สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ LEAN&KAIZEN
สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ LEAN&KAIZEN
ความเป็นมาของKaizen เป็นแนวคิดแบบญี่ปุ่น สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เป็นสายการผลิตและโรงงานต่าง ๆ เกิดในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 1,300 ปี เป็นที่นิยมในยุดคสมัยเอโดะ หรือประมาณ 300 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นใช้ไคเช็นในการบริหารเชิงคุณภาพปรับปรุงกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการบริหารดำเนินการในทุกระดับ บุคลากรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงการทำงาน
ปลายทศวรรษ 1970 ผุ้นำทางอุตสากรรมได้เปลี่ยนจากโลกตะวันตก มาเป็นโลกตะวันออก โดยบริษัทโตโยต้าของญี่ปุ่นได้นำไคเซ็น (Kaizen) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ และมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กกล้า อิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ สิ่งผลให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ต้นทุนลดลง พัฒนาขีดความสามารถ จนมีส่วนแบ่งในการครองตลาดโลกได้
Kaizen&Lean
ความหมายของ Kaizen
Kai แปลว่า การเปลี่ยนแปลง ( Change)
Zen แปลว่าดี (Good)
KAIZEN คือ การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) เน้นให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ให้งานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น คงมาตรฐานไว้ ลดการสูญเสีย ประหยัดต้นทุนและเวลา
คำของ Kaizen
Keizen Event (Keizen Blitz) การประชุมปรึกษาหารือทำ Workshop เพื่อปรับปรุงพัฒนางาน
Karakuri Kaixen กิจกรรมที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา หน้างาน โดยพนักงานจะต้องสังเกตสภาพความผิดปกติที่เกิดขึ้นหน้างานเป็นประจำ
Genba Kaizen กิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยเข้าไปเห็นสถานที่จริง ของจริง และสถานกาณ์จริงKaizen Suggestion กิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหารพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยการเสนอปัญหาและแนวทางการปรับปรุงพัฒนา
Kaizen มี 3 ระดับ คือ Kaizenของผู้บริหาร Kaizenของกลุ่ม Kaizenของบุคคล
New QC 7 Tools สำหรับผู้บริหาร
แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้องนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่มของข้อมูลไว้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในขั้นต่อไป
แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ หลักจากจัดกลุ่มข้อมูลแล้ว ผู้บริหารควรมุ่งแน้นไปที่ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข
แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ ใช้เพื่อแนวทางแก้ไข/ป้องกัน ในรูปของแผนงาน/แนวทางหรือวิธีการ โดยตอบคำถามว่า “ทำอย่างไร” เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่อยากเป็น
แผนภูมิเมตริกซ์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยหาความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และแผนงาน/มาตรการ/วิธีการที่ได้จากการเสนอแนะขึ้นว่าแนวทางใดน่าจะมีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า
แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้เปรียมเทียบสมรรถนะ จากมุมมองของลูกค้าและเทียบกับคู่แข่งเป็นผู้นำในด้านสินค้า หรือบริการคล้าย ๆ กับองค์กรของเรา
แผนภาพทางเลือกตัดสินใจเพื่อบริหารความเสี่ยง เครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/วิธีการ โดยมุ่งแน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบุรรลุวัตถุประสงค์ฝเป้าหมายที่กำหนดไว้
แผนภูมิลูกศร เป็นการวางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหนังของแต่ละกิจกรรม ว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง
สำหรับKauzenของบุคคล จะต้องใช้ 5W1H และ ECRS
การระบุสารเหตุของปัญหาและการปรบปรุงด้วยการใช้ 5W1H และ ECRS
What งานที่ทำคืออะไร |
Whyทำ ทำไม |
งานที่ทำมีประโยชน์และสอดคล้องกับเป้าหมาย |
Eliminate การกำจัด
|
Whem ทำเมื่อไร Where ทำที่ไหน Who ใครเป็นคนทำ |
เพื่อทบคทวยความเหมาะสมของลำดับขั้นตอนสถานที่ และคน |
Combine การรวมกัน Rearrange การจัดใหม่ |
|
How ทำอย่างไร |
|
วิธีการที่ทำอยู่ เหมาะสมหรือยากง่ายยังไง |
Simplify การทำให้ง่าย |
ประโยชน์ของ Kaizen
- ผลผลิตมีมาตรฐานเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือดีมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
- พัฒนาบุคลากร องค์กร และกระบวนการผลิด/การทำงาน
- ลดการสูญเสีย ลดการเกิดของเสียในการผลิด
- ลดต้นทุนในการผลิต ทั้งวัตถุดิบ เวลา และแรงงานช่วยเพิ่มกำไร
ประโยชน์ของ Kaizen
- ผลผลิตมีมาตรฐานเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือดีมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
- พัฒนาบุคลากร องค์กร และกระบวนการผลิด/การทำงาน
- ลดการสูญเสีย ลดการเกิดของเสียในการผลิด
- ลดต้นทุนในการผลิต ทั้งวัตถุดิบ เวลา และแรงงานช่วยเพิ่มกำไร
กำจัด 3 M คือ
Muda หมายถึง ความสูญเปล่า จากการเคลื่อนย้าย การรอ การผลิตมากเกินไป การเกิดของเสีย
Mura หมายถึง ความไม่สม่ำเสมอ วิธีการทำงานหรือปริมาณผลผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่มีความคงที
Muri หมายถึง การทำงานเกินกำลัง ประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง บุคลากรเกิดความเครียด มีอาการล้า
หลักการทำงานของ Kaizen แนวทางทางลด 3M
- ยึดหลัก เลิก-ลด-เปลี่ยน
- เน้นประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์
หลักการพื้นฐาน 10 ประการของ KAIZEN
- ต้องโยนความคิดที่ติดยึดเดิมออกไป
- ต้องคิดว่าวิธีการใหม่จะทำได้อย่างไร
- ต้องอย่าบอมรับข้อแก้ตัว
- ต้องไม่รอความสมบูรณ์แบบ
- ต้องดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดทันทีที่พบ
- ต้องไม่ใช้เงิน/งบประมาณมากในการปรับปรุง
- ต้องมองว่า “ปัญหา” ให้โอกาสเราใช้สมอง
- ต้องตามทำไมอย่างน้อย 5 ครั้ง
- ต้องเชื่อว่าความคิดของคน 10 คน ย่อมดีกว่าความคิดเดียว
- ต้องเชื่อว่าการปรับปรุงไม่มีