แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)
จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ในแนวทาง Virtual Desktop Infrastructure” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ อาคารวิทยบริการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
คิดว่านำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้น่าจะเกิดประโยชน์
คุณลักษณะของระบบ
- VMware vSphere ESXi 6.7 เป็น software จัดการ server
- Dell EMC PowerEdge Systems เป็น hardware ชนิด Rack Server จำนวน 5 เครื่อง แต่ละเครื่องมี RAM 512 GB มี GPU ชนิด NVIDIA Tesla M10 32 GB และมี SAN Storage ขนาด 50 TB
- L2/3 network switch ที่มี 10 G Base-T จำนวน 2 ตัว
- VMware Horizon 7 เป็น software สำหรับทำ VDI
- เครื่องที่ให้ใช้งานเป็น PCoIP zero client จำนวน 480 ชุด
- user account เป็น Local Microsoft AD สำหรับห้องคอม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้
- ได้ทดลองใช้งานเป็นผู้ใช้งาน
- ได้รับข้อคิดเห็นจากประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่จัดซื้อเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว
- ได้เห็นวิธีการ cloning VM ทำภายใน server สะดวกมาก เพราะ zero client ไม่มี hard disk เป็นแค่จอภาพ+อุปกรณ์เชื่อมต่อกับ server
สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการนำระบบ VDI ไปใช้งาน
- ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Virtualization Technology
- ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ DHCP Sever, DNS Server
- ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Microsoft AD
- ผู้ดูแลต้องมีความรู้พื้นฐานการจัดการ PC , Windows
- ผู้ดูแลควรมีการติดตั้งและทดสอบโปรแกรมที่จะนำมาใช้กับระบบ VDI
- ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Server และ Network
- ระบบไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศภายในห้อง Data Center ที่มีประสิทธิภาพ
ปัญหาที่เจอในการใช้งานระบบ VDI
- vcenter ล่ม (ระบบไฟฟ้าภายในห้อง Data Center มีปัญหา,ไฟล์สำคัญโดนลบ)
- การ Clone เครื่อง (ใช้งานได้ไม่ครบทุกเครื่อง)
- ค่า Error ไม่สื่อความหมาย (Clone แล้วเครื่องไม่พร้อมใช้งาน)
- ข้อมูลทั้งระบบมีขนาดที่โตขึ้น (การเก็บข้อมูลในเครื่องผู้ใช้งาน Drive C,D)
- ทรัพยากรไม่เพียงพอเมื่อมีการสร้างเครื่องใช้งานเยอะเกินไป ต้องประเมิน Disk Storage ให้เพียงพอ
- ปัญหาเกี่ยวกับ user account ที่จะใช้ VM ในตอนแรกจะให้ใช้ Microsoft AD ของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจาก AD ของมหาวิทยาลัยไม่ได้ออกแบบมาให้คอนฟิกได้ง่าย จึงเปลี่ยนเป็นสร้าง Local AD ผูกกับ zero client เป็นเครื่อง ๆ ไป เปิดเครื่อง กด Enter ก็เข้าถึงหน้าต่าง Windows ราว ๆ 30-40 วินาที
ข้อดีของการนำระบบ VDI มาใช้งาน
- การบริหารจัดการเครื่องมีประสิทธิภาพขึ้น เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
- ประหยัดพลังงาน เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
- ลดอุณหภูมิภายในห้อง LAB Computer เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งานทรัพยากร เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
- ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะภายในห้อง LAB Computer เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
- การ Backup ข้อมูลทั้งระบบทำได้ง่าย เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
ถาม-ตอบ ที่พอจะประมวลได้จากการพูดคุย
ถาม: วิทยาเขตตรัง มีนโยบายการให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน กี่แบบ
ตอบ: มีแบบเดียว คือ มีเครื่องให้ใช้ร่วมกัน เก็บบันทึกไฟล์ไว้เอง เนื่องจากระบบ VDI ที่จัดซื้อทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะสร้าง VM แยกให้นักศึกษาหรือให้แต่ละวิชา
ถาม: ระบบนี้มีค่าใช้จ่ายเท่าไร แยกเป็นค่าอะไรบ้าง ขอทราบ specification ที่ใช้งานอยู่
ตอบ: ไม่สามารถระบุเฉพาะระบบ VDI ได้ เพราะเป็นการเช่ารวมกับ PC และ Notebook อีกจำนวนหนึ่ง (ประมาณหยาบ ๆ ได้เครื่องละ 20,000 บาท/3ปี หรือ คิดเป็นค่าใช้เครื่อง 18 บาท/วัน) ส่วนการกำหนด VDI specification ได้คำนวณจากปริมาณ (PC, RAM และ Disk) ที่ต้องการใช้งาน บวกส่วนเผื่อไว้อีก 25%
ถาม: ระบบนี้น่าจะเหมาะกับคณะที่ให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนการติดตั้งโปรแกรมหรือไม่
ตอบ: ทำได้เพราะเปิดสิทธิ Administrator เหมือนกับ PC
ถาม: ระบบนี้น่าจะเหมาะกับหน่วยงานที่ให้บริการฝึกอบรมหรือไม่
ตอบ: ขึ้นอยู่กับความพร้อมของ data center ให้บริการได้ต่อเนื่องหรือไม่ และโปรแกรมที่อบรมได้ทดสอบติดตั้งใช้งานแบบ VDI ได้
ถาม: ระบบนี้ดีกว่าระบบเก่าอย่างไร
ตอบ: มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มทรัพยากรให้ zero client ที่ต้องการใช้มาก ๆ ปรับเปลี่ยนได้สะดวก การ cloning สามารถ remote เข้าทำได้ที่ server ไม่ต้องทำที่ห้องคอม
ถาม: ตั้งแต่เริ่มใช้ระบบนี้มีการประเมินการใช้งานแล้ว คุ้มหรือไม่คุ้ม ดีหรือไม่ดี อย่างไร
ตอบ: ยังไม่ได้ประเมิน
ขอขอบคุณข้อมูลที่ได้รับจาก presentation ของคุณพงษ์พันธ์ ประพันธ์ หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
- Log in to post comments
- 232 views