การประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 12

การประชุมเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิทยบริการไทย ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ "Towards National Impacts and International Quality" เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

โดยมีวาระการประชุม ดังนี้

  • การชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์การจัดประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 12 โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ หัวหน้าศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
  • การบรรยายพิเศษเรื่อง "ผลกระทบของ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2560 กับคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI" โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง อดีตผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ
  • การบรรยายเรื่อง "Local contents and Scopus Database: Current and Future developments" โดย Mr.Kavit Yanit and Mr.Shareef Bhailal, Elsevier
  • การบรรยายเรื่อง "การพัฒนาคุณภาพวารสารไทยสู่วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal)" โดย คุณศวิต กาสุริยะ และ ดร.กริช นาสิงห์ขันธุ์ 
  • การมอบประกาศนียบัตรให้กับบรรณาธิการวารารดีเด่น ประจำปี 2561 จำนวน 10 วารสาร
  • การบรรยายเรื่อง "Preparation and experiences for journals submission into Scopus" โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
  • การระดมสมองเรื่อง "เกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563" โดย รศ.ธีระศักดิ์ หมากผิน และ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ

การประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาวารสารวิชาการไทยไปสู่ระดับสากล ตามหัวข้อ Towards National Impacts and International Quality ทาง TCI มีการนำเสนอกระบวนการทำงานในการนำวารสารไทยเข้าสุ่ฐานข้อมูล SCOPUS โดยใช้เวลาเร็วที่สุด 3 วัน และช้าที่สุด 72 วัน โดยในปี 2560 TCI ร่วมมือกองบรรณาธิการวารสาร สามารถนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล SCOPUS ได้จำนวน 10 วารสาร ซึ่งก็น่าจะทำให้วารสารอื่นๆ เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาวารสารของตนเองเข้าสู่ข้อมูล SCOPUS ต่อไป 

สำหรับประเด็นการพัฒนาคุณภาพวารสารไทยสู่วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) ทาง TCI ร่วมมือกับ NECTEC พัฒนา THAIJO และเมื่อพฤศจิกายน 2560 พัฒนาเป็น THAIJO 2.0 เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาวารสารไทยไปสู่วารสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปัจจุบันพร้อมเปิดให้บริการกับทุกๆ วารสารที่ต้องการใช้งาน THAIJO แม้ไม่อยู่ใน TCI ก็สามารถขอรับบริการได้ (ก่อนหน้านี้ให้บริการเฉพาะวารสารที่อยู่ใน TCI เท่านั้น) อย่างไรก็ตาม การใช้บริกาาร THAIJO ในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายปีละ 5,000 บาท แต่การสมัครใช้งานปีแรกจะเรียกเก็บค่าบริการจำนวน 2 ปี (10,000 บาท) และทางทีมงานมีการฝึกอบรมให้กับวารสารที่ต้องการใช้งานเป็นประจำทุกเดือน โดยสถานที่อบรมจะเป็นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น ไม่มีการฝึกอบรมตามมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกแล้ว สำหรับค่าฝึกอบรมต่อครั้ง คือ 25,000 บาท ผู้สนใจใช้บริการ THAIJO สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://www.tci-thaijo.org จะมีข้อมูลอยู่ในหน้าแรกเลย หรือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ thaijo@nectec.or.th (การฝึกอบรม), https://facebook.com/ThaiJo2.0 (สอบถามปัญหาการใช้งาน)

มาถึงประเด็นที่สำคัญ ประเด็นที่ทุกวารสารต้องทราบ และต้องเตรียมตัวรับการประเมินรอบที่ 4 พ.ศ. 2563 ที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้  

จากเกณฑ์การประเมินวารสารรอบที่ 3 พ.ศ. 2558-2562 (ค.ศ. 2015-2019) ที่ผ่านจะประกอบด้วย เกณฑ์หลัก 2 ข้อ และ เกณฑ์รอง 8 ข้อ ดังนี้

Main criterion

  1. Articles for publication must be peer-reviewed.
  2. Timeliness (one issue delay is allowed).

Optional criterion

  1. The journal age must be 3 years minimum. (or after 6 issues published)
  2. Citations in TCI databases.
  3. Good diversity in authorship.
  4. Good diversitty in editorial board members.
  5. Clear journal concept and policy.
  6. Unform journal formats. (references, illustrations, tables etc.)
  7. Journal website. (update, comprehensive)
  8. Online Submission. 

ที่มา: Thai-Journal Citation Index Centre (TCI). (2018, March 9). The 12th symposium on thai scholarly journals: Towards national impacts and international quality. Bangkok, Thailand.

