เลขหมู่ 297.1 (Source of Islam)
หมวด 297 ศาสนาอิสลาม (Islam), ลัทธิบาบิสม์ (Babism), ลัทธิบาไฮ (Bahai Faith)
ศาสนาอิสลาม (ISLAM)
เนื้อหาในส่วนนี้จะกล่าวถึงเลขหมู่ 297.1 (Source of Islam) เลขหมู่ตั้งแต่ 297.12 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Koran and Hadith เน้นหมวดหมู่ที่สำคัญๆที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์สารสนเทศประเภทอิสลามศึกษา เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการให้เลขหมู่ในส่วนของเนื้อหารที่กล่าวถึงกุรอานและหะดีษ
กุรอาน เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ได้มาจากพระเจ้าคือพระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ที่ท่านศาสดามูฮัมหมัดได้รับการถ่ายทอดจากพระเจ้าโดยตรง
หะดีษ เป็นพระวจนะของท่านศาสดามูฮัมหมัด ซึ่งท่านศาสดาฯได้รับจากพระคัมภีร์กุรอาน
297.01-297.09 สำหรับเลขจากตาราง 1
297.1 ที่มาของศาสนาอิสลาม กำเนิดศาสนาอิสลาม (Source of Islam)
297.090211 ช่วงเวลาแห่งการเปิดเผย ช่วงปีค.ศ. 610-632 ตั้งแต่การเปิดเผยศาสนาอิสลามครั้งแรกถึงศาสดามูฮัมหมัดเสียชีวิต และมีการแบ่งช่วงเวลาในช่วงต่างๆอีกหลายช่วง
297.090212 ยุคของกาหลิบ (หรือคอลีฟะห์) ผู้นำโดยชอบธรรมสี่คนช่วงปีค.ศ. 632-661 เลขหมู่นี้ครอบคลุมในศตวรรษที่ 7 Rashidun Caliphate เช่น ยุคสมัยท่าน Abu Bakr คือ 953.02092
297.090213 ยุคเนซองส์ ช่วงปีค.ศ. 661-718
297.090214 เป็นช่วงเวลาของการบันทึกและการเกิดขึ้นของโรงเรียนแนวคิดแบบอิสลาม, ช่วงปีค.ศ. 718-912
297.092 ชีวประวัติ เลขหมู่นี้ใช้กับชีวประวัติของบุคคลทั่วในศาสนาอิสลาม
หมายเหตุ ชีวประวัติของกาหลิบ (หรือคอลีฟะห์) ในฐานะที่เป็นพลเมืองและและผู้นำศาสนา ในช่วงปีค.ศ. 940-990 เช่น ท่าน Abu Bakr ให้ใช้เลขหมู่ 953.02092 (แทนการใช้เลขหมู่ 297.092)
297.1 ที่มาของศาสนาอิสลาม กำเนิดศาสนาอิสลาม (Source of Islam)
297.12 คัมภีร์กุรอาน หรือคัมภีร์อัลกุรอาน และหะดีษ
297.122 คัมภีร์กุรอาน หมวดนี้ กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับคัมภีร์กุรอาน ประวัติและเทววิทยาตามอัลกุรอานและหะดีษ
297.1221 ความเป็นมาดั้งเดิมและแท้จริง และความถูกต้องของคัมภีร์กุรอาน รวมทั้งการดลใจ และอรรถกถาของโองการ อรรถกถาเกี่ยวกับประวัติแต่ละครั้งที่โองการในคัมภีร์กุรอานได้มีข้อความถูกเปิดเผย และคำทำนายในอัลกุรอาน Z
297.1222 เล่าเรื่องอัลกุรอานอีกครั้ง รวมทั้งหนังสือภาพ
297.122 404 2 การรวบรวมและการบันทึกอัลกุรอาน
297.122 404 5 การทบทวนและการอ่าน เนื้อหาส่วนนี้ครอบคลุมเกี่ยวกับศิลปะในการอ่านออกเสียงอัลกุรอานที่ไพเราะ เรียกว่าตัจญ์วีด (Tajwid) เป็นวิชาเกี่ยวกับอ่านการออกเสียงอัลกุรอาน หลักการอ่านอัลกุรอานเบื้องต้นให้ถูกต้องตามหลักตัจญ์วีด การอ่านแบบกีรอาตี (Qiraati) เป็นแบบฝึกอ่านอัลกุรอานที่มีผลสัมฤทธิ์สูงช่วยให้นักเรียนอ่านภาษาอาหรับได้ง่ายและรวดเร็ว การอ่านอัลกุรอานมีความยาก ที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สูง ทั้งวิชาตัจญ์วีด (Tajwid) และกีรอาตี (Qiraati) ถือเป็นศาสตร์ว่าด้วยการอ่านที่มุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อจะได้อ่าน ออกเสียง พยัญชนะในภาษาอาหรับได้ถูกต้อง และได้อ่านอัลกุรอานได้ไพเราะ
297.122 5 การแปล
297.122 6 การตัฟซิรอัลกุรอาน การตีความและการวิจารณ์ (อรรถกถา)
297.122 68 การตีความเชิงเปรียบเทียบและเชิงตัวเลข
297.122 7 ข้อคิดเห็น
297.122 8 วิชาอื่นๆที่มีเนื้อหานอกจากที่ได้รับการปฎิบัติในอัลกุรอาน เช่น วิชาว่าด้วยจรรยาบรรณอิสลาม (Islamic ethics) จะใช้เลขหมู่ 297.5
