การประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 12
การประชุมเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิทยบริการไทย ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ "Towards National Impacts and International Quality" เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ
โดยมีวาระการประชุม ดังนี้
- การชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์การจัดประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 12 โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ หัวหน้าศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
- การบรรยายพิเศษเรื่อง "ผลกระทบของ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2560 กับคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI" โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง อดีตผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ
- การบรรยายเรื่อง "Local contents and Scopus Database: Current and Future developments" โดย Mr.Kavit Yanit and Mr.Shareef Bhailal, Elsevier
- การบรรยายเรื่อง "การพัฒนาคุณภาพวารสารไทยสู่วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal)" โดย คุณศวิต กาสุริยะ และ ดร.กริช นาสิงห์ขันธุ์
- การมอบประกาศนียบัตรให้กับบรรณาธิการวารารดีเด่น ประจำปี 2561 จำนวน 10 วารสาร
- การบรรยายเรื่อง "Preparation and experiences for journals submission into Scopus" โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
- การระดมสมองเรื่อง "เกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563" โดย รศ.ธีระศักดิ์ หมากผิน และ ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
การประชุมในครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาวารสารวิชาการไทยไปสู่ระดับสากล ตามหัวข้อ Towards National Impacts and International Quality ทาง TCI มีการนำเสนอกระบวนการทำงานในการนำวารสารไทยเข้าสุ่ฐานข้อมูล SCOPUS โดยใช้เวลาเร็วที่สุด 3 วัน และช้าที่สุด 72 วัน โดยในปี 2560 TCI ร่วมมือกองบรรณาธิการวารสาร สามารถนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล SCOPUS ได้จำนวน 10 วารสาร ซึ่งก็น่าจะทำให้วารสารอื่นๆ เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาวารสารของตนเองเข้าสู่ข้อมูล SCOPUS ต่อไป
สำหรับประเด็นการพัฒนาคุณภาพวารสารไทยสู่วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) ทาง TCI ร่วมมือกับ NECTEC พัฒนา THAIJO และเมื่อพฤศจิกายน 2560 พัฒนาเป็น THAIJO 2.0 เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาวารสารไทยไปสู่วารสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปัจจุบันพร้อมเปิดให้บริการกับทุกๆ วารสารที่ต้องการใช้งาน THAIJO แม้ไม่อยู่ใน TCI ก็สามารถขอรับบริการได้ (ก่อนหน้านี้ให้บริการเฉพาะวารสารที่อยู่ใน TCI เท่านั้น) อย่างไรก็ตาม การใช้บริกาาร THAIJO ในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายปีละ 5,000 บาท แต่การสมัครใช้งานปีแรกจะเรียกเก็บค่าบริการจำนวน 2 ปี (10,000 บาท) และทางทีมงานมีการฝึกอบรมให้กับวารสารที่ต้องการใช้งานเป็นประจำทุกเดือน โดยสถานที่อบรมจะเป็นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น ไม่มีการฝึกอบรมตามมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกแล้ว สำหรับค่าฝึกอบรมต่อครั้ง คือ 25,000 บาท ผู้สนใจใช้บริการ THAIJO สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://www.tci-thaijo.org จะมีข้อมูลอยู่ในหน้าแรกเลย หรือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ thaijo@nectec.or.th (การฝึกอบรม), https://facebook.com/ThaiJo2.0 (สอบถามปัญหาการใช้งาน)
มาถึงประเด็นที่สำคัญ ประเด็นที่ทุกวารสารต้องทราบ และต้องเตรียมตัวรับการประเมินรอบที่ 4 พ.ศ. 2563 ที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้
จากเกณฑ์การประเมินวารสารรอบที่ 3 พ.ศ. 2558-2562 (ค.ศ. 2015-2019) ที่ผ่านจะประกอบด้วย เกณฑ์หลัก 2 ข้อ และ เกณฑ์รอง 8 ข้อ ดังนี้
Main criterion
- Articles for publication must be peer-reviewed.
- Timeliness (one issue delay is allowed).
Optional criterion
- The journal age must be 3 years minimum. (or after 6 issues published)
- Citations in TCI databases.
- Good diversity in authorship.
- Good diversitty in editorial board members.
- Clear journal concept and policy.
- Unform journal formats. (references, illustrations, tables etc.)
- Journal website. (update, comprehensive)
- Online Submission.
ที่มา: Thai-Journal Citation Index Centre (TCI). (2018, March 9). The 12th symposium on thai scholarly journals: Towards national impacts and international quality. Bangkok, Thailand.