โดยวารสารที่ได้รับคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 จัดอยู่ในกลุ่ม 1 สำหรับวารสารที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 80 จัดอยู่ในกลุ่ม 2 และวารสารที่มีเกณฑ์หลักไม่ครบ จัดอยู่ในกลุ่ม 3 

จากการทำงานที่ผ่านของ TCI ได้พบประเด็นถกเถียงในรอบการประเมินที่ผ่านมาว่าบทความบางวารสารมีคุณภาพต่ำ แต่ทำไมวารสารถึงอยู่กลุ่ม 1 อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ทำไมตีพิมพ์บทความในวารสารกลุ่ม 1 แล้วขอผลงานวิชาการไม่ผ่าน (ความจริง TCI ตอบตลอดมาว่า TCI ประเมินวิธีการดำเนินงานของวารสาร ไม่ได้ประเมินคุณภาพของบทความโดยตรง) TCI จึงเห็นว่าเกณฑ์หลัก 2 ข้อ และ เกณฑ์รอง 8 ข้อ ยังขาดองค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาของวารสาร ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 Criterion for TCI journal evaluation 2015-2019

Categories Criteria (2015-2019)
Journal Policy

1. Article for publication must be peer-reviewed.
2. The journal age must be 3 years minimum. (or after 6 issues published)
3. Clear journal concepts and policy.
4. Good diversity in authorship.
5. Good diversitty in editorial board members.
6. Unform journal formats. (references, illustrations, tables etc.)

Content N/A
Journal Standing Citations in TCI databases.
Regularity Timeliness
Online Availability

1. Journal website. (update, comprehensive)
2. Online Submission.

ที่มา: Thai-Journal Citation Index Centre (TCI). (2018, March 9). The 12th symposium on thai scholarly journals: Towards national impacts and international quality. Bangkok, Thailand.

การประเมินในรอบที่ 4 พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) TCI จึงพิจารณาเพิ่มองค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาของวารสาร ซึ่งมีรายละเอียด ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 Proposed Criteria for TCI journal evaluation 2020

Categories Criteria (2015-2019)
Journal Policy

1. Article for publication must be peer-reviewed.
2. The journal age must be 3 years minimum. (or after 6 issues published)
3. Clear journal concepts and policy.
4. Good diversity in authorship.
5. Good diversitty in editorial board members.
6. Unform journal formats. (references, illustrations, tables etc.)

Content 1. Clarity of abstracts
2. Quality and conformity to the state aims and scope of the journal
3. Readability of articles 
4. Format consistency
Journal Standing Citations in TCI databases.
Regularity Timeliness (one issue delay is allowed).
Online Availability

1. Journal website. (update, comprehensive, stand alone)
2. Online Submission. (or ThaiJo 2.0)

ที่มา: Thai-Journal Citation Index Centre (TCI). (2018, March 9). The 12th symposium on thai scholarly journals: Towards national impacts and international quality. Bangkok, Thailand.

จากองค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมา TCI คาดหวัดว่าจะช่วยเพิ่มคุณภาพบทความวารสารวิชาการไทยให้สูงยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากการพิจารณาองค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาเป็นสิ่งที่วารสารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้อย่างรอบคอบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความชัดเจนถูกต้องของบทคัดย่อ บทความที่ตีพิมพ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบข่ายการตีพิมพ์ของวารสาร การเขียนถูกต้องตามหลักการเขียนผลงานวิชาการ และมาตรฐานการจัดรูปแบบบทความ อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมานี้ ทาง TCI ยังไม่กำหนดค่าน้ำหนักคะแนนหรือความสำคัญมากน้อยเพียงใด แต่จากที่ฟังจากการประชุมแล้วต้องเรียนว่าน่าจะมีค่าน้ำหนักคะแนนสูงทีเดียว

นอกจากเกณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมา 4 ข้อ ดังกล่าว TCI ยังขอให้กองบรรณาธิการวารสารคัดเลือกบทความที่ดีที่สุด จำนวน 5 บทความ ในวารสารฉบับที่ตีพิมพ์ย้อนหลัง 3 ปี (นับจากปีที่ประเมิน) เพื่อให้ทาง TCI ประเมินคุณภาพเนื้อหาของวารสารอีกด้วย

สำหรับประเด็นการถาม-ตอบที่น่าสนใจ คือ

  • จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละฉบับไม่ควรน้อยกว่า 6-8 บทความ
  • กระบวนการ peer-review คือ การขขอความคิดเห็น การให้ความคิดเห็น ส่วนการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับตีพิมพ์เป็นหน้าที่เป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและบรรณาธิการ
  • ความแตกต่างระหว่าง Special issue กับ Supplementary Issue คือ Special issue คือ การนำวารสารฉบับปกติมาตีพิมพ์ในวาระโอกาสพิเศษต่างๆ ส่วน Supplementary Issue คือ การเพิ่มฉบับวารสารจากปกติในแต่ละปี ซึ่งจะออกเมื่อไหร่ กี่ฉบับก็ได้

Rating

Average: 3.5 (2 votes)