การพัฒนาสำนักงานสีเขียวเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral) (จากการประชุม Green Office ทีหอสมุดคุณหญิงหลงฯ)

 

ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutral หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ ซึ่งเป้าหมายของโลกกำหนดให้ทำได้ภายในปี 2050 ในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิต ต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกไม่ให้เพิ่มเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ภาคธุรกิจที่ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนอยู่ ต้องมีโครงการกำจัดก๊าซคาร์บอนที่เหลืออยู่ให้หมดไป หรือมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero emissions) จึงจะเรียกได้ว่า มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป้าหมายของโลกกำหนดให้ทำได้ภายในปี 2050 โดยมีแนวทาง คือ

        1) การดูดซับก๊าซคาร์บอน เช่น การปลูกป่า พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อกักเก็บคาร์บอน

        2) การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้นทาง เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) แทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel)

        3) การชดเชยคาร์บอนเครดิต (Carbon offsets) ผ่านกระบวนการกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดยการลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสภาพภูมิอากาศ เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เป้าหมาย Carbon Neutral ของโลกและของชาติ

         เป้าหมายความร่วมมือก้าวไปสู่ Carbon Neutral ความเป็นกลางทางคาร์บอนสำคัญต่อโลกเพื่อป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่แย่ลงเพื่อจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 1.5 องศา ต้องช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ ในระดับนานาชาติ กำหนดไว้ว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) หรือเร็วกว่านั้น แต่สำหรับประเทศไทยประกาศจุดยืนว่า จะทำให้ได้แต่ถัดจากเป้าหมายโลกไปอีก 20 ปี

         EU ประกาศ Carbon certificates ว่าต้องทำให้ได้เต็มรูปแบบภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายจะทำให้เป็น Carbon Neutral ภายในปี 2050 หรือประเทศไทยก็มีนโยบายที่จะไปเป็นคาร์บอน Carbon Neutral ในปี 2070

         การวัดผลว่า แต่ละประเทศทำได้ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ในแต่ละปีเพื่อไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral ซึ่งเกณฑ์วัดและประเมินผล 5 ด้าน ที่ค่อนข้างซับซ้อน รวมถึงการจัดอันดับความสามารถในภาคปฏิบัติจริง เมื่อสรุปคะแนนแล้วก็จะจัดให้ประเทศนั้นๆ อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจาก 5 กลุ่ม ดังนี้

         1. วิกฤตจนไม่สามารถทำได้ (CRITICALLY INSUFFICIENT)

         2. ไม่สามารถทำได้อย่างยิ่ง (HIGHLY INSUFFICIENT)

         3. ไม่สามารถทำได้ (INSUFFICIENT)

         4. เกือบทำได้ (ALMOST SUFFICIENT)

         5. สามารถทำได้ตาม (SUFFICIENT)

         ประเทศที่มีการเก็บคะแนนและคาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายมีเพียงประเทศเดียว คือ สาธารณรัฐแกมเบีย (The Gambia) ประเทศเล็กๆ ที่อยู่ฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ใกล้เคียงกับบุรีรัมย์ และยังห่างไกลความเจริญอยู่มาก

         ประเทศไทยประกาศเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (NDCs) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero 2565 เป็น 40% เป้าหมายใหม่ในแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี 2564-2573 แนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ ทั้งกลไกทางการเงิน เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการปรับตัวของภาคขนส่งและอุตสาหกรรมแล้ว ปัจจัยส่งเสริมที่จะช่วยให้เป้าหมายในการมุ่งสู่ความเป็นกลางของคาร์บอนของประเทศให้ประสบความสำเร็จมี 3 ด้าน ได้แก่

          1) การจัดการความรู้ (Knowledge management) อย่างเป็นระบบเพื่อการถ่ายทอดสู่สาธารณะทั้งในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ (Public Relation; PR) และการสร้างแบรนด์ (Branding) ของการเป็นสังคมไทยที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

          2) การจัดการข้อมูล (Data management) เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่สามารถวัดผล รายงานผล และตรวจสอบพิสูจน์ผลได้อย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดการจัดการก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบนโยบายหรือมาตรการที่มีประสิทธิภาพของภาครัฐเช่น การดำเนินการจัดทำศูนย์ข้อมูล หรือ Sensor เพื่อตรวจวัดข้อมูลในระบบ Real time

         3) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development; R&D) ที่อาจนำไปสู่การลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐในกิจกรรมที่มีความสำคัญ

          กิจกรรมที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอน

  1. การปลูกต้นไม้  ซึ่งต้นไม้ 1 ต้น ช่วยดูดซับคาร์บอนได้ 9-15 กิโลกรัมต่อปี  ช่วยดักฝุ่นและมลพิษทางอากาศได้ 1-4 กิโลกรัมต่อปี
  2. การใช้พลังงานทดแทน
  3. เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เป็นเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี มีนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองอัจฉริยะมีองค์ประกอบ 7 อย่างคือ
  • การสัญจรอัจฉริยะ Smart Mobility
  • ชุมชนอัจฉริยะ Smart community
  • เศรษฐกิจอัจฉริยะ Smart economy
  • สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ Smart environment
  • การปกครองอัจฉริยะ Smart governance
  • อาคารอัจฉริยะ Smart building
  • พลังงานอัจฉริยะ Smart energy

            การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่สังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในทุกภาคส่วนในการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อสถานการณ์ใกล้ถึงจุดอันตราย อุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกและจะกลับคืนมาไม่ได้ ทำให้แต่ละประเทศ รวมทั้งองค์กรและบริษัทขนาดใหญ่ เริ่มออกมาประกาศเจตนารมณ์ Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2050

            การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักวิทยบริการในการพัฒนาสำนักงานสีเขียวก็เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการมุ่งที่จะทำให้หน่วยงานได้มีส่วนร่วมในการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า การใช้พลังงานสะอาด และส่งเสริมให้บุคลากรมีความตระหนักในการร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสังคมส่วนรวมทุกคน ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อสังคมเราและสังคมโลก

​​​​​​​https://www.greennetworkthailand.com

https://www.springnews.co.th/spring-life/817978

 

Rating

Average: 2 (1 vote)