การป้องกันอัคคีภัยและอพยพหนีไฟ
อัคคีภัยหรือการเพลิงไหม้
เกิดจากประกายไฟ ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเกิดจากการชำรุดของอุปกรณ์ครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน หรือสำนักงาน รวมไปถึงความประมาทของผู้ที่อาศัยในอาคารเอง จึงส่งผลให้ประกายไฟไปติดกับเชื้อเพลิงกลายเป็นสาเหตุของอัคคีภัยที่ทำให้เกิดการเสียหายแก่อาคาร บ้านเรือน ทรัพย์สิน ไปจนถึงชีวิตของผู้ที่อยู่ในอาคารด้วยการที่ได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยให้ความรู้ผู้อาศัยในอาคาร หรือสำนักงานเกี่ยวกับการป้องกันเมื่อเกิดเพลิงไหม้ หรือจัดอบรมดับเพลิง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดความสูญเสีย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งสามารถให้ผู้อาศัยในอาคารสำนักงานสามารถระงับเหตุเบื้องต้นเองได้
“ไฟ” จะเกิดขึ้นได้ด้วยองค์ประกอบ 3 สิ่งคือ เชื้อเพลิง (Fuel) ออกซิเจน (Oxygen) และความร้อน (Heat) ในสภาวะที่เหมาะสมแล้วให้พลังงานออกมาในรูปของพลังงานความร้อนและพลังงานแสงสว่าง หรือทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ นอกเหนือจากองค์ประกอบดังกล่าวแล้วจะต้องมีปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) ของการสันดาปกล่าวคือ เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนจากการเกิดก๊าซหรือไอที่ผิวมากพอที่จะติดไฟได้ และมีออกซิเจนในอากาศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 16 ไฟก็ติดขึ้น โมเลกุลของเชื้อเพลิงจะแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง ๆ จนแปลสภาพเป็นก๊าซแล้วลุกไหม้ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ ซึ่งสามารถแสดงองค์ประกอบของการเผาไหม้เป็นรูปแบบพีรามิดของไฟแต่เมื่อปฏิกิริยาลูกโซ่ขาดตอนลงเมื่อใด การสันดาปก็จะหยุดลง ดังนั้นองค์ประกอบในการเผาไหม้มีอยู่ 4 องค์ประกอบคือ
1. เชื้อเพลิง (Fuel) คือ วัตถุใด ๆ ก็ตามที่สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้อย่างรวดเร็วในการเผาไหม้ เช่น ก๊าซ ไม้ กระดาษ น้ำมัน โลหะ พลาสติก เป็นต้น เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะก๊าซจะสามารถลุกไหม้ไฟได้ แต่เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวจะไม่สามารถลุกไหม้ไฟได้ ถ้าโมเลกุลที่ผิวของเชื้อเพลิงไม่อยู่ในสภาพที่เป็นก๊าซ การที่โมเลกุลของแข็งหรือของเหลวนั้นจะสามารถแปรสภาพกลายเป็นก๊าซได้นั้นจะต้องอาศัยความร้อนที่แตกต่างกันตามชนิดของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด
2. ออกซิเจน (Oxygen) อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้นมีก๊าซออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 21% แต่การเผาไหม้แต่ละครั้งนั้นจะต้องการออกซิเจนประมาณ 16% เท่านั้น ดังนั้นจะเห็นว่าเชื้อเพลิงทุกชนิดที่อยู่ในอากาศรอบ ๆ ตัวเรานั้นจะถูกล้อมรอบด้วยออกซิเจนซึ่งมีปริมาณเพียงพอสำหรับการเผาไหม้ยิ่งถ้าปริมาณออกซิเจนยิ่งมากเชื้อเพลิงก็จะยิ่งติดไฟได้ดีขึ้น และเชื้อเพลิงบางประเภทจะมีออกซิเจนในตัวเองอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเองไหม้ได้โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนที่อยู่โดยรอบเลย
3. ความร้อน (Heat) คือพลังงานที่ทำให้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดเกิดความคลายไอออกมา
4. ปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) หรือการเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง คือ กระบวนการเผาไหม้ที่เริ่มต้นต้องแต่เชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนติดไฟขึ้น หมายถึง การเกิดปฏิกิริยา กล่าวคือ อะตอมจะถูกเหวี่ยงออกจากโมเลกุลของเชื้อเพลิงกลายเป็นอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระเหล่านี้จะกลับไปอยู่ที่ฐานของไฟอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเปลวไฟ
วิธีการใช้ถังดับเพลิง
การแบ่งประเภทของไฟ
1. เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles) เป็นเพลิงไหม้จากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่น ไม้ ผ้า เศษกระดาษ
2. เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เป็นเพลิงไหม้จากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน
3. เพลิงไหม้ประเภท C ( Electrical Equipment) เป็นเพลิงไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่
4. เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) เป็นเพลิงไหม้จากโลหะที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ หรือโรงงานที่ผลิตโลหะ
5. เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible Cooking) เป็นเพลิงไหม้จากไขมันและน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารในครัว
ความสำคัญของการซ้อมหนีไฟ
ปัญหาไฟไหม้จัดเป็นปัญหาที่อันตรายร้ายแรง เพราะอัคคีภัยเกิดขึ้นกับที่ใด ย่อมมีความเสียหายตามมาไม่มากก็น้อยตามแต่ความรุ่นแรงและขนาดของการเกิดเพลิงไหม้ โดยเฉพาะเมื่อไฟไหม้เป็นเหตุให้พนักงานต้องเสียชีวิต เนื่องมาจากการไม่รู้วิธีหรือขั้นตอนการอพยพหนีไฟ ฉะนั้นการซ้อมหนีไฟหรือซ้อมอพยพเวลาเกิดเพลิงไหม้ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่พนักงานภายในหน่วยงานต้องทราบไว้ทุกคน เพราะไม่มีใครคาดคิดได้ว่า การเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้จะเกิดในวันไหน แต่การรู้ไว้จะช่วยชีวิตพนักงานเหล่านั้น เมื่อเหตุการณ์นั้นมาถึง โดยส่วนใหญ่ของบริษัทจะซ้อมหนีไฟปีละ 2 ครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง และไม่ใช้แค่การซ้อมหนีไฟเท่านั้น บางบริษัทยังมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเพลิงไหม้ การใช้ถังดับเพลิงที่ถูกวิธี การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
วัตถุประสงค์ของการซ้อมหนีไฟ
1. เพื่อให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานทราบขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้
2. เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้สัญญาณเตือนภัย ที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
3. เพื่อให้พนักงานมีชีวิตรอดจากเหตุการณ์เพลิงไหม้
4. เพื่อเป็นการลดการสูญเสียชีวิตจากเหตุการณ์เพลิงไหม้
ข้อแนะนำในการซ้อมหนีไฟ
1. รู้จัดจุดรวมพล
2. แนะนำป้ายเซฟตี้ ป้ายเส้นทางหนีไฟ ให้กับพนักงานรับรู้
3. แนะนำให้พนักงานได้รู้ถึงบันไดหนีไฟ ช่องทางหนีไฟ
4. แนะนำข้อปฏิบัติในการหนีไฟตามช่องทางหนีไฟต่าง ๆ
5. แนะนำการใช้งานถังดับเพลิง
6. ซ้อมขั้นตอนการหนีไฟ
ขั้นตอนการหนีไฟ
1. จำลองสถานการณ์ไฟไหม้ เปิดเสียงกริ่งเตือนภัย
2. อพยพพนักงานทุกคนมายังจุดรวมพล ยังช่องทางต่าง ๆ
3. สำรวจเพื่อนพนักงาน และการปฐมพยาบาล
สุดท้ายแล้วสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งคือการอย่าวางสิ่งของขวางเส้นทางหนีไฟหรือบันไดหนีไฟ และต้องหมั่นตรวจเช็คเส้นทางหนีไฟเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเส้นทางนั้นใช้งานได้
อ้างอิง
ปิ่นทองกรุ๊ป แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแตนท์. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีการเกิดไฟ. https://www.pinthong-group.com/tab/detail.php?id=38
ปิ่นทองกรุ๊ป แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแตนท์. (ม.ป.ป.). ความสำคัญของการซ้อมหนีไฟ. https://www.pinthong-group.com/tab/detail.php?id=8
- Log in to post comments
- 550 views