กฏหมายลิขสิทธิ์กับการบริการของห้องสมุดยุคดิจิทัล
ลักษณะของงานที่กฏหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง
1. การแสดงออกซึ่งความคิด หมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้ความสามารถ ของผู้สร้างสรรค์ และแนวความคิดยังไม่ถือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความคิด
2. มีระดับการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ หมายถึง มีการใช้ความรู้ความสามารถ สติปัญญา ความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ผลงาน และการสร้างสรรค์ผลงานเพียงแค่ สักแต่ว่าทำงานนั้นขึ้น ยังถือไม่ได้ว่ามีลักษณะการสร้างสรรค์ผลงานที่เพียงพอ
3. เป็นผลงานที่กฏหมายกำหนด หมายถึง เป็นผลงานที่กฏหมายให้ความคุ้มครอง มีด้วยกัน 9 ประเภท ได้แก่ วรรณกรรม/ นาฏกรรม/ ศิลปกรรม/ ดนตรีกรรม/ โสตทัศนวัสดุ/ ภาพยนตร์/ สิ่งบันทึกเสียง/ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ/ และงานประเภทวรรณคดี วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และผลงานทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ไม่ถื่อว่าเป็นงานลิขสิทธิ์
4. ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หมายถึง สื่อลามกอนาจารที่อยู่ในรูปแบบของภาพยนตร์ และศิลปะลามกอนาจาร ขึ่นอยู่กับมุมมองของการเจตนาในการนำเสนอ
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ ม.34
หมายถึง บรรณารักษ์ห้องสมุดสามารถกระทำการอย่างใด อย่างหนึ่งได้ โดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ในกรณีดังต่อไปนี้
- ทำซ้ำ เพื่อใช้ในห้องสมุด หรื่อให้แก่ห้องสมุดอื่น
- ทำซ้ำ บางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา
- การดำเนินการตาม (1) และ(2) จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 32 วรรค 1
* หลักเกณฑ์มาตรา 32 วรรค 1
- ไม่ขัดต่อการแสวงหาผลประโยชน์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
- ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฏหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
หมายเหตุ : บรรณารักษ์ สามารถทำซ้ำได้ ดัดแปลงไม่ได้ เผยแพร่ไม่ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก นายปิยะชัย สายจงจิตร กองลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
- Log in to post comments
- 32 views