Code ขึ้น เพื่อเป็นการชี้ช่องทางในการเข้าถึงวารสารฉบับเต็มแบบออนไลน์ให้แก่ผู้ใช้บริการ ให้สามารถเข้าถึงบทความวารสารฉบับเต็มที่ต้องการได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว สามารถบันทึกข้อมูลไปใช้ต่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำวารสารฉบับพิมพ์ไปถ่ายเอกสาร ทำให้สามารถประหยัดเวลา

            วิธีการเข้าถึง สามารถทำได้ง่าย เพียงใช้ Smart Phone ของผู้ใช้บริการ สแกน QR Code โดยผ่าน Application อ่าน QR Code reader หรือ Application LINE ก็จะสามารถเข้าถึงบทความฉบับออนไลน์ได้โดยง่าย

วัตถุประสงค์

           1.เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงวารสารที่ให้บริการอยู่ในหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ที่มีแบบออนไลน์ให้แก่ผู้ใช้บริการ

           2.เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบทความวารสารฉบับเต็มที่ต้องการได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องผ่านการสืบค้น OPAC

 

ให้ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลไปใช้ต่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำวารสารฉบับพิมพ์ไปถ่ายเอกสาร ทำให้สามารถประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

           3.เพื่อให้บทความวารสารนั้น ได้ถูกใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่จำกัดเฉพาะผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเพราะแค่สแกน QR Code วารสารนั้น ก็สามารถไปอ่านบนสมาร์ทโฟนของตัวเองได้

           4.เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการ

  1. พัฒนาระบบจัดการ QR Code เพื่อการเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์ จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์ด้วย QR Code ผู้ปฏิบัติงานสามารถสร้างและจัดการ QR Code ของวารสารแต่ละฉบับ เพื่อให้มีรูปแบบตามมาตรฐานที่หอสมุดฯ กำหนด ทั้งนี้ยังสามารถค้นหา และตรวจสอบสถิติในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานได้

พัฒนาเป็น web application

โดยมีเครื่องมือในการพัฒนาคือ -ภาษาการใช้โปรแกรม PHP,Javascript

                                      -JQuery

                                      -Bootstrap Framework

                                      -ระบบบริหารจัดการข้อมูล MySQL

  1. ขั้นตอนการเตรียม QR Code

           คัดเลือกวารสารที่มีการให้บริการฉบับออนไลน์ บันทึกข้อมูลรายละเอียดของวารสาร เช่น  ชื่อวารสาร กำหนดออก ISSN วิธีการบอกรับ  และ URL ในการเข้าถึงบทความฉบับเต็ม เนื่องจากวารสารบางฉบับสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้จาก Thai Journals Online (ThaiJO) บางฉบับสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่ผลิต เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน

                                (รายชื่อวารสารที่มีการให้บริการฉบับออนไลน์)

 

2.1 การคัดลอก URL จาก Thai Journals Online (ThaiJO)

            พิมพ์ชื่อวารสารที่ต้องการลงไปในฐาน ThaiJO  เช่น รูสมิแล เลือก Jornals กดค้นหา

                                          (การค้นหาวารสารในฐาน ThaiJO)

 

           ปรากฏ ข้อมูลของวารสารที่ค้นหา เช่น ชื่อวารสาร รายละเอียดของวารสาร หลังจากนั้นเลือกปุ่ม Go to : Journal

                                             (การค้นหาวารสารในฐาน ThaiJO) (ต่อ)

 

                                                  (ตัวอย่างรายละเอียดวารสาร)

 

                                                     (ตัวอย่างรายละเอียดวารสาร) (ต่อ)

 

            เลือกฉบับที่ต้องการ เช่น ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม) 2560 จะปรากฏรายละเอียดสารบัญบทความของวารสารรูสมิแลฉบับดังกล่าว

                                      (การค้นหาวารสารในฐาน ThaiJO (ต่อ)

 

   ผู้ใช้สามารถเลือกดูบทความเต็มได้โดยการเลือกที่ PDF ด้านล่างชื่อบทความ หรือที่ View all issues ด้านล่าง ผู้ใช้ก็สามารถเลือกดูฉบับอื่นได้

         นำ URL ของหน้ารายละเอียดสารบัญไปใส่ในระบบจัดการ QR Code เพื่อเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์

http://jfk.oas.psu.ac.th/journalqr/

 

2.2 การคัดลอก URL จากฐานข้อมูลผู้ผลิตวารสาร

         ในกรณีที่วารสารฉบับ Online ไม่มีในฐานของ ThaiJO ก็สามารถค้นหาได้จากฐานข้อมูลของผู้ผลิตวารสารนั้นโดยตรงได้ เช่น วารสารสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         1.เข้าสู่เว็บไซต์วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

                         (การค้นหาวารสารจากฐานข้อมูลของผู้ผลิตวารสารนั้นโดยตรง)

 

2.เลือกที่ ARCHIVES เพื่อไปที่วารสารวิทยบริการฯ ที่ทำฉบับ Online ตามภาพ(ด้านล่าง)

