อะไรคือคาร์บอนฟุตพริ้นท์

อะไรคือคาร์บอนฟุตพริ้นท์

คาร์บอนฟุตพริ้นขององค์กร หรือ CFO ย่อมาจาก Carbon Footprint for Organization หรือภาษาไทยเรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า แบ่งเป็น 3 ประเภท (Scope) ดังนี้
1.  การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ที่อยู่กับที่ เผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ กระบวนการผลิต การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล ชีวมวล (ดินและป่าไม้)
2.  การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Indirect Emissions) ได้แก่ ไฟฟ้าที่ถูกนำเข้าจากภายนอกเพื่อใช้งานภายในองค์กร พลังงานนำเข้าอื่น ๆ เช่น ไอน้ำ ความร้อน ความเย็น อากาศอัด
3. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Other Indirect Emissions) ได้แก่ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากที่ระบุในการปล่อยก๊าซทางตรง และ ทางอ้อม เช่น วัตถุดิบตั้งต้นที่ซื้อมา ของเสียจากกิจกรรมในองค์กร การขนส่งจากผู้ผลิตวัตถุดิบ การเดินทางที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร การเดินทางของลูกค้าและผู้มาติดต่อ การขนส่งและกระจายสินค้า เป็นต้น

การลดคาร์บอนฟุตพริ้น ใกล้ตัว-ทำได้ง่าย สามารถทำได้ 10 วิธี ดังนี้
1. กระดาษรีไซเคิล นำกระดาษที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้งานใหม่
2. แผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ ถ้าเราทำความสะอาดสม่ำเสมอ จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนฯ ได้ถึง 80 กิโลกรัมต่อปี สื่อให้เห็นว่าการทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น และยังช่วยลดพลังงานอีกด้วย
3. การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แทนการตั้งสกรีนเซฟเวอร์ให้วิ่งไปวิ่งมา ตรงนี้จะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ ได้ถึง 90 กิโลกรัมต่อปี 
4. อาบน้ำให้เร็วขึ้น สื่อถึงนาฬิกาบอกเวลาและฝัก บัวอาบน้ำ เพราะกระบวนการในการผลิตน้ำ ทุกอย่างต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น และจะปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเช่นกัน แต่ถ้าเรามีเครื่องเตือนเวลาในการอาบน้ำจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯได้ 160 กิโลกรัมต่อปี เป็นการสื่ออะไรที่ง่ายมาก แต่ได้ผลสูง
5. ขวดน้ำพลาสติก เป็นการสื่อถึง "ขยะ" ว่าขยะเป็นปัญหาในทุกพื้นที่ของประเทศไทยในขณะนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางใดก็เจอ แต่ถ้าเราหันมาใช้ขวดแก้วแทน จะเป็นการลดพลังงานได้ถึง 2 ต่อ คือการผลิตน้ำและการลดขยะ สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ได้ 450 กิโลกรัมต่อปี
6. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งที่นำมาจัดแสดงคือ โคมไฟที่มีสวิตช์ปิดเปิดและปลั๊กไฟ ถ้าถอดปลั๊กไฟออกเวลาที่ไม่ใช้สามารถลดปริมาณของก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ได้ 450 กิโลกรัมต่อปี เท่ากับขวดน้ำพลาสติกเช่นกัน
7. การใช้ "ถุงผ้า" แทน "ถุงพลาสติก" ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 545 กิโลกรัมต่อปี 
8. ทางเดียวกันไปด้วยกัน สื่อรถยนต์และคน คือคนเดินทางออกจากบ้านไปทำงาน หรือไปธุระ หากใช้รถคันเดียวกันไปด้วยกันช่วยประหยัดน้ำมัน และลดการปล่อยควันเสีย
9. สร้างบ้านให้เย็น หากวางแผนโดยใส่ฉนวนกันความร้อน หรือการออก แบบบ้านให้มีหน้าต่างมากๆ และมีทิศทางลมที่ผ่านสะดวก สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
10.การปลูกต้นไม้เพียงต้นเดียว ช่วยดูด ซับก๊าซคาร์บอนฯ ในอากาศ และลดก๊าซคาร์บอนฯ

เคล็ดลับการบริโภคอาหารที่ช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์
1. กินให้หมด ลดเศษอาหาร  เศษอาหารนั้นมีส่วนในการทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก เพราะอาหารที่ถูกทิ้งจะย่อยสลายและเกิดเป็นแก๊สมีเทน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกด้วย
2. กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง การลดการกินเนื้อเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เนื่องจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากการผลิตของปศุสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อวัวและโคนมคิดเป็น 14.5 % ของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น 
3. ซื้อผลิตผลในท้องถิ่น การซื้อของในท้องถิ่นช่วยลดการพึ่งพาอาหารที่ต้องขนส่งจากสถานที่ห่างไกล เป็นการตัดระยะทางในการขนส่ง ซึ่งเป็นการลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่ง และยังได้อาหารที่สดใหม่ อีกทั้งควรใส่ใจกับการเลือกซื้ออาหารปลอดสารพิษ เพื่องดการส่งเสริมผลผลิตที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก
4. กินอาหารที่มีกากใยมากขึ้น การกินอาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ไม่เพียงแต่ทำให้สุขภาพดีขึ้น แต่ยังอาจช่วยลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย พบว่าอาหารที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่ำที่สุด คือ อาหารจากพืชที่อุดมด้วยเส้นใยสูงและมีไขมันอิ่มตัวและโซเดียมต่ำ
5. ลดการบริโภคนม การลดผลิตภัณฑ์นม เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตภัณฑ์จากนมเป็นปัจจัยใหญ่เป็นอันดับสอง ในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกรองจากเนื้อสัตว์เท่านั้น  การผลิตผลิตภัณฑ์นมมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยโคนมและมูลสัตว์จะปล่อยแก๊สเรือนกระจก เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และแอมโมเนีย เป็นต้น

ประเภทของฉลากคาร์บอนฟุตพริ้น

คาร์บอนฟุตพริ้นแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามวิธีการแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนฟุตพริ้นของผลิตภัณฑ์ คือ
1. ฉลากบ่งชี้การปล่อยคาร์บอนต่ำ (Low – Carbon Seal) แสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดียวกัน
2. ฉลากบ่งชี้ระดับการปล่อยคาร์บอน (Carbon Rating) แสดงระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ เช่น ระดับเหรียญทอง เงิน และทองแดง หรือบ่งชี้ระดับการลดลงของ
3. ฉลากระบุขนาดคาร์บอน Carbon Score) แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นตัวเลขขนาดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
4. ฉลากชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset/Neutral) แสดงการชดเชยคาร์บอน

อ้างอิง
นงนวล รัตนประทีป. (2551). 10 วิธีลดคาร์บอนฯ ใกล้ตัว-ทำได้ง่าย. https://reo13.mnre.go.th/th/news/detail/9326

นุสรา จริยะสกุลโรจน์. (2565). ฉลากคาร์บอนสื่อถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร. https://petromat.org/home/carbon-label/

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา. (2565). เคล็ดลับการกินที่ช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์. https://sciplanet.org/content/9856

สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. (ม.ป.ป.). CFO คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint For Organization: CFO หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF). https://www.masci.or.th/service/carbon-footprint-for-organization-cfo/

 

Rating

Average: 1.5 (2 votes)