สรุปลิขสิทธิ์การให้บริการของห้องสมุด

 

สรุปลิขสิทธิ์การให้บริการของห้องสมุด

 

บรรณารักษ์ หมายถึง บุคลากรที่รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินงานในห้องสมุด รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่บรรณารักษ์ห้องสมุด ทั้งนี้ แม้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ไม่มีบทนิยมคำว่า “บรรณารักษ์” แต่บรรณารักษ์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ หมายถึงผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด

 

ห้องสมุด หมายถึง แหล่งบริการสารสนเทศ ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารดำเนินงานและบริการผู้ใช้ มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเพื่อความบันเทิง การพักผ่อน

 

ประเทภงานลิขสิทธิ์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง 9 ประเภท

  1. งานวรรณกรรม
  2. งานนาฏกรรม
  3. งานศิลปกรรม
  4. งานดนตรีกรรม
  5. งานโสตทัศนวัสดุ
  6. งานภาพยนตร์
  7. งานสิ่งบันทึกเสียง
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ​​​​​​​

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ของห้องสมุด

บรรณารักษ์ห้องสมุดสามารถกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้โดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ในกรณีดังต่อไปนี้

  1. การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
  2. การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้า
  3. การดำเนินการตาม ข้อ 1 และข้อ 2 จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลกำไรและเป็นไปตามเงื่อนไข

เนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดหลักการดังกล่าวไว้อย่างกว้างและไม่มีคำนิยามในกฎหมายว่าการกระทำแค่ไหนเพียงใดว่าเข้าข่ายเป็นการแสวงหากำไรหรือผลกระทบต่อการแสวงหาผลประโยชน์หรือเกิดผลอย่างไรจึงจะเรียกว่าเกินสมควร จึงทำให้ไม่สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ตายตัวเกี่ยวกับปริมาณหรือจำนวนที่นำมาอ้างอิงให้เป็นบรรทัดฐานในการใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ของบรรณารักษ์ห้องสมุดได้

 

 

Rating

Average: 5 (1 vote)