การใช้หัวเรื่อง LIBRARY OF CONGRESS SUBJECT HEADINGS

 

                    ตอนที่ 3 

 

             หัวเรื่อง เป็นคำหรือวลี ที่กำหนดขึ้นเพื่อความเป็นมาตรฐานในการสืบค้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหัวเรื่องเป็นการสืบค้นที่สะดวก รวดเร็ว และได้ทรัพยากรสารสนเทศครบทุกประเภท หัวเรื่องภาษาอังกฤษที่นิยมใช้มี 2 ชื่อคือ Library of Congress Subject Heading (LCSH) ใช้กับห้องสมุดขนาดใหญ่โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และหัวเรื่อง Sear List of Subject Heading ใช้กับห้องสมุดขนาดเล็ก และใช้ควบคู่กับการจัดระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน

            หัวเรื่องที่เป็นวิสามานยนามหรือชื่อเฉพาะ 

        สามารถใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ได้ทันที หรือเป็นส่วนหนี่งของหัวเรื่อง หรือเป็นหัวเรื่องย่อย หัวเรื่องประเภทนี้ไม่ตีพิมพ์ไว้ใน  รายการหัวเรื่อง ยกเว้น หัวเรื่องวิสามานยนามบางคำที่นำมางลงไว้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ใช้เป็นแบบอย่าง หรือใช้เป็นหัวเรื่องย่อย

       วิสามานยนาม ที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ได้ มีดังนี้

- ชื่อบุคคล แต่ละคนที่ใชั ที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ได้นั้น จะต้องมีรายละเอียดว่าด้วย ชีวประวัติ คำวิจารณ์ หนังสืออนุสรณ์ บรรณานุกรม และผลงานรวมที่บุคคลนั้นเป็นผู้เขียน

เช่น  Kennedy, John F. (John Fitzgerald), 1917-1963

- ชื่อครอบครัว      เช่น  Rockefeller Families

- ชื่อราชวงศ์       (Dynasties, Royal Houses)

- ชื่อตัวละครในเทพนิยาย ตำนาน  หรือ นวนิยาย เช่น Snoopy, Potter, Harry  

- ชื่อของพระเจ้าเทพธิดา เช่น Venus (Goddess), Jupiter

- ชื่อนิติบุคคล หมายถึงหน่วยงานของรัฐและเอกชน สมาคม สถาบัน โบสถ์ การค้า ชื่อเรือ(ฯลฯ) และจะต้องให้รายละเอียด ประวัติการบริหาร การพัฒนา กิจกรรมต่างๆ

      (กรณีเป็นหน่วยงานย่อย ของหน่วยงานใหญ่ ให้ลงหน่วยงานใหญ่ก่อน หรือลงประเทศไว้ก่อน) เช่น

 Metropolitant Museum of Art (Singapore)

 Queen Elizabeth (Ship)

          วิสามานยนามประเภทอื่นๆ

- ชื่อเฉพาะของสัตว์ เช่น  Princess (Cat)

- ชื่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์  เช่น  World War II, 1939-1945

- ชื่อโครงการต่างๆ เช่น   PICA Project

- ชื่อรางวัล ทุน เช่น Nobel Prizes

- ชื่องานรื่นเริง (Festivals)  เช่น Thanksgiving Day, Fullmoon Party

- ชื่องานวันหยุด (Holidays) Christmas Day

- ชื่อกลุ่มมนุษยชาติ เชื้อชาติ ชนเผ่า เช่น Indians, Chiness

- พลเมืองของชาติหนึ่ง ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง จะใช้รูปแบบดังนี้

เชื้อชาติเดิม --สถานที่อาศัย เช่น Thai -- Australia, American --Thailand

  - หากชนชาติใดไปตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร จนได้เป็นพลเมืองของประเทศชนชาตินั้น จะใช้รูปแบบดังนี้ เชื้อชาติเดิม -- สัญชาติใหม่ที่ได้รับ  

เช่น Thai -- Australian, Chiness Americans

   - และหากเป็นการกล่าวถึงชนชาติใดชนชาติหนึ่งที่ไปอาศัยอยู่ประเทศต่างๆ จะใช้รูปแบบดังนี้ เช่น "ชื่อชนชาติ -- Foreign countries" เช่น German --  Foreign countries

    - ชื่อศาสนา ลัทธิปรัชญา  เช่น Islam, Buddhism

    - ชื่อทางภูมิศาสตร์ หรือชื่อประเทศ รัฐ เมือง  (Geographical names)  ชื่อทางภูมิศาสตร์เป็นได้ทั้งหัวเรื่องใหญ่ และคำขยายหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่งที่กำหนดให้แบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์

----- หัวเรื่องที่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์มีการใช้ดังนี้

       - ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ และมีหัวเรื่องย่อยขยาย เช่น Thailand -- Description and travel

       - ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ใช้เป็นหัวเรื่องย่อย ขยายหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยมีคำที่ระบุให้ย่ายแบ่งตามชื่อภูมศาสตร์ "May Subd Geog"  เช่น ฺBioinorganic chemistry ("May Subd Geog" )

       - หัวเรื่องที่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ สามารถเพิ่มคำขยายเพื่อให้ชื่อนั้นชัดเจน หรือให้แตกต่างจากชื่อภูมิศาสตร์อื่นๆ (ที่เป็นชื่อเดียวกัน เช่น  Himalaya Mountains

        - ชื่อทางภูมิศาสตร์ มีคำขยายเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์

เช่น   Box Canyon Falls (Colo.)

        - ชื่อทางภูมิศาสตร์ มีคำขยาย ที่แสดงเขตการปกครอง หรือเขตความรับผิดชอบ เช่น  Berlin (Germany)

        - ถ้าสถานที่ 2 แห่ง หรือมากกว่านั้น มีชื่อเหมือนกัน (แต่เป็นคนละเขตความรับผิดชอบ) ให้ใช้คำขยายที่แสดงเขตการปกครอง หรือเขตความรับผิดชอบไว้ภายในเครื่องหมายวงเล็บ เช่น  

Naples (Italy)

Naples (Kingdom)

       - ชื่อภาษา (Language) ให้ลงชื่อภาษาต่างๆในรูปแบบที่เป็นคำในภาษาอังกฤษ เช่น Spain (ไม่ใช่ Espana)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------ที่มา :

ระเบียบ สุภวิรี.  (2549-2550) หัวเรื่องหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน.  วารสารอักมหาวิทยาลัย- ศิลปากร, 27 (2), 96-121.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Rating

No votes yet