โดยวารสารที่ได้รับคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 จัดอยู่ในกลุ่ม 1 สำหรับวารสารที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 80 จัดอยู่ในกลุ่ม 2 และวารสารที่มีเกณฑ์หลักไม่ครบ จัดอยู่ในกลุ่ม 3
จากการทำงานที่ผ่านของ TCI ได้พบประเด็นถกเถียงในรอบการประเมินที่ผ่านมาว่าบทความบางวารสารมีคุณภาพต่ำ แต่ทำไมวารสารถึงอยู่กลุ่ม 1 อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ทำไมตีพิมพ์บทความในวารสารกลุ่ม 1 แล้วขอผลงานวิชาการไม่ผ่าน (ความจริง TCI ตอบตลอดมาว่า TCI ประเมินวิธีการดำเนินงานของวารสาร ไม่ได้ประเมินคุณภาพของบทความโดยตรง) TCI จึงเห็นว่าเกณฑ์หลัก 2 ข้อ และ เกณฑ์รอง 8 ข้อ ยังขาดองค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาของวารสาร ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 Criterion for TCI journal evaluation 2015-2019
Categories | Criteria (2015-2019) |
---|---|
Journal Policy |
1. Article for publication must be peer-reviewed. |
Content | N/A |
Journal Standing | Citations in TCI databases. |
Regularity | Timeliness |
Online Availability |
1. Journal website. (update, comprehensive) |
ที่มา: Thai-Journal Citation Index Centre (TCI). (2018, March 9). The 12th symposium on thai scholarly journals: Towards national impacts and international quality. Bangkok, Thailand.
การประเมินในรอบที่ 4 พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) TCI จึงพิจารณาเพิ่มองค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาของวารสาร ซึ่งมีรายละเอียด ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 Proposed Criteria for TCI journal evaluation 2020
Categories | Criteria (2015-2019) |
---|---|
Journal Policy |
1. Article for publication must be peer-reviewed. |
Content | 1. Clarity of abstracts 2. Quality and conformity to the state aims and scope of the journal 3. Readability of articles 4. Format consistency |
Journal Standing | Citations in TCI databases. |
Regularity | Timeliness (one issue delay is allowed). |
Online Availability |
1. Journal website. (update, comprehensive, stand alone) |
ที่มา: Thai-Journal Citation Index Centre (TCI). (2018, March 9). The 12th symposium on thai scholarly journals: Towards national impacts and international quality. Bangkok, Thailand.
จากองค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมา TCI คาดหวัดว่าจะช่วยเพิ่มคุณภาพบทความวารสารวิชาการไทยให้สูงยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากการพิจารณาองค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาเป็นสิ่งที่วารสารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้อย่างรอบคอบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความชัดเจนถูกต้องของบทคัดย่อ บทความที่ตีพิมพ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบข่ายการตีพิมพ์ของวารสาร การเขียนถูกต้องตามหลักการเขียนผลงานวิชาการ และมาตรฐานการจัดรูปแบบบทความ อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบการประเมินด้านคุณภาพเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมานี้ ทาง TCI ยังไม่กำหนดค่าน้ำหนักคะแนนหรือความสำคัญมากน้อยเพียงใด แต่จากที่ฟังจากการประชุมแล้วต้องเรียนว่าน่าจะมีค่าน้ำหนักคะแนนสูงทีเดียว
นอกจากเกณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมา 4 ข้อ ดังกล่าว TCI ยังขอให้กองบรรณาธิการวารสารคัดเลือกบทความที่ดีที่สุด จำนวน 5 บทความ ในวารสารฉบับที่ตีพิมพ์ย้อนหลัง 3 ปี (นับจากปีที่ประเมิน) เพื่อให้ทาง TCI ประเมินคุณภาพเนื้อหาของวารสารอีกด้วย
สำหรับประเด็นการถาม-ตอบที่น่าสนใจ คือ
- จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละฉบับไม่ควรน้อยกว่า 6-8 บทความ
- กระบวนการ peer-review คือ การขขอความคิดเห็น การให้ความคิดเห็น ส่วนการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับตีพิมพ์เป็นหน้าที่เป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและบรรณาธิการ
- ความแตกต่างระหว่าง Special issue กับ Supplementary Issue คือ Special issue คือ การนำวารสารฉบับปกติมาตีพิมพ์ในวาระโอกาสพิเศษต่างๆ ส่วน Supplementary Issue คือ การเพิ่มฉบับวารสารจากปกติในแต่ละปี ซึ่งจะออกเมื่อไหร่ กี่ฉบับก็ได้
- Log in to post comments
- 113 views