การนำเข้าข้อมูลจาก Google Sheet เพื่อสร้าง Dashboard ใน Data Studio

 

Data Studio เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดย Google สามารถใช้งานได้ฟรีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถแชร์ให้เพื่อนร่วมงานสารถแก้ไขหรือสามารถดูได้ เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนข้อมูลที่มีจำนวนมาก ซับซ้อน ให้กลายเป็นรายงานที่ง่ายต่อการเข้าใจผ่านออกมาเป็นแผนภูมิต่าง ๆ

ในการนำเข้าข้อมูลของ Data Studio เพื่อนำไปแปลงเป็นกราฟนั้นทำได้ง่าย ๆ ซึ่งสามารถนำเข้าข้อมูลได้จากแหล่งต่าง ๆ มากมาย เช่น .CSV, Google Sheet, Google Analytic, MySQL เป็นต้น

การหาหนังสือผิดชั้น

การหาหนังสือผิดชั้น

          คุณเคยหรือไม่?

เวลาเข้าห้องสมุดไปหาหนังสือ แล้วใช้ระบบค้นหาในคอมพิวเตอร์ ก็พบว่าหนังสืออยู่บนชั้นแต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า พอเดินไปดูที่ชั้นหนังสือแล้วไม่มี "ไม่รู้มันไปไหน"

          หนังสือที่หายไปจากชั้นหนังสืออาจจะเกิดได้หลายกรณี เช่น

- มีคนยืมออกไปจากหอสมุดฯ

- มีคนนำไปอ่านที่โต๊ะอ่านหนังสือ แล้วกำลังอ่านอยู่

- มีคนนำไปวางไว้ที่ชั้นพักหนังสือแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังไม่นำขึ้นชั้น

- มีคนนำมาคืน แต่ยังอยู่ที่เคาน์เตอร์ยืมคืน

การขอรับเงินค่าประกันสมาชิกห้องสมุดคืน

การขอรับเงินค่าประกันสมาชิกห้องสมุดคืน

   สมาชิกห้องสมุดประเภทบุคคลภายนอกยืมได้จะมีการเก็บค่าประกัน 500 บาท และจะคืนค่าประกันนี้เมื่อผู้ใช้ยกเลิกการเป็นสมาชิกกับห้องสมุด โดยมีขั้นตอนการคืนเงินค่าประกัน ดังนี้

1.  ตรวจสอบหนี้สินในระบบ ALIST ว่าผู้ใช้มีค้างส่งหนังสือ หรือค้างค่าปรับในระบบหรือไม่ หากมีให้ผู้ใช้นำหนังสือมาคืน และชำระค่าปรับให้เรียบร้อยก่อน

ขั้นตอนการขอรับค่าหนังสือหายคืน

ขั้นตอนการขอรับค่าหนังสือหายคืน

       เมื่อผู้ใช้แจ้งว่าพบตัวเล่มที่ได้ทำการแจ้งหายไว้กับทางหอสมุดฯ และได้ทำการชำระค่าปรับเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบวันที่ที่รับชำระค่าปรับ

ดังนี้

1. เกิน 2 เดือนหรือไม่ ถ้าเกิน แจ้งให้ผู้ใช้เก็บหนังสือไว้เป็นสมบัติส่วนตัว

2. เกิน 1 เดือน หรือไม่ ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่ถึง 2 เดือน รับค่าหนังสือหายคืน 50%

3. หากไม่เกิน 1 เดือน รับค่าหนังสือหายคืน 100%

การพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (3)

การที่ ก.พ.อ. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ ใช้ผลงานทางวิชาการที่มีความเหมาะสมและยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ยังคงมีมาตรฐานทางวิชาการ จึงให้ใช้ผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ โดยไม่ต้องอยู่ในฐานข้อมูล TCI ได้ ทั้งนี้ วารสารวิชาการระดับชาติต้องเป็นวารสารวิชาการที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (2)

หลังจากทราบผลการประเมินและอ่านรายละเอียดทั้งหมด ผมเริ่มต้นด้วยการทบทวนว่า ตัวเองพลาดอะไรไปบ้าง แล้วจะปรับการทำงานส่วนใดบ้าง จากนั้นนำประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขเรียนปรึกษากับ รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ ผู้ผลักดันให้วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขึ้นสู่ TCI 1 พร้อมทาบทามและขอความกรุณาให้ช่วยเป็นบรรณาธิการคนต่อไป (เนื่องจากบรรณาธิการพิเชษฐ เพียรเจริญ กำลังเกษียณอายุราชการ) บทสรุปแนวทางการปรับปรุงแก้ไข มีดังนี้

การพัฒนาวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (1)

เนื้อหานี้ผมวางแผนและตั้งใจที่จะเขียนตั้งแต่ทราบผลการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563-2567 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 แล้ว แต่ตั้งใจว่าจะเขียนเมื่อทราบผลการประเมินรอบที่ 4 ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อปรับกลุ่มอีกครั้ง เพื่อบันทึกไว้ว่าผมได้ทำอะไรไปบ้าง ทั้งยังหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนทำงานวารสารด้วยกันอีกด้วย

Creative Commons กับการสร้างสื่ออย่างไร...ไม่ให้โดนลิขสิทธิ์

 

ผลงานทั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นมาล้วนแต่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์กับเจ้าของผลงาน หรือที่เรียกว่า Copyright (©) ซึ่งหากผู้อื่นจะนำผลงานนั้นไปใช้ก็ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน หากมีการนำงานมาใช้โดยไม่ขออนุญาตก็จะละเมิดลิขสิทธิ์กับเจ้าของผลงาน ตรงนี้เองทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า Creative Commons

ก่อนอื่นเลยนะครับ เรามาทำความรู้จักกันคำว่า “Creative Common” กันก่อนดีกว่า