                       (การค้นหาวารสารจากฐานข้อมูลของเจ้าของวารสารนั้นโดยตรง) (ต่อ)

เลือกวารสารฯ ฉบับที่ต้องการ เช่น เลือก ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2561

3.จะปรากฏรายละเอียดของฉบับที่เลือก   

                    (การค้นหาวารสารจากฐานข้อมูลของเจ้าของวารสารนั้นโดยตรง (ต่อ)

 

4.นำเม้าท์ไปคลิกที่ตัวเล่มวารสาร จะปรากฏรายละเอียดของวารสารเล่มนั้น

                     (การค้นหาวารสารจากฐานข้อมูลของเจ้าของวารสารนั้นโดยตรง) (ต่อ)

 

นำ Url ไปใส่ไปใส่ในระบบจัดการ QR Code เพื่อเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์ (http://jfk.oas.psu.ac.th/journalqr

2.3 ขั้นตอนจัดการ QR Code

 

            เข้าสู่ระบบ จัดการ QR Code เพื่อการเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์  จาก URL     http://jfk.oas.psu.ac.th/journalqr    ทำการ Log in เข้าสู่ระบบ

                                (ระบบจัดทำ QR Code วารสาร)

 

เข้าสู่แท็บ จัดการข้อมูลวารสาร กรอกรายละเอียด ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี และนำ URL ของวารสารฉบับออนไลน์ที่ต้องการทำ QR Code  ใส่ในช่อง URL หลังจากนั้นเลือก ปุ่ม บันทึก    

                                              (การจัดการข้อมูลวารสาร)

                                              (การจัดการข้อมูลวารสาร) (ต่อ)

 

รายละเอียดของวารสารที่ทำการบันทึกจะปรากฏอยู่ด้านล่าง

                                             (บันทึกรายการข้อมูลวารสาร)

                                            (รายการวารสารที่บันทึก)

 

      เมื่อต้องการพิมพ์ QR Code ที่ได้ทำการเพิ่มข้อมูลลงไป เลือก แท็บ พิมพ์รายการ หลังจากนั้น เลือก รายการวารสารที่ต้องการพิมพ์ โดยทำเครื่อง √ หน้ารายการวารสารที่ต้องการกด เลือก

                                                   (การเลือกพิมพ์รายการ)

 

หลังจากนั้น เลือกปุ่ม พิมพ์

                                               (การสั่งพิมพ์รายการ)

 

ระบบจะเปิด Tab ใหม่ขึ้นมา สามารถตั้งค่าการพิมพ์ได้ในช่องด้านซ้าย หลังจากนั้นเลือกปุ่ม พิมพ์(Print)

                                                   (การตั้งค่าการพิมพ์)

 

            จะสังเกตได้ว่า QR Code ที่ได้จะ มีข้อความ DOWNLOAD FULL TEXT  และมีขนาดตามรูปแบบ ตามที่หอสมุดฯกำหนด  หลังจากนั้น  ดำเนินการตัด QR Code ไปติดที่มุมขวาล่างของวารสาร และใช้เทปใสขนาดประมาณ 5x5
ซ.ม. ติดทับ ตามภาพ

                                         (การติดเทปใสทับ QR Code)

                                   (ภาพวารสารที่ติด QR Code แล้ว)

 

นำวารสารฉบับพิมพ์ขึ้นชั้นให้บริการ     

                           (ภาพวารสารที่ทำ QR Code แล้วนำออกบริการ)

 

2.4 การเข้าใช้งานของผู้ใช้บริการ

  1. ดาวโหลด Application  QR Code reader หรือ Application LINE ผ่าน App. Store (ระบบปฏิบัติการ ios) หรือ Google Play (ระบบปฏิบัติการ Android) ตามระบบของโทรศัพท์มือถือสมาร์โฟนที่ผู้ใช้บริการใช้                                                                          

 

                                        (Application  QR Code reader)

                                                       (Application LINE)

 

                      2. ใช้ Application  ส่องไปที่ QR Code

 

 

                              (การอ่าน QR Code จาก Application LINE)

                         (ผลการสแกน QR Code ด้วย Application LINE)

 

             3. หน้าจอมือถือแสดงการเข้าถึง บทความวารสารออนไลน์     ​​​​​​​

 

(บทความวารสารออนไลน์ที่แสดงใน Smart Phone)

​​​​​​​        การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์ด้วย QR Code เป็นการส่งเสริมการเข้าถึงวารสารออนไลน์ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการโดยการจัดทำ QR Code ให้ผู้ใช้ได้ใช้สมาร์ทโฟนของตนเองสแกน QR Code แล้วสามารถเข้าถึงบทความวารสารนั้นได้โดยสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องค้นหาจาก OPAC และยังสามารถดาว์นโหลดไฟล์ PDF นั้นไปใช้งานได้เลย นับเป็นรูปแบบการบริการเชิงรุกของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและเพิ่มคุณค่าการทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้เกิดเป็นนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน

Rating

Average: 5 (1 vote)