กฎหมายลิขสิทธิ์กับการบริการของห้องสมุดยุคดิจิทัล

 

จากการฟังการบรรยายเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์กับการบริการของห้องสมุดในยุคดิจิทัล เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้บริการของห้องสมุดในฐานะผู้ให้บริการที่ต้องคำนึงถึงเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ ได้ทราบข้อควรระวังในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง และมีข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด จากฟังการบรรยายสามารถนำความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในห้องสมุด เพื่อไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานและตัวเองซึ่งสรุปได้ดังนี้

         ลิขสิทธิ์ หมายถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ  กับงานอันมี ลิขสิทธิ์ ทั้ง 9 ประเภท   ทั้งการ ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ ให้เช่า หรือ อนุญาตให้ใช้  โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง

ลักษณะของงานที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง

  1. การแสดงออกซึ่งความคิด
  2. ระดับการสร้างสรรค์เพียงพอ
  3. ประเภทงานที่กฎหมายกำหนด
  4. ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย

1. การแสดงออกซึ่งความคิด

  - การสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถ ของผู้สร้างสรรค์ ในการถ่ายทอดแนวความคิดมาเป็นผลงาน เช่นงานเขียน ภาพวาด ภาพถ่าย หรืองานศิลปะ การคิดอะไรต้องถ่ายทอดออกมาเป็นงาน

  - แนวความคิดยังไม่ถือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความคิด คิดเฉย ๆ กฎหมายไม่คุ้มครอง

2. ระดับการสร้างสรรค์เพียงพอ

 - การวัดว่าเพียงพอหรือไม่จะมีกฎหมายกำหนดอยู่ว่ามีการใช้ความรู้ ความสามารถ ความวิริยะอุตสาหะ สติปัญญา ความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ผลงาน หรือไม่ เช่น การถ่ายภาพโดยมีการจัดองค์ประกอบเพื่อให้ภาพออกมามีความสวยงาม ถือว่ามีการสร้างสรรค์งาน ใช้ความรู้ความสามารถในการทำ

 - การสร้างสรรค์ผลงานโดยเพียงแค่ สักแต่ทำงานนั้นขึ้น ยังไม่ได้ถือว่ามีลักษณะการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ

3. ประเภทงานที่กฎหมายกำหนด

 - กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผลงานลิขสิทธิ์ 9 ประเภทคือ

          1. งานวรรณกรรม ( หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย สุนทรพจน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (คำสั่ง ชุดคำสั่ง ฯลฯ )

              วลีสั้น ๆ ไม่ถือเป็นงานวรรณกรรม

          2. งานนาฏกรรม ( ท่ารำ ท่าเต้น การทำท่าทาง ฯลฯ )

          3. งานศิลปกรรม ( จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  ภาพถ่าย  สถาปัตยกรรม งานภาพประกอบ (แผนที่)

              ศิลปะประยุกต์ ฯลฯ )

          4. งานดนตรีกรรม ( ทำนอง  ทำนองและเนื้อร้อง โน้ตเพลง ฯลฯ )

          5. งานโสตทัศนวัสดุ ( วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง )

          6. งานภาพยนตร์ (หนัง ละคร)

          7. งานสิ่งบันทึกเสียง ( เทปเพลง ซีดีเพลง )

          8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ (รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ หรือวิธีอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น ไลน์สด)

          9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

       - ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นงานลิขสิทธิ์ เช่น เครื่องหมายการค้า ยี่ห้อสินค้า สิทธิบัตร GI

      4. ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย

       - สื่อลามกอนาจาร เช่น ภาพยนตร์ที่มีฉากลามกอนาจาร กฎหมายจะไม่คุ้มครองถึงแม้ว่าจะเป็นงานภาพยนตร์

         ภาพลามกอนาจาร นิยายปกขาว

       - ศิลปะลามกอนาจาร พิจารณาจากเจตนาการนำเสนอ

​​​​​​​การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึง

      1.ความคิด

      2. แนวความคิด

      3. ขั้นตอน

      4. กรรมวิธีหรือระบบ

      5. วิธีใช้หรือทำงาน

      6. หลักการ

      7. การค้นพบ

      8. ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ 

 

สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

     1. ข่าวประจำวัน

     2. รัฐธรรมนูญและกฎหมาย

     3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศคำสั่งของรัฐ

     4. คำพิพากษา คำสั่ง

     5. คำแปลและการรวบรวมงานโดยรัฐ

การคุ้มครอง จะคุ้มครองทันทีที่สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน

 

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ ม.34

  บรรณารักษ์ของห้องสมุดสามารถกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการหากำไร ในกรณีดังนี้คือ

      1. ทำซ้ำ เพื่อใช้ในห้องสมุด หรือให้แก่ห้องสมุดอื่น

      2. ทำซ้ำ บางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา

      3. การดำเนินการตา (1) และ (2) จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรและเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 32 วรรคหนึ่ง

หลักเกณฑ์ มาตรา 32 วรรค 1

      1.ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ

      2. ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร

 

Rating

Average: 3.5 (2 votes)