การใช้คำให้ถูกต้องในการเขียนหนังสือราชการ
การใช้คำให้ถูกต้องในการเขียนหนังสือราชการ
สำหรับงานธุรการหรืองานสารบรรณก็เลี่ยงไม่พ้นกับการต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ สุภาพ ที่สำคัญสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง วันนี้จะรวมหลักภาษา การใช้คำในหนังสือราชการ
หลักการใช้คำในการเขียนหนังสือราชการ
- ทั้งนี้ ความหมาย ตามที่กล่าวมาแล้ว
ใช้กรณี ใช้กล่าวเพิ่มเติมเรื่องที่กล่าวมาแล้ว บางครั้งมีลักษณะเป็น
เงื่อนไข
- ในการนี้ ความหมาย การดำเนินการที่กล่าวข้างต้น
ใช้กรณี ใช้กล่าวแทนข้อความที่กล่าวไปแล้ว
- อย่างไรก็ตาม ความหมาย ถึงเช่นนั้น แม้กระนั้น แต่
ใช้กรณี ใช้กล่าวเพิ่มเติมในกรณีที่ขัดแย้งกับข้อความที่กล่าวมา
แล้ว (มีลักษณะผ่อนปรน เห็นอกเห็นใจ และนุ่มนวล)
- อนึ่ง ความหมาย อีกอย่างหนึ่ง อีกประการหนึ่ง
ใช้กรณี ใช้กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นที่แตกต่างจากที่กล่าวไปบ้างแล้ว มิใช่
แตกต่างโดยสิ้นเชิง
การใช้คำ อนุมัติ อนุญาต อนุเคราะห์ ใช้แตกต่างกันอย่างไร
- อนุมัติ หมายถึง ใชอำนาจกระทำตามที่ระเบียบกำหนด
ใช้กรณี เรื่องที่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงาน
- อนุญาต หมายถึง ยินยอม ยอมให้ ตกลง
ใช้กรณี เรื่องส่วนตัวที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ เช่น ขอลากิจ ลาป่วย ขอ
ไปเป็นวิทยากร
- อนุเคราะห์ หมายถึง เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ
ใช้กรณี การขอความช่วยเหลือ หรือการขอให้อำนวยความสะดวกใน
ลักษณะต่างๆ เช่น การขอยืมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
การใช้คำบุพบท (กับ, แก่, แด่,)
- กับ ความหมาย รวมกัน เกี่ยวข้องกัน
ใช้กรณี เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน
- แก่ ความหมาย สำหรับ
ใช้กรณี ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ มีศักดิ์เสมอผู้ให้ หรือต่ำกว่า
- แด่ ความหมาย สำหรับ เพื่อ อุทิศ ถวาย
ใช้กรณี ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ มีศักดิ์สูงกว่าผู้ให้
- Log in to post comments
- 4157 views