ส่วนประกอบของเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number) 13 หลัก
ส่วนประกอบของเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
(International Standard Book Number) 13 หลัก
ISSN ย่อมาจาก International Standard Serial Number หรือ เลขมาตราฐานสากลประจำวารสาร คือเลขรหัสเฉพาะที่กำหนดให้แก่สิ่งพิมพ์ประเภทวารสารแต่ละชื่อเรื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำหรับการค้นข้อมูลวารสาร การแลกเปลี่ยนและการติดต่อต่างๆ เกี่ยวกับวารสารให้ถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว
โดยมีศูนย์ข้อมูลวารสารสากล ประเทศฝรั่งเศล เป็นหน่วยงานที่สร้างเลข ISSN โยใช้การคำนวณด้วย Modulus 11 เลข ISSN ประกอบด้วย เลขอารบิค 8 หลัก ตั้งแต่ 0-9 ยกเว้น เลขตัวสุดท้ายซึ่งบางครั้งจะเป็นตัวอักษร X (ตัวพิมพ์ใหญ่ของอักษณภาษาอังกฤษ) การเขียนเลข 8 หลักนี้ จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัว และมีเครื่องหมาย (-) คั่นกลาง เลขแต่ละตัวไม่มีความหมาย นอกจากจะใช้สำหรับกำกับวารสารแตะละชื่อเรือ่งเท่านั้น โยมีศูนย์ข้อมูลวารสารประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกรับผิดชอบในการกำหนดเลขให้กับสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารที่พิมพ์ในประเทศของตน หน่วยงานที่ดูแล ISSN ของไทย คือ หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งนอกจากทำหน้าที่เป็น ISSN CENTER ในไทยแล้ว ยังเป็น ISSN CENTER ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและให้หมายเลข ISSN แก่อนุกรมสื่อต่างๆนอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์และไทย
ส่วนประกอบของเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือแบ่งออกเป็น 5 ส่วน
ส่วนที่ 1 จะขึ้นต้นด้วยรหัสของ European Article Numbering-Uniform Code Council คือ 978 หรือ 979
ส่วนที่ 2 รหัสประเทศ โดยสำหรับประเทศไทย ในหนังสือเล่มเก่าจะใช้ 974 แต่เนื่อด้วยรหัสส่วนที่ 3 เต็มจำนวนแล้ว จึงได้กำหนดรหัสชุดใหม่เป็น 616 จากการตรวจสอบที่เว็บไซต์ International ISBN Agency พบว่าได้มีรหัสชุด 611 เตรียมไว้ถ้าหากรหัสชุด 616 เต็มคาดการณ์ว่าก็จะมีการเปลี่ยนไปใช้ 611 เป็นรหัสในส่วนที่ 2 สำหรับประเทศไทย
ส่วนที่ 3 รหัสสำนักพิมพ์ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้ 271
ส่วนที่ 4 รหัสชื่อเรื่อง เป็นลำดับของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากสำนักพิมพ์นั้น ๆ
ส่วนที่ 5 เลขตรวจสอบ ใช้ตรวจในระบบคอมพิวเตอร์จากการคำนวณเลข 12 ตำแหน่ง ของส่วนที่ 1-4
978-616-271-572-3
ระบุประเภทสินค้าเป็นหนังสือ |
รหัสประเทศ |
รหัสสำนักพิมพ์ 271 เป็นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสชื่อเรื่อง เป็นลำดับของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากสำนักพิมพ์นั้น ๆ |
เลขตรวจสอบ ใช้ตรวจในระบบคอมพิวเตอร์จากการคำนวณเลข 12 ตำแหน่ง ของส่วนที่ 1-4 |
- Log in to post comments
- 504 views