ผักเบี้ยหิน

ผักเบี้ยหิน

 

คำอธิบาย: C:\Users\Thakonrat\Desktop\รูป\ใบผักเบี้ยหิน.jpg

 

ต้นผักเบี้ยหินหรือผักโขมหินผักขมหิน เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแผ่ราบปกคลุมดินยาวได้ถึง 1 เมตร หรือมีลักษณะตั้งตรงบ้าง ลำต้นมีลักษณะกลมสดอวบน้ำหรือค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ผิวเรียบเกลี้ยงเป็นมัน สีเขียวอมม่วงหรือสีม่วงอมแดงอ่อน ๆ ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ตามกิ่งอ่อนและตามข้อจะมีขนขึ้นปกคุมเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัดเต็มวัน มีความชื้นปานกลาง พบในที่ปลูกข้าวไร่และพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น

 

คำอธิบาย: C:\Users\Thakonrat\Desktop\รูป\page ผักเบี้ย.jpg

ใบผักเบี้ยหิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปกลม หรือรูปหัวใจ ปลายใบมนเว้า โคนใบแหลมหรือมน ส่วนขอบใบเรียบ ริมขอบใบเป็นสีม่วง แต่ละใบมีขนาดไม่เท่ากัน โดยมีขนาดกว้างประมาณ 1-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาวได้ประมาณ 5-12 มิลลิเมตร ก้านใบมีลักษณะเป็นร่องเล็ก ๆ ด้านบน ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย

สรรพคุณของผักเบี้ยหิน

  1. ใช้ทั้งต้นเป็นยาบำรุงโลหิต
  2. รากมีสรรพคุณช่วยเจริญธาตุไฟ
  3. ช่วยแก้ลมอัณฑพฤกษ์
  4. รากใช้เป็นยาขับเสมหะ
  5. ช่วยแก้อาการเจ็บ แก้เหงือกบวม
  6. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับลม
  7. ใช้ทั้งต้นแก้ท้องมาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
  8. ใช้รากเป็นยาถ่าย
  9. ใช้ทั้งต้นยาขับปัสสาวะ
  10.  ใช้ใบช่วยขับระดูขาวของสตรี
  11.  ใช้รากเป็นยาช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  12.  ใช้รางรักษาโรคริดสีดวงทวาร
  13.  ใช้ทั้งต้นรักษาโรคไต
  14.  ใช้ใบเป็นยาทาภายนอกแก้แผลอักเสบ
  15.  ใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้ฟกบวม

วิธีรับประทาน

ใช้ปรุงเป็นอาหารหรือรับประทานสด ๆ ก็ได้ แต่สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้

(ผักเบี้ยหินมีที่แปลงผักหลังตึกเทคโนฯ สำนักวิทยบริการ)

ข้อมูลจาก https://medthai.com

 

Rating

No votes yet