ประวัติตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี / ควนหรือเขาบ่อทองและนามสกุลผ่องอำไพ

 

ประวัติตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี /เขาบ่อทอง และ สกุลผ่องอำไพ

        ประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อทอง เม่ื่อประมาณ 210 - 300 ปีที่ผ่านมามีครอบครัวของตระกูลผ่องอำไพ ได้ย้ายมาจาก หมู่บ้านท่าแซ ต.คลองอู่ตะเภา

อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มาทางเรือบ้างก็เดินสมัยนั้นไม่มีรถแล้วมาทำงานในวังหนองจิกบางส่วน ช่วงประมาณรัชกาลที่๕ ก่อนเปลี่ยนแปลง

การปกครอง*พี่ชายของทวดทำงานในวังหนองจิก ยศบรรดาศักดิ์ "ราชทินนาม ขุนหม่ื่นผ่องอำไพรัตน์" (ขวัญแก้ว ผ่องอำไพ) ทำงานได้รับความดีความชอบ ไม่รับเงินเดือนและทำงานด้วยความซื่อสัตย์ จึงได้รับนามสกุลพระราชทาน "ผ่องอำไพ"

(ราชทินนามคือนามที่พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง) / และ*คุณทวด นายร้อยเอกยอดแก้ว ผ่องอำไพ เป็นทหารเอกในวังหนองจิก 

นำทัพออกศึกจนได้ชัยชนะ ต่อมาภายหลังได้ยกเลิกหัวเมืองปัตตานี / วังหนองจิกได้รับการดูแลโดยกรมศิลปากรจนปัจจุบัน

          หลังจากนั้นได้มาตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านบ่อทองอยู่จนมีลูกหลานมากมายและได้แยกย้ายกันไปตั้งครอบครัวใหม่

ตามที่ต่างๆ นามสกุล ผ่องอำไพ ในตำบลบ่อทอง "เป็นตระกูลแรก" และในหมู่บ้านมีบ่อน้ำอยู่ 1 บ่อ บริเวณบ่อมีแอ่งน้ำ ในบ่อมี

ไหบรรจุทองคำ อยู่ 2 ใบ ซึ่่่งจะมองเห็นได้ ในวันขึ้น 8 ค่ำ และ15ค่ำในช่วงเวลา 10.00 น. -11.00 น. เป็นประจำแต่ไม่มีใคร

สามารถลงไปเอาได้ และชาวบ้าน เรียกบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ว่า "บ่อทอง " จนถึงปัจจุบัน

         ในปัจจุบันบ่อน้ำแห่งนี้มีสภาพทรุดโทรมมากเพราะเก่าแก่โบราณหลายร้อยปี ชาวบ้านและส่วนราชการได้บูรณะ

ใหม่โดยได้ทำพิธีทำบุญบ่อน้ำโดยประกอบพิธีศาสนาแบบพุทธ และ พราหมณ์ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตกดิน

          เมื่อมาถึงบ่อทองเราจะเห็นเขาลูกหนึ่ง "เรียกว่าเขาบ่อทอง" เขาบ่่อทองนี้ตรงจุดกึ่งกลางของยอดเขาจะมี

"เจดีย์ใหญ่บ่อทองแค่เจดีย์เดียว" สร้างขึ้นโดยนายตีบ โปติบุตร ซึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านต้องการสร้างไว้ เพื่อบรรจุ

พระพุทธรูป สิ่งสำคัญของศาสนาพุทธ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และ เทศกาลเดือนสิบ

ของทุกปีชาวบ้านจะนิมนต์เจ้าอาวาส(พ่อท่านเลี่ยม) และหลวงพ่อองค์อื่นๆในวัด ขึ้นไปทำพิธีสมโภชน์เจดีย์บนเขา

นำปิ่นโตของคาว ของหวาน ผลไม้ เพื่อทำบุญ /มีการรำมโนราห์ด้วย ทางขึ้นดั้งเดิมใช้เส้นทางหน้าถนนในหมู่บ้าน มีทาง

ขึ้นไปตามทางชันโขดหิน และยึดเกาะต้นไม้ จนถึงเจดีย์ ในสมัยคนดั้งเดิมคนเ่ก่าคนแก่และปู่ย่าตายายจะสืบสานประเพณีเหล่านี้

ทุกปี เมื่อคนรุ่นเก่าๆเสียไปหลายชั่่วคนมาถึงรุ่นลูกหลานก็ไม่มีใครสืบทอดและทำต่อ หลังจากนั้นหลายปีบริเวณนั้นจะสังเกตเห็น

ลวดหนามกั้นภาคพื้นดินมีกำแพงกั้นอาณาเขต แบ่งพื่้นที่ เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นของชาวบ้านในตำบลนี้ ปู่ย่าตายายและ

บรรพบุรุษของพี่น้องในหมู่บ้านในสมัยก่อน ประกอบอาชีพกรีดยางและทำหิน บนเขานี้ แต่ปัจจุบันไม่มีใครทำแล้วต้องปล่อย

ให้รกร้างและขึ้นไปดูบ้างบางครั้งคราว หลักฐานโฉนดที่ดินของบรรพบุรุษตกทอดมาจนถึงลูกหลาน เมื่อขึ้นไปบนเขา/ควนจะเห็น

เป็นแอ่ง หลุม คือร่องรอยการทำหิน ตอกหินในสมัยโบราณ ทำหินจากเขา/ควน เพื่อนำไปสร้างถนน คนที่มาทำงานตอกหินก็จะเป็นคนในหมู่บ้านและชาวลาว เมื่อไม่มี

การทำหินแล้ว ชาวลาวเหล่านี้ก็จะอพยพกลับภูมิลำเนาของตนเอง ส่วนที่สองเป็นของกองกำกับการตำรวจ

(หลังจากนั้นกองกำกับการตำรวจได้ย้ายไปอยู่ยะลา ปัจจุบันเป็นพื้นทีี่ค่ายอิงคยุทธฯ)

          สมัยโบราณปู่ย่าตายายเล่าต่อๆกันว่ามีทวดงูสองตัวเป็นงูหอน ตัวผู้และตัวเมียอาศัยอยู่บนเขาเรียกทวดงูนี้ว่า

"ทวดทองคำ" อาศัยอยู่ในถ้ำบนเขา ตัวใหญ่มากซึ่่งเป็นเจ้าที่บนเขา หากชาวบ้านในหมู่บ้านจะทำพิธีกรรมต่างๆ

เช่น ขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานบวช ฯลฯ ต้องอธิฐาน ขออนุญาติจากทวดทองคำก่อน ถ้าไม่ระลึกถึง(อธิฐาน)

หรือไม่ขออนุญาติก่อนะจะถูกลงโทษ ตามคำบอกเล่า ของปู่ย่าตายายในสมัยนั้น (สิ่งศักดิ์สิทธิ์อาจจะเป็นความเชื่อ

แต่อย่าลบหลู่นะคะลูกหลานทวด) ในสมัยนั้นหากไก่ วัว หมู ล้มตาย ชาวบ้านจะบนบานถึงทวดทองคำเช่นกัน

          หากใครเคยไปวัดสุวรรณากร(วัดบ่อทอง) จะสังเกตเห็นรูปปั้นปูนจำลองงูหอนสองตัว ผู้-เมีย ขนาดใหญ่และยาว

ที่โบสถ์ของวัด ซึ่งบรรพบุรุษคนเก่าคนแก่ ได้สร้างไว้นานแล้ว ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดค่ะ และคุณลุงนวล เป็นครูคนแรก

(ครูนวล ผ่องอำไพ) สอนหนังสืออยู่ที่วัดก่อนเพราะยังไม่มีโรงเรียน หลังจากนั้นเมื่อเขาสร้างโรงเรียนวัดสุวรรณากร  

เสร็จแล้ว ก็ไปสอนหนังสือที่โรงเรียนต่อ จนมีครูท่านอื่นๆตามมาเช่น ครูเทือง ครูพงษ์ ผ่องอำไพ ส่วนลูกพี่ลูกน้องของ

พ่อก็เป็นปลัดคนแรกของอำเภอนี้ (ปลัดฤกษ์ ผ่องอำไพ) และลูกพี่ลูกน้องของปู่ เป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนันคนแรก

ของหมู่ 7 บ่อทอง เช่นกัน (กำนัน รื่่น ผ่องอำไพ)

          ปู่พลัดและย่าขวัญ ผ่องอำไพ ใช้เกวียนบรรทุกไม้ / บรรทุกข้าวในช่วงทำนาใช้วัวตัวผู้ลากเกวียนเป็นวัวตัวใหญ่มาก

ผ่านการทำหมัน หลังถึงใต้ถุนบ้าน " วัวลากเกวียนชื่อกระโบ้ " มีโจรมาขโมยที่บ้านหลายครั้งแล้วแต่ไม่ได้ มันกัดเชือก

เพราะเจ้ากระโบ้ตัวใหญ่ มีเสียงร้องกังวาล คนทั่วไปจึงกลัว เวลาผ่านไปหลายปีเจ้ากระโบ้ตายเพราะอายุมาก ปู่และย่า

เอาหนังเจ้ากระโบ้ไปรองแทนเส่ื่อเวลานวดข้าว ส่วนเขาของมันสองข้างใหญ่และยาวเอาไปไว้ที่กุฎิวัดบ่อทอง

    

          หมายเหตุ:-  มีประวัติความเป็นมาอีกมากมาย เรีบบเรียงเนื้่อหาพอสังเขปเพียงเท่านี้ จุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาในสมัยก่อนของต.บ่อทอง

          ความเป็นมา กล่าวถึงเฉพาะสถานที่และบรรพบุรุษผู้บุกเบิกแรกเริ่ม / ส่วนสถานที่หรือบุคคลใดมาทีหลังจากประวัติศาสตร์ ขออนุญาติไม่กล่าวถึงนะคะ

          

 บ่อทอง (บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์)  ถ้าบนบานอะไรไว้ที่บ่อนี้ แก้บนที่นี่่ค่ะ *สถานที่่ศักดิ์สิทธิ์ห้ามฉี่บริเวณนี้*

                                 รูปปั้นปูนจำลองทวดทองคำ (ทวดงู) 

 

Rating

Average: 5 (1 vote)