KM เรื่องความรู้เรื่อง การปรับตัวแบบ VUCA BANI

 

VUCA คืออะไร

  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมกับความไม่แน่นอน ความผันผวน ความซับซ้อน, และ ความคลุมเครือ เช่น

การระบาดของโควิด-19, สถานการณ์สงครามยุโรป,ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และความผันผวนของตลาดคริปโต สถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นสะท้อนให้เห็นถึงยุค VUCA และจะรับมือกับมันได้อย่างไร

 

Volatility – ความผันผวน

ลักษณะสำคัญ: เป็นสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยยังไม่ทราบว่าสถานการณ์จะกลับมาปกติเมื่อใด แต่เป็นสถานการณ์ที่เข้าใจได้ไม่ยากจนเกินไป และมีข้อมูลเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา

ตัวอย่าง: ราคาของสินค้าที่ขึ้นและลง หลังจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือภัยสงคราม

วิธีแก้ไข: เตรียมความพร้อมเชิงทรัพยากรรวมถึงทรัพยากรบุคคล เพื่อรองรับการขึ้นความผันผวนด้านต่าง ๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น ฉะนั้นการบริหารความเสี่ยงจึงจำเป็นต้องทำควบคู่กับการเพิ่มทรัพยากรดังกล่าว

Uncertainty – ความไม่แน่นอน

ลักษณะสำคัญ: ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับสถานการณ์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวเป็นที่แน่ชัด และสถานการณ์ดังกล่วาสามารถเปลี่ยนแปลงได้แต่จำเป็นต้องศึกษาและวางกลยุทธ์เพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหา

ตัวอย่าง: บริษัทคู่แข่งประกาศจะลงสินค้าตัวใหม่ ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนต่อบริษัทเราและเกิดความไม่แน่นอนในตลาด

วิธีแก้ไข: ลงทุนในการหาข้อมูลเพิ่มเติม, ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดลึกซึ้ง, และกระจายข้อมูลให้ทั่วถึงในองค์กร ทั้งนี้ การเพิ่ม framework ในการวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กรก็จะส่งเสริมให้ความไม่แน่นอนที่กำลังเผชิญอยู่ลดลง

Complexity – ความซับซ้อน

ลักษณะสำคัญ: บ่งบอกถึงสถานการณ์ที่มีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง ซึ่งบางปัจจัยสามารถคาดเดาได้ แต่ปริมาณของข้อมูลเกี่ยวข้องมีจำนวนมากซึ่งทำให้การวิเคราะห์สถานการณ์เป็นไปได้ยาก

ตัวอย่าง: ทำธุรกิจในหลายประเทศ แม้จะขายสินค้าประเภทเดียวกันแต่กฎหมายในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน

วิธีแก้ไข: ปรับโครงสร้าง หรือหาผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน รวมถึงเสริมสร้างทรัพยากรที่จำเป็นต่อการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน

 

Ambiguity – ความคลุมเครือ

ลักษณะสำคัญ: เป็นสถานการณ์ที่ไม่อาจหาความสัมพันธ์ระหว่างต้นเหตุและผลลัพธ์ได้ อีกทั้งปัจจัยเกี่ยวข้องอื่น ๆ ก็ไม่มีความกระจ่างชัด

ตัวอย่าง: บริษัทตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ (หรือในประเทศกำลังพัฒนา) หรือ บริษัทเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ต่างออกไปจากธุรกิจหลัก

วิธีแก้ไข: การแก้ไขความคลุมเครือของสถานการณ์สามารถทำได้ผ่านการทดลอง โดยการตั้งสมมุติฐานและทำการทดสอบสมมติฐานดังกล่าว ซึ่งการทดลองดังกล่าวอาจจะเป็นขนาดเล็กและขยายผลลัพธ์ เพื่อให้เข้าต้นเหตุและผลลัพธ์ของสถานการณ์

 

 

BANI  คืออะไร

BANI คือ การปรับตัว การรับมือ เป็นแนวทางใหม่ในการอธิบายโลกของเรา แนวคิด VUCA ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลานานเพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรได้พัฒนาตัวเองขึ้นในสถานการณ์ที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ

VUCA ทำหน้าที่หลักเพื่อสร้างความหมายในการเผชิญกับความไม่แน่นอนในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความเชื่อมโยง และเป็นดิจิทัลมากขึ้น

 

BANI ย่อมาจากอะไร

B = Brittle – ความเปราะบาง คือเราอ่อนไหวต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ทุกเมื่อ และธุรกิจทั้งหมดที่สร้างขึ้นบนรากฐานที่เปราะบางสามารถพังทลายได้ในชั่วข้ามคืน โลกเราเปราะบางมากขึ้น สิ่งที่เคยเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในอดีตอาจไม่ใช่สำหรับวันนี้ ความต้องการสินค้าบริการต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป องค์กร ธุรกิจไม่ใช่แค่เผชิญกับความผันผวนไม่แน่นอน แต่อาจจะแตกสลายได้เลยเมื่อเจอปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา

 

A = Anxious – ความวิตกกังวล วิตกกังวลเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ในชีวิตส่วนตัวของผู้คนแต่ในการทำงานด้วยเช่นกัน คนวิตกกังวลมากขึ้น ลังเลจะตัดสินใจ รวมไปถึงสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ ที่เกิดภาวะวิตกกังวลกับอนาคต กับสถานะทางสังคม คนทำงาน ผู้นำมีความเครียด ทรมานจาก Burn out มากขึ้น

 

N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง ในยุคนี้ เราอยู่ในโลกที่เหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรง เหตุการณ์ในโลกเกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดคิด ขาดตรรกะ ไม่เป็นเหตุเป็นผล

 

I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ ในภาวะที่ทุกอย่างไม่ได้มีความเชื่อโยงเป็นเหตุเป็นผล เมื่อเราหาคำตอบจึงเกิดภาวะที่คำตอบนั้นไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นเราต้องเข้าใจว่าเราไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งได้ ข้อมูลที่มีเยอะมากไปก็อาจไม่สามารถอธิบายได้

 

 

Rating

Average: 5 (2 votes)