อบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

สรุปจากการฟังบรรยาย

          "อัคคีภัย" คือ ภัยอันตรายที่เกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการลุกลาม ไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้น ถ้าการลุกไหม้ของเชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามากความร้องแรงก็จะเพิ่งมากขึ้น ความเสียหายก็จะเพิ่มอย่างรวดเร็วยากแก่การควบคุม

องค์ประกอบไฟประกอบด้วย

             1. เชื้อเพลิง (FUEL) คือสิ่งที่ติดไฟและลุกไหม้ได้

         2. ความร้อน (HEAT) คือความร้อนที่เหมาะสมและเพียงพอ สามารถทำอุณหภูมิสูงจนทำให้สารเชื้อเพลิงจุดติดไฟ เช่น สะเก็ดไฟ ไฟฟ้าช็อด เปลงไฟบุหรี่ ฟ้าผ่า ฯลฯ

           3. อากาศ (OXYGEN) ในบรรยากาศทั่วไปมีออกซิเจนประมาณ 21 เปอร์เซ็นอยู่แล้ว ซึ่งสามารถทำให้ช่วยติดไฟได้

เชื้อเพลิง (FUEL) ประกอบไปด้วยทั้งหมด 3 สถานะ

          1. ของแข็ง เช่น ไม้ กระดาษ พลาสติก ฯลฯ สามารถดับได้โดยน้ำ

          2. ของเหลว เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง สามารถดับได้โดยสารเคมี

          3. ก๊าซ เช่นก๊าซหุงต้ม และจำพวกก๊าซประเภทต่างๆ  สามารถดับได้โดยสารเคมี

ความร้อน (HEAT) แบ่งได้เป็น 2 ระยะ

          1. ระยะจุดวาบไฟ คืออุณหภูมิความร้อนที่เชื้อเพลิงได้รับสะสมจนถึงจุดที่เชื้อเพลิงคายไอ ออกมา

          2. ระยะจุดชวาล หรือ จุดติดไฟ คืออุณหภูมิความร้อนที่เชื้อเพลิงได้รับสะสมจนถึงจุดที่ติดเป็นเปลวไฟขึ้นมา

อากาศ (OXYGEN) ประกอบด้วยก๊าซต่างๆหลายชนิด

          1. ไนโตรเจน 78 เปอร์เซ็น

          2. ออกซิเจน 21 เปอร์เซ็น

          3. และอื่น 1 เปอร์เซ็น

ประเภทของไฟ

         1.ไฟประเภท A ได้แก่เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น เศษไม้ กระดาษ เสื้อผ้า ฯลฯ

        2.ไฟประเภท B ได้แก่เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงเหลว เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด สารระเหย แก๊สหุงต้ม ฯลฯ

         3.ไฟประเภท C ได้แก่เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เช่น สายไฟ แผงสวิทช์ ฯลฯ

ประเภทถังดับเพลิง

          1. ชนิดผงเคมีแห้ง สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K

          2. ชนิดน้ำยาเหลวระเหย สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K

          3. ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B  ยกเว้น C และCLASS K

          4. ชนิดสูตรเคมีน้ำ สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A B C และ CLASS K

วิธีการใช้ถังดับเพลิง

          1. อยู่เหนือลม ห่างจากฐานของไฟ 2-3 เมตร ประสิทธิภาพในการดับเพลิงสูง

          2. ดึงสลักที่รั้งวาล์วออก

          3. ยกหัวฉีดปากกรวยชี้ไปที่ฐานของไฟ ทำมุม 45 องศา

          4. บีบวาล์วเพื่อให้ก๊าซพุ่งออกมา

          5. ฉีดก๊าซให้พุ่งออกเป็นทางยาวและส่ายหัวฉีดไปมาช้าๆ     

 


บรรยากาศการอบรมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

สำนักวิทยบริการ มอ.ปัตตานี 67