แก้ไข บล็อก หัวเรื่องย่อย (Subheadings หรือ Subdivisions)

 

หัวเรื่องย่อย

(Subheadings  หรือ Subdivisions)

​​​​​​​

ภาพประกอบ คู่มือหัวเรื่อง Subject Heading

        

                  หัวเรื่องย่อย คือหัวเรื่องที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ตามหลังหัวเรื่องใหญ่ หรือหัวเรื่องวิสามานยนามเฉพาะ เพื่อกำหนดขอบเขต หรือความหมายของหัวเรื่องใหญ่ให้ชัดเจนหรือเฉพาะเจาะจงตามวิธีเขียนหรือรูปแบบอื่นๆของเนื้อหา หรือแสดงแง่มุมที่เจาะจง   หัวเรื่องใหญ่อาจมีหัวเรื่องย่อยมากกว่าหนึ่งหัวเรื่อง ที่สำคัญคือ หัวเรื่องย่อยจะใช้ตามลำพังไม่ได้

                  หัวเรื่องย่อยมี 4 ประเภทดังนี้

                  1. หัวเรื่องย่อยที่บอกประเด็นเฉพาะของเนื้อเรื่อง (Topical Subdivisions) เป็นหัวเรื่องย่อยที่แสดง รายละเอียด เวลา หรือรูปแบบของหัวเรื่องใหญ่ เช่น Corn -- Harvisting, Women -- Empplyment -- Administration หัวเรื่องย่อยที่แสดงรายละเอียดเวลา เช่น Shakespears, William,15641-1516 -- Characters -- Children ฯลฯ

                  2. หัวเรื่องย่อยที่บอกลักษณะรูปแบบการเขียน (Form Subdivisions) เป็นหัวเรื่องย่อยที่ใช้เพื่อระบุรูปแบบการเขียน การจัดเรียง ลักษณะ หรือหน้าที่ของหัวเรื่องนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น Abstracts, Bibliography, Dictionaries ฯลฯ

                  3. หัวเรื่องย่อยที่บอกยุคสมัย (Chronological Subdivisions) ส่วนมากจะเป็นหัวเรื่องทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปะ โดยเฉพาะหัวเรื่องหัวเรื่องย่อยที่บอกซึ่งจะอิงตามเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของเรื่องนั้น อาจแบ่งตามยุคสมัย หรือ แบ่งตามปีปฏิทิน หัวเรื่องประเภทนี้มี 5 ลักษณะ 

                   4. หัวเรื่องย่อยที่บอกชื่อภูมิศาสตร์ (Geographic Subdivisions) หัวเรื่องที่จะแบ่งย่อยตามชื่อภูมิศาสตร์ได้ ที่หัวเรื่องใหญ่ต้องมีการระบุด้วยคำว่า "MaySubd Geog"  แสดงว่าหัวเรื่องนั้นสามารถแบ่งย่อยได้ตามชื่อประเทศ รัฐ เมือง ทวีป หรือชื่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น  Construction Industry (MaySubd Geog)  จะได้หัวเรื่องดังนี้  Construction Industry -- Thailand

               นอกจากนีั้ยังมีหัวเรื่องย่อยลอยอิสระ (Free- Floating Subdivisions) คือ คำหัวเรื่องกลุ่มหนึ่งที่ใช้แบ่งย่อยตามรูปแบบ หรือหัวข้อเรื่องเฉพาะต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับทุกหัวเรื่องได้ดยไม่มีการระบุ หรือจัดเรียงไว้ในรายการหัวเรื่องทั่วไป หัวเรื่องย่อยลอยอิสระใช้เติมกับหัวเรื่องทุกประเภทตามความเหมาะสม โดยเติมเป็นรายการสุดท้ายของหัวเรื่อง  หัวเรื่องย่อยประเภทนี้บางรายการเป็นได้ทั้งหัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อยลอยอิสระ  ให้ดูจากการอธิบายการใช้ของหัวเรื่องนั้นๆ

                    หัวเรื่องย่อยลอยอิสระ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้

                     1. หัวเรื่องย่อยลอยอิสระที่แสดงรูปแบบและหัวเรื่องเฉพาะ (Form and Topics)

                      เช่น Abstracts, Accedents, Accounting, Administration, Analysis, Archives, Bibiography (MaySubd Geog), Biography (MaySubd Geog), Biography, Catalogs (MaySubd Geog) Congresses ฯลฯ

                     2. หัวเรื่องย่อยลอยอิสระที่ขยายภายใต้ชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล (Names of Person)

,                    เช่น  Award (MaySubd Geog), Birth,Diaries (MaySubd Geog), Divorce (MaySubd Geog), Health, Interviews (MaySubd- Geog), Marrige (MaySubd Geog), Poetry

                    3. หัวเรื่องย่อยลอยอิสระที่ขยายภายใต้ชื่อทางภูมิศาสตร์ (Names of Places) ได้แก่ ประเทศ เมือง สถานที่

                      เช่น Antiquities, Climate, Description and travel, Commercial Policy, Economic Conditions, Economic policy, Emigration and immigration, Foreign relation, Guidebooks, History, Maps, Military policy, Politics and government, Social- conditions, Strategic aspects

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ่านรายละเอียดได้ที่ 

ระเบียบ สุภวิรี.  (2549-2550) หัวเรื่องหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 27 (2), 96-121.

         

 

 

Rating

No votes yet