297.12285 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติในอัลกุรอาน
297.122 9 suras หรือเรียกว่า surah หรือซูเร๊าะห์ในอัลกุรอาน มีทั้งซูเร๊าะห์ที่เป็นเอกเทศส่วนบุคคล และมีรวมซูเร๊าะห์
297.125 หะดีษ (Hadith (Traditions)
297.125 1 หัวข้อทั่วไปของหะดีษ
297.125 12 หะดีษเล่าเรื่องใหม่ รวมทั้งหนังสือภาพ
297.125 16 การตีความ หรือ การตัฟซิรหะดีษ เลขหมู่นี้รวมถึงการศึกษาที่มาของหะดีษ)
297.160 1 ปรัชญาและทฤษฎี ได้กล่าวเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาอรรถศาสตร์ หลักการ และวิธีการตีความหะดีษ หรือการตัฟซิรหะดีษ
297.125 2 การจำแนกหะดีษ เรียกว่า มุสตาละห์ อัล-หะดีษ Mustalah al-Hadith มีดังนี้
297.125 21 เป็นหะดีษที่แท้จริง (Authentic Hadith) เป็นหะดีษที่ดี (Good Hadith) ประกอบด้วยหะดีษของ -al-marfu (เป็นหะดีษที่ได้รับจากท่านศาสดามูฮัมหมัดโดยตรงหรือโดยเฉพาะและได้ยินได้ฟังมาด้วยตัวเอง)
-al-mawqtu (เป็นหะดีษที่ได้รับจากสหายของท่านศาสดามูฮัมหมัด)
-al-maqtu (เป็นหะดีษที่ได้รับมาจากตาบิ (The tabi ) เป็นผู้สืบสกุลของสหายท่านศาสดามูฮัมหมัด) -aAl-muttasil Hadith เป็นหะดีษที่มีการส่งต่อไปยังศาสดาอย่างต่อเนื่อง)]
297.125 222 -Al-daif เป็นหะดีษที่อ่อนแอ (Weak hadith) ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีการบอกความเป็นมาของหะดีษ มีดังนี้ -Al-mu’allaq (เป็นหะดีษที่มีความไม่ต่อเนื่องในช่วงเริ่มต้นของการส่งต่อหะดีษไม่สม่ำเสมอ)
297.125 225 Al-mawdu เป็นหะดีษประดิษฐ์ (Fabricated Hadith) ไม่ได้บอกหรืออ้างชื่อผู้เขียน
297.125 23 Al-mutawatir เป็นหะดีษที่อยู่ในกลุ่มหะดีษใหญ่รวมกันหลายๆหะดีษ ไม่บอกหรืออ้างชื่อผู้เขียน
297.125 24 Al-ahad หะดีษที่มีการบอกส่งต่อไปยังหนึ่งคน หรือสองคน หรือสามคนไม่บอกหรืออ้างชื่อผู้เขียน
นอกจากนี้ยังมีหะดีษอีกหลายๆหะดีษที่อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าหะดีษที่อ่อนแอ ไม่น่าเชื่อถือ ไม่บอกกล่าวถึงผู้เขียน ตั้งแต่เลขหมู่ 297.125 26 - 297.125 2642 อ่านรายละอียดจากคู่มือDDC 23 ed. 23 หน้า
305
สำหรับเลขหมู่ 297.125 4 - 297.125 9 เป็นตำราของหะดีษเฉพาะ และการรวบรวมหะดีษงานเกี่ยวกับหะดีษเฉพาะบุคคลของผู้เขียนหะดีษที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในผู้เขียนตำราหะดีษ เช่น หะดีสของอัล-บูคอรี, มุสลิม, ตีรมีซี, อาบูดาวูด เป็นต้นอ่านรายละอียดจากคู่มือDDC 23 ed. 23 หน้า 306 -307
297.125 8 หะดีษศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำพูดของพระเจ้าคือพระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ที่สื่อสารถึงท่านศาสดามูฮัมหมัด (ผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า) โดยตรง
297.125 9 เป็นข้อความของหะดีษของนิกายอื่นที่ไม่ใช่นิกายสุหนี่ หรือซุนนี่ ( Sunni/Sunnites)
นิกายในศาสนาอิสลามมี 4 นิกาย คือนิกายสุหนี่ หรือซุนนี่ ( Sunni/Sunnites), นิกายชีอะห์ ( Shia/Shiites),
นิกายเคาะริจิต หรือเคาะวาริจ (kharijite/khwarij), นิกายซูฟี (Sufi)
297.125 92 หะดีษนิกายชีอะห์ ( Shia/Shiites)
297.125 93 หะดีษของนิกายอื่นๆ
ที่มา : Dewey, Melvil, 1851-1931. (2011). Dewey decimal classification and relative index. (ed.23). edited by Joan S. Mitchell, Julianne Beall, Rebecca Green, Giles MartinWinton and Michael Panzer. Ohio : OCLC Online Computer Library Center.
- Log in to post comments
- 107 views