เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับซ่อมหนังสือ

เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมหนังสือ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เอื้อความสะดวกแก่งานซ่อมให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ จำแนกเป็น 2 กลุ่มคือ เครื่องมือและวัสดุ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

เครื่องมือ

     เครื่องมือมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีหลากหลายชนิดทั้งรูปแบบ คุณภาพ ประสิทธิภาพการใช้งาน และราคา ห้องสมุดจะเลือกใช้ชนิดใดย่อมขึ้นอยู่กับกำลังงบประมาณและปริมาณของงานที่จะทำ

     1. เครื่องตัด ใช้สำหรับตัดชิ้นส่วนประกอบปก ได้แก่ คัทเตอร์ กรรไกร แท่นตัด แผ่นยางรองตัด ไม้บรรทัดสเตนเลส ดูรูปประกอบ

 

​​​​​​​

 2. เครื่องเย็บสัน ใช้สำหรับเจาะหรือเลื่อยเพื่อเย็บเล่ม ได้แก่ สว่านมือหมุน สว่านไฟฟ้ามือถือ สว่านไฟฟ้าขาตั้ง ดอกสว่าน (ใช้ซี่ลวดจักรยานแทนได้) เลื่อย ค้อน เข็มเย็บผ้า (2.5 นิ้ว) ที่หนีบกระดาษตัวใหญ่

 

  3. เครื่องอัด เป็นเครื่องมือสำหรับงานอเนกประสงค์ กล่าวคือ

(1) อัดหนังสือ เพื่อให้การเข้าปกของหนังสือปกแข็งหรือปกอ่อนเข้าได้เรียบสนิท ควรใช่แผ่นรองอัด ซึ่งทำด้วยกระดาษแข็งแร็กซีนประกบหน้าและหลังด้วย

 4. อุปกรณ์ผนึกกาวและทำความสะอาด ใช้ฉาบกาวในการประกอบปกและการเข้าปก ได้แก่ เหล็กถอนลวดเย็บกระดาษ แปรงฉาบกาว ไม้เนียน กระจกรองพื้น ตะไบท้องปลิงหรือกระดาษทราย ถังน้ำ ฟองน้ำ และผ้าเช็ดมือ

   5. อุปกรณ์ตั้งระยะปกแข็ง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การทำงานมีความสะดวก รวดเร็วและเที่ยงตรง อุปกรณ์เหล่าน้สามารถทำได้เอง โดยใช้เศษวัสดุ เช่น กระดาษแข็งทำปก กระดาษรองสัน เป็นต้น ดังรายการต่อไปนี้
(1) อุปกรณ์ตั้งระยะร่องบานพับปกแข็ง (8 ม.ม.) เจียนขอบให้เรียบตามขนาด
(2) อุปกรณ์ตั้งระยะความยาวของแผ่นปกแข็ง
(2.1) อุปกรณ์วัดด้านกว้างของแผ่นปกแข็ง

 

 

 

วัสดุ

วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่ใช้ในการซ่อมและทำปกหนังสือ มีหลายประเภทดังนี้

     1. กระดาษ มีหลายชนิด ซึ่งใช้งานต่างกัน คือ
(1) กระดาษแข็งเบอร์ 24 สำหรับทำแผ่นปกแข็ง
(2) กระดาษเร็กซีน สำหรับแผ่นปกแข็ง
(3) กระดาษคราฟท์/กระดาษปอนด์ 80 แกรม สำหรับกระดาษยึดปก
(4) กระดาษกล่อง/กระดาษเทาขาว (310 แกรม) สำหรับทำกระดาษรองสัน
(5) กระดาษลอกลาย/กระดาษแก้วขุ่น สำหรับซ่อมรอยฉีกขาด

     2. ผ้า ได้แก่
(1) ผ้าแร็กซีน สำหรับหุ้มสันปกแข็ง
(2) ผ้าสาลู/ผ้ามุ้ง สำหรับทำผ้ายึดสัน
(3) คิ้วหนังสือ สำหรับแต่งหัวท้ายของสันหนังสือ

     3. ด้ายเย็บและสิ่งประกอบ
(1) ด้ายไนลอน (เบอร์ 9) สำหรับเย็บเล่ม
(2) เทียนไข (สีขาว) สำหรับรูดเส้นด้ายมิให้ขอดเป็นปม

     4. กาวลาเท็กซ์ สำหรับผนึกชิ้นส่วนประกอบเล่มและปก
(1) ตรวจสอบความข้นเหลวให้พอเหมาะก่อนใช้
(2) วิธีตรวจสอบความข้นเหลวทำได้โดยใช้แปรงจุ่มลงในเนื้อกาวแล้วยกขึ้นให้กาวหยดซึ่งจะปรากฏผลดังนี้
(2.1) ถ้ากาวข้นเกินไป เนื้อกาวจะกอดขนแปรงและหยดช้า เวลาฉาบแปรงจะหนืด กาวจะไม่กระจายตัว แต่จะเกาะตัวกันเป็นหย่อมๆ
(2.2) ถ้ากาวข้นกำลังพอเหมาะ เนื้อกาวจะไหลจากแปรงเป็นสายต่อเนื่องกันเวลาฉาบแปรงจะเลื่อนไหลเบาแรง เนื้อกาวจะกระจายตัวสม่ำเสมอดี
(2.3) ถ้ากาวเหลวเกินไป กาวจะหยดจากแปรงเป็นหยดๆ อย่างรวดเร็ว เวลาฉาบ แปรงจะลื่น รอยแปรงจะมีเนื้อกาวไม่สม่ำเสมอ บางส่วนเป็นแต่รอยเปียกน้ำไม่มีเนื้อกาว
(3) การปรับกาวให้ข้นเหลวพอเหมาะ
(3.1) ถ้ากาวข้นไป ให้เติมน้ำสะอาดทีละน้อย พร้อมกับใช้แปรงคนเนื้อกาวให้เข้ากัน แล้วยกแปรงดูการหยดของกาว เพื่อตรวจสภาพข้นเหลว ตามข้อ (2.2)
(3.2) ถ้ากาวเหลวไป ให้เติมเนื้อกาวลงไปพร้อมกับใช้แปรงคนให้เข้ากันแล้วยกแปรงดูการหยดของกาว เพื่อตรวจสภาพข้นเหลว ตามข้อ (2.2)

 

Rating

Average: 5 (1 vote)