กลไกสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน

กลไกสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน

          สถานการร์ด้านพลังงานของประเทศไทย มีแนวโน้มการใช้พลังงานที่สูงขึ้น เนื่องจากการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และครัวเรือน ทั้่งนี้ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจากรายงานการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสาขาเศรษฐกิจ เช่น สาขาเกษตรกรรม สาขาอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามกำลังการผลิตไฟฟ้ายังไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเพียงพอ จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่ากว่า 933,572 ล้านบาท โดยมีการนำเข้านำมันดิบมากที่สุด  และผลจากการที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนจากการที่ภาครัฐมีนโยบาย เพื่อเพิ่มความสามรถในการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมทั้งจากกระแสการต่ื่นตัวกับสภาวะโลกร้อน (Global warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ที่นานาประเทศ รวมท้้งประเทศไทยมีแนวทางร่วมกันที่ต้่องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้มีการพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานชีวมวล และก๊าซชีวภาพ เป็นต้น เพื่อทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิล โดยมุ่งเน้นให้เป็นพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          การใช้พลังานทดแทนที่เพิ่มขึ้น โดยมีการดำเนินการตามกรอบของแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายสู่การพัฒนาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนในอนาคต

          ปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และในเรื่องของมมลพิษที่เกิดจากการผลิต พลังงานไฟฟ้าจากขยะ นอกจากนี้ ยังมีปัญาและอุปสรรคของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นพลังงานทดแทนบริสุทธิ์ที่ไม่มีมลพิษ แต่ก็มีข้อจำกัดด้านขนาดพื้นที่ ที่ต้องมีขนาดใหญ่ กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้นั้นผันแปรไปตามสภาพอากาศ และระยะเวลาที่ผลิตได้เฉพาะที่มีแสงแดดเท่านั้น

          

Rating

Average: 5 (1 vote)