เปิดตัวและฝึกใช้งาน “ระบบวิเคราะห์สมรรถนะการวิจัยของประเทศไทย (Thailand Research Analysis and Performance: ThaiRAP)”

ระบบ ThaiRAP เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สมรรถนะงานวิจัยของประเทศไทย พัฒนาขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับทีมวิจัยจาก NECTEC และศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการวางนโยบายด้านการวิจัยของประเทศ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เช่น Scopus และ TCI ซึ่งการพัฒนาระบบจะอิงรูปแบบกับ SciVal ซึ่งใช้ฐานข้อมูล Scopus ส่วน ThaiRAP ใช้ ฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index) เป็นหลัก และเริ่มเชื่อมโยงกับข้อมูล Scopus มากขึ้นในระยะหลัง

     ที่มาของการพัฒนาระบบ ThaiRAP

  •  ข้อมูลที่จัดเก็บ โดย TCI สามารถตอบคำถามประเทศอะไรได้บ้าง
  •  ประเทศไทย มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใด/คนเก่งในแต่ละเรื่องอยู่ที่ไหน
  •  ประสิทธิภาพของหน่วยงานวิจัยหรือบุคลากรวิจัยในประเทศเป็นอย่างไร
  •  ทิศทางงานวิจัยของประเทศไทยเป็นอย่างไร และมีข้อมูลสนับสนุนการวางนโยบายวิจัยได้อย่างไร
วัตถุประสงค์ของระบบ ThaiRAP
  • วิเคราะห์ภาพรวมผลงานวิจัยของประเทศ หน่วยงาน และนักวิจัยรายบุคคล
  • เปรียบเทียบสมรรถนะงานวิจัยระหว่างสถาบันหรือหน่วยงาน
  • ตรวจสอบความร่วมมือด้านการวิจัยในปัจจุบันและโอกาสในอนาคต
  • ค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน และแนวโน้มของหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจ
  • อ้างอิงจากข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบจากฐาน TCI และ Scopus
     คุณสมบัติเด่นของระบบ ThaiRAP

     ThaiRAP มีเมนูหลักที่ตอบโจทย์การใช้งานทั้งเชิงบริหารและวิชาการ ได้แก่:

  • Overview: ดูภาพรวมศักยภาพการวิจัยของสถาบัน กลุ่มนักวิจัย ประเทศ คำสำคัญ และแหล่งข้อมูล
  • Benchmarking: เปรียบเทียบตัวชี้วัดต่างๆ เช่น จำนวนผลงานตีพิมพ์ การอ้างอิง h-index ฯลฯ
  • Collaboration: วิเคราะห์ความร่วมมือที่มีอยู่ และความร่วมมือที่เป็นไปได้ในอนาคต
  • Trends: วิเคราะห์แนวโน้มการวิจัยตามสาขาและหัวข้อวิจัย

นอกจากนี้ ระบบยังสามารถดึงข้อมูลออกมาในรูปแบบ API และ CSV เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อด้วยเครื่องมืออื่นๆ

     ตัวอย่างคำถามที่สามารถใช้ระบบ ThaiRAP ตอบได้

ระดับมหาวิทยาลัย:

  • 5 อันดับสาขาวิชาที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุด
  • นักวิจัยที่มีผลงานมากที่สุดในช่วงเวลาใด
  • คำสำคัญที่หน่วยงานผลิตผลงานมากที่สุด
  • หน่วยงานที่มีความร่วมมือวิจัยบ่อยที่สุด

ระดับประเทศ:

  • ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญในเรื่องใด
  • นักวิจัยหรือสถาบันใดโดดเด่นในสาขาสังคมศาสตร์
  • วารสารใดที่ตีพิมพ์ผลงานจากประเทศไทยมากที่สุด
  • เปรียบเทียบผลงานวิจัยของกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

    การลงทะเบียนและการใช้งาน

  1. เข้าเว็บไซต์ https://thairap.in.th
  2. ใช้อีเมลของหน่วยงานที่ลงทะเบียนแล้วเพื่อเข้าสู่ระบบ
  3. เมื่อล็อกอินสำเร็จ จะเข้าสู่หน้าหลัก ซึ่งสามารถเลือกเมนูต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลได้
  4. หากต้องการใช้งาน API ให้สมัครและขอ API Key ผ่านเมนู "Setting > Public API"

     สรุป

ThaiRAP เป็นแพลตฟอร์มวิเคราะห์สมรรถนะการวิจัยที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งรองรับการใช้ข้อมูลในการประเมินผลงานวิจัย เชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน ตลอดจนการวางนโยบายระดับประเทศ ด้วยข้อมูลที่เป็นระบบและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ThaiRAP จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหาร นักวิจัย และผู้จัดการงานวิจัยในทุกระดับ

เครดิตข้อมูลและเอกสารจาก: การประชุมเพื่อเปิดตัวการใช้งำนระบบวิเคราะห์สมรรถนะกรวิจัยของประเทศไทย (Thailand Research Analysis and Performance: ThaiRAP) วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 แบบออนไลน์ ผ่านทางระบบ Zoom

 

Rating

No votes yet