การใช้คำให้ถูกต้องในการเขียนหนังสือราชการ

การใช้คำให้ถูกต้องในการเขียนหนังสือราชการ

สำหรับงานธุรการหรืองานสารบรรณก็เลี่ยงไม่พ้นกับการต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ สุภาพ ที่สำคัญสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง วันนี้จะรวมหลักภาษา การใช้คำในหนังสือราชการ

หลักการใช้คำในการเขียนหนังสือราชการ

  1. ทั้งนี้       ความหมาย   ตามที่กล่าวมาแล้ว

               ใช้กรณี        ใช้กล่าวเพิ่มเติมเรื่องที่กล่าวมาแล้ว บางครั้งมีลักษณะเป็น

                               เงื่อนไข

  1. ในการนี้   ความหมาย   การดำเนินการที่กล่าวข้างต้น

                ใช้กรณี       ใช้กล่าวแทนข้อความที่กล่าวไปแล้ว

  1. อย่างไรก็ตาม     ความหมาย  ถึงเช่นนั้น แม้กระนั้น แต่

                       ใช้กรณี       ใช้กล่าวเพิ่มเติมในกรณีที่ขัดแย้งกับข้อความที่กล่าวมา

                                       แล้ว (มีลักษณะผ่อนปรน เห็นอกเห็นใจ และนุ่มนวล)

  1. อนึ่ง   ความหมาย   อีกอย่างหนึ่ง อีกประการหนึ่ง

          ใช้กรณี         ใช้กล่าวเพิ่มเติมในประเด็นที่แตกต่างจากที่กล่าวไปบ้างแล้ว มิใช่

                            แตกต่างโดยสิ้นเชิง

การใช้คำ อนุมัติ อนุญาต อนุเคราะห์ ใช้แตกต่างกันอย่างไร

  1. อนุมัติ หมายถึง ใชอำนาจกระทำตามที่ระเบียบกำหนด

           ใช้กรณี  เรื่องที่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงาน

  1. อนุญาต หมายถึง ยินยอม ยอมให้ ตกลง

             ใช้กรณี เรื่องส่วนตัวที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ เช่น ขอลากิจ ลาป่วย ขอ

             ไปเป็นวิทยากร

  1. อนุเคราะห์ หมายถึง เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ

                ใช้กรณี  การขอความช่วยเหลือ หรือการขอให้อำนวยความสะดวกใน

                ลักษณะต่างๆ เช่น การขอยืมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

การใช้คำบุพบท  (กับ, แก่, แด่,)

  1. กับ ความหมาย รวมกัน เกี่ยวข้องกัน

       ใช้กรณี   เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน

  1. แก่  ความหมาย สำหรับ

        ใช้กรณี      ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ มีศักดิ์เสมอผู้ให้ หรือต่ำกว่า

  1. แด่  ความหมาย สำหรับ เพื่อ อุทิศ ถวาย

                   ใช้กรณี  ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ มีศักดิ์สูงกว่าผู้ให้

Rating

No votes yet