สรุปกฏหมายลิขสิทธิ์กับการบริการของห้องสมุดยุคดิจิทัล

 

 

แม้กฎหมายสิขสิทธิ์จะกำหนดให้เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว แต่กฏหมายยังเปิดโอกาสให้แก่สังคมได้รับประโยชน์จากงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขและการกระทำที่เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา ๓๒ ถึง มาตรา ๓๔

มาตรา ๓๔ การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้ 

 

(๑) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น

 

(๒) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา

 

โดยมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มีเนื้อหาดังนี้ “การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์”

ดังนั้น จากมาตรา ๓๔ารทำซ้ำแค่ไหนที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงาานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติ และแค่ไหนไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบธรรมด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร

นอกจากนี้คำว่า “บรรณารักษ์” ครอบคลุมแค่ไหน เพราะห้องสมุดจำนวนมากในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง อีกทั้งยังมีการให้เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่น่ามาจะเกี่ยวข้องมาดำเนินการในการทำซ้ำ

รวมคำถาม-คำตอบกฏหมายลิขสิทธิ์กับการบริการของห้องสมุดยุคดิจิทัล

 

ถาม : บรรณารักษ์สามารถจัดทำสำเนาหนังสือทั้งเล่มไว้ให้บริการในห้องสมุด แทนหนังสือที่ชำรุดได้หรือไม่ โดยที่หนังสือดังกล่าวยังสามารถจัดซื้อได้ตามท้องตลาด

 

ตอบ : บรรณารักษ์สามารถจัดทำสำเนาหนังสือทั้งเล่มเพื่อใช้ในห้องสมุดได้ แต่จะต้องไม่มีการแสวงหากำไรและไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้ห้ามการกระทำดังกล่าว หากหนังสือยังสามารถหาซื้อได้ ห้องสมุดอาจพิจารณาจัดซื้อหนังสือดังกล่าวมาให้บริการในห้องสมุดตามความเหมาะสม

*****************************************************************************

ถาม : บรรณารักษ์สามารถสแกนหนังสือทั้งเล่มเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่อให้บริการในห้องสมุดในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล ได้หรือไม่

ตอบ : การสแกนหนังสือไว้ให้บริการในห้องสมุด ถือเป็นการทำซ้ำที่บรรณารักษ์จัดทำได้ แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้ห้ามการกระทำดังกล่าว หากหนังสือในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลยังสามารถหาซื้อได้ ห้องสมุดอาจพิจารณาจัดซื้อหนังสือดังกล่าวมาให้บริการในห้องสมุดตามความเหมาะสม      

*****************************************************************************************

ถาม : บรรณารักษ์สามารถทำสำเนาหนังสือที่ซื้อมาหรือหนังสือที่มีอยู่เดิม เป็นรูปเล่มและไฟล์ดิจิทัลไว้ให้บริการในห้องสมุดได้หรือไม่

ตอบ : บรรณารักษ์จัดทำสำเนาหนังสือที่ซื้อมาหรือหนังสือที่มีอยู่ทั้งเล่ม ในรูปไฟล์ดิจิทัลหรือรูปเล่มเพื่อใช้งานในห้องสมุดได้ แต่จะต้องไม่มีการแสวงหากำไรและไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร รวมทั้งคำนึงถึงความเหมาะสมในการจัดทำสำเนาหนังสือดังกล่าวด้วย

***********************************************************************************************************

​​​​​​​ถาม : การนำข่าวจากวารสารหรือหนังสือพิมพ์มาจัดทำเป็นกฤตภาค (Clipping) แล้วเผยแพร่บนเว็บไซต์ของห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถสั่งพิมพ์ผ่าน Web Browser โดยเสรีได้หรือไม่

ตอบ : บรรณารักษ์อาจตัดข่าวสารจากวารสารหรือหนังสือพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารทั่วไป ซึ่งไม่มีลิขสิทธิ์มาเผยแพร่บนเว็บไซต์ของห้องสมุดเพื่อให้บริการได้

   อย่างไรก็ดี หากข่าวที่นำมาจัดทำนั้นมีลักษณะเป็นบทความ บทบรรณาธิการหรือมีรูปภาพประกอบ บรรณารักษ์อาจจะต้องระมัดระวังในการดำเนินการดังกล่าว เพราะอาจจะเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ทั้งนี้กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ของบรรณารักษ์เฉพาะเรื่องของการทำซ้ำเท่านั้น แต่กรณีตามคำถามนอกจากจะเป็นการทำซ้ำแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งเกินกว่ากรอบที่กฎหมายให้สิทธิไว้ บรรณารักษ์จึงต้องระมัดระวังในการดำเนินการดังกล่าวด้วย

********************************************************************************************

ถาม : กรณีที่ห้องสมุดจัดเว็บไซต์และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์มากมาย ต้องขออนุญาตเว็บไซต์เหล่านั้นหรือไม่

ตอบ : การเชื่อมโยงไม่มีลักษณะของการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จึงไม่เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้การเข้าถึงเว็บไซต์บางแห่งอาจจะต้องมีการล็อกอิน เพื่อเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์นั้น ผู้ใช้บริการต้องดำเนินการสมัครสมาชิกหรือขอรหัสผ่านกับผู้ให้บริการเอง

************************************************************************************************************

ถาม : ปกหนังสือรวมถึงหน้าที่ปรากฎข้อมูลบริหาร (ชื่อผลงาน ชื่อผู้แต่ง ตัวเลขหรือรหัสที่บ่งชี้ถึงตัวเจ้าของลิขสิทธิ์) เกิดการชำรุด ห้องสมุดสามารถจัดทำปกหนังสือขึ้นมาใหม่แทนปกหนังสือเดิมที่ชำรุดได้หรือไม่ อย่างไร

ตอบ : ห้องสมุดสามารถดำเนินการจัดทำปกหนังสือใหม่แทนปกหนังสือเดิมที่ชำรุดได้ แต่จะต้องเป็นการกระทำต่อผลงานที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวเป็นการสงวนหรือเก็บรักษางานของห้องสมุด​​​​​​​

****************************************************************************************************************

                แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นตามคู่มือนี้จะละเมิดหรือไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง และองค์ประกอบอื่นๆ แล้วแต่กรณีไป

 

 

 

 

 

 

Rating

Average: 4 (1 vote)