ดิเกร์ฮูลู: การแสดงศิลปะพื้นบ้านภาคใต้
ดิเกร์ฮูลู เป็นศิลปะพื้นบ้านภาคใต้ของพี่น้องชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นิยมเล่นกันเป็นคณะในพื้นที่สามจังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส คล้ายกับวงลำตัด หรือ เพลงฉ่อยทางภาคกลางของการร้องขับกลอนเพลงโต้ตอบกันระหว่าง 2 คณะ หรือ 2 ฝ่าย คือฝ่ายผู้โต้ และฝ่ายผู้ตอบ ดิ-เกร์ฮูลู มีมานานประมาณ 500 ปีมาแล้ว ผู้ขับกลอนเพลงโต้ตอบ ประมาณว่าโต้วาที (เพลงงาโฆ๊ะ หรือ เพลงกาโฆ๊ะ) ดิเกร์ฮูลู เรียกว่า โต๊ะชอฆอ คือ หัวหน้าคณะ จะต้องมีไหวพริบ รู้เท่าทัน รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รู้เรื่องสมุนไพร รู้เรื่องนก รู้เรื่องราวของสังคมรอบๆตัว มีความรู้ประวัติศาสตร์โบราณ และประวัติในเรื่องๆต่าง นิทานต่างๆ เช่น สังข์ทอง รามเกียรติ์ ประวัติความเป็นมาเพลงวาบูแล เป็นต้นเพื่อมาเล่าสู่กันฟังรุ่นต่อรุ่นต่อไป และมีคณะลูกคู่ในคณะ หัวหน้าคณะสามารถเลือก หรือ เรียกคณะลูกคู่คณะใดก็ได้ให้มาร่วมแสดงด้วย เช่นหัวหน้าคณะบุหงาตานี จะเลือกเอาคณะลูกคู่จากคณะบางปลาหมอ มาร่วมแสดงด้วย เป็นต้น ในการแสดงแต่ละครั้งจะมี 2 คณะ หรือ 2 ฝ่าย เรียกว่า ฝ่ายผู้โต้ และฝ่ายผู้ตอบ
ผู้โต้ เป็นฝ่ายตั้งประเด็น หรือหัวข้อขึ้นมาเพื่อแข็งขันเชาว์ปัญญากัน ผู้ตอบ เป็นฝ่ายตอบประเด็นที่ผู้โต้ตั้งประเด็น หรือ หัวข้อขึ้นมา ซึ่งจะต้องอาศัยไหวพริบ ปฏิภาน ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์พอสมควร จึงจะสามารถโต้ตอบกันได้สนุกสนาน และมีเนื้อหาสาระ
คณะลูกคู่ดิเกร์ฮูลู ซึ่งมีจำนวนประมาณ 10 – 15 คน แบ่งหน้าที่การแสดง ได้แก่ ผู้แสดงประกอบจังหวะลีลา นักร้องหรือผู้ร้องเพลง และผู้เล่นดนตรี ดูที่ความสามารถของผู้แสดงในคณะ
คลิป ชมภาพประกอบการแสดงของศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ ชุดถวายความอาลัย ในหลวง ร. 9
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=zHQvY8Dip9Y
คลิป ชมภาพประกอบการแสดงของศิลปินพื้นบ้านภาคใต้ ชุดการแสดงเอกลักษณ์พื้นบ้าน ( คณะดิเกร์ฮูลู ผอ.ยูนุห์ ตุยง)
ที่มา :https://www.youtube.com/watch?v=OI6zEEWUZo8
เครื่องดนตรี
ที่ใช้ในการแสดงดิเกร์ฮูลู ประกอบด้วย
1. กลองรำมะนาใหญ่ (หรือ บานออีบู)
เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมโบราณและมีความสำคัญที่สุด มีหน้าที่ควบคุมจังหวะของเครื่องดนตรีทุกชนิดของดิเกร์ฮูลู การตีรำมะนาต้องตีให้เสียงหนักแน่น
2. กลองรำมะนาเล็ก (หรือ บานออาเน๊าะ)
เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมโบราณและมีความสำคัญที่สุด มีหน้าที่ในกำหนดจังหวะของรำมะนาใหญ่ เป็นสัญญาณบอกจังหวะการหยุดเสียงดนตรีของระมะนาใหญ่
รูปที่ 1 – 2 กลองรำมะนาอย่างน้อย 2 ใบ รำมะนาเล็ก และ รำมะนาใหญ่
3. ฆง หรือ ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมโบราณและมีความสำคัญที่สุด มีหน้าที่ในการบังคับการให้จังหวะของเครื่องดนตรีทุกชนิดที่จะมีจังหวะช้าหรือ จังหวะเร็ว ฆงเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในช่วงจังหวะที่หัวหน้าคณะดิเกร์ฮูลูร้องเพลงกลอนโต้ตอบ (งาโฆ๊ะ) ส่วนเครื่องดนตรีอื่นๆจะต้องหยุดการบรรเลงดนตรีทั้งหมดไว้ก่อน เสียงดังกังวานของฆงดังไปไกล เมื่อใครได้ยินได้ฟังแล้ว จะทำให้รู้ว่า มีการแสดงดิเกร์ฮูลู
รูปที่ 3 ฆง หรือ ฆ้อง
4. โหม่ง (หรือ ม่อง) มีหน้าที่ในการตบแต่งเสียงดนดรีให้เข้าจังหวะการร้องเพลงแต่ละเพลง
รูปที่ 4. โหม่ง (หรือ ม่อง)
5. ลูกแซ็ค หรือ เว๊าะลอมา เดิมทำจากกะลามะพร้าว (ที่ไม่มีเนื้ออยู่ด้านใน) มีหน้าที่เป็นตัวช่วยทำให้เสียงดนตรีในช่วงของการร้องเพลงอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพลงกลอนโต้ตอบ (งาโฆ๊ะ)
รูปที่ 5. ลูกแซ็ค หรือเว๊าะลอมา
6. ฉิ่ง (หรือ อาเน๊าะอาแย)
มีหน้าที่เป็นตัวช่วยทำให้เครื่องดนตรีที่เล่นทั้งหมดมีความไพเราะขึ้นในทุกๆจังหวะ ฉิ่งจะใช้ในช่วงที่นักร้องออกมาร้องเพลง และช่วงที่หัวหน้าคณะดิเกร์ฮูลูร้องเพลงปันตน ปันตนคือ ฉันทลักษณ์ประเภทหนึ่งของบทกวีภาษามลายู เป็นการเล่าเรื่องในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน และสังคมในท้องถิ่น เช่น ยาเสพติดกับเยาวชน การศึกษากับเยาวชน เป็นต้น
รูปที่ 6. ฉิ่ง (หรือ อาเน๊าะอาแย)
7. ฉาบ (หรือ กายูตือโป๊ะ) มีหน้าที่ช่วยให้เสียงปรบมือของลูกคู่ดังยิ่งขึ้น (ไม่มีรูปประกอบ)
8. ขลุ่ย จะมีหรือไม่มีก็ได้
รูปที่ 8 ขลุ่ย
เครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กันในวง จะมีเสียงความไพเราะเพียงใดขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมและความพร้อมเพรียงภายในคณะด้วย
การแสดงดิเกร์ฮูลู
แบบดั้งเดิมจะนั่งล้อมวงเป็นวงกลม มี 2 คณะ นั่งห่างกันประมาณ 2 วา คนตีรำมะนาใหญ่ จะอยู่ใกล้กับฆ้อง และรำมะนาเล็ก ลูกคู่ปรบมือแบบธรรมดา ไม่เป็นจังหวะไม่มีทำนอง ขอให้ปรบมือให้พร้อมเพรียงกัน หัวหน้าคณะ เรียกว่า โต๊ะชอฆอ จะเป็นผู้ยืนร้องขับกลอนโต้ กับนักร้อง ในวง ร้องเพลงว่ากลอนโต้เสร็จ จึงจะนั่ง อีกคณะหนึ่งต้องจดบันทึกว่าฝ่ายโต้ ว่าอะไรบ้าง เมื่อถึงเวลาตอบโต้อีกฝ่าย สิ่งที่ต้องระวังในการขับกลอนโต้ตอบต้องไม่ให้พลาด เพราะเป็นการแสดงสด ถ้าพลาดแล้วไม่สามารถแก้ตัวได้ ไม่มีการตัดต่อ การแสดงสมัยก่อน มีกรรมการๆจะอยู่ตรงกลาง แต่กรรมการไม่มีสิทธิ์ให้คะแนน แต่จะเอากะลามะพร้าวเจาะรูข้างล่างเล็กๆ ใส่ลงในถังน้ำ ถ้าน้ำเข้าในกะลามะพร้าวฝ่ายไหนน้ำเข้าไปในกะลามะพร้าวเต็มจนจม กรรมการก็จะเป่านกหวีด ให้สัญลักษณ์ว่า ฝ่ายไหนชนะ นี้คือกติกา ผู้ชมจะเป็นผู้ตัดสินว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ชนะ จะได้รับ สิ่งของ พวงมาลัย ของกิน เงิน มากมายบนเวที จนอีกฝ่ายผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะที่แพ้ จะอายถึงกับร้องไห้ หนีลงไปจากเวที แสดงว่าสู้อีกฝ่ายไม่ได้
สมัยก่อนจะมีการแสดงด้วยกัน 2 คืน คืนที่ 1 แสดงตั้งแต่เวลา 3 ทุ่ม – เที่ยงคืน แล้วหยุดพัก
1. ล้อมเป็นวง แล้วปรบมือให้พร้อมๆกัน เป็นการให้พลังเสียงปรบมือกับดนตรีและนักร้องเท่านั้นจะไม่มีความหมายของท่าทาง เพื่อให้ความบันเทิง และความครึกครื้นกับผู้ชม
ปัจจุบันท่าทางในการแสดงแต่ละท่า จะมีความหมายในท่าทาง และลีลาการแสดงด้วย
1.1 ท่าคลื่น บ่งบอกถึงระบบนิเวศน์ ในชุมชนที่อยู่ติดทะเล
1.2 ท่าปลาว่ายน้ำ
1.3 ท่าพายเรือแจว
1.4 ท่าดึง และ เสาอวน
1.5 ท่ากวักมือ เป็นท่า เรียกเพื่อนๆกลับมา (จากที่ไปทำงานตามสถานที่ต่างๆ) เช่น เพื่อนๆที่ไปทำงานที่ประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซีย
ก่อนมีการแสดงทุกครั้ง ผู้แสดงทุกคน ต้องมีการฝึกซ้อม ทั้งการแสดงดนตรีและ การปรบมือ เพื่อให้ผู้แสดงมีความมั่นใจก่อนขึ้นการแสดงทุกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูล และภาพจากเว็บไซต์
https://www.youtube.com/watch?v=zHQvY8Dip9Y
https://www.youtube.com/watch?v=OI6zEEWUZo8
https://www.youtube.com/watch?v=7-hZ-Q_mba4
https://www.youtube.com/watch?v=GpOCfYXgNMQ
https://sites.google.com/site/wathnthrrmphatti/home/kheruxng-dntri-phun-ban-phakh-ti (เครื่องดนตรี)
- Log in to post comments
- 4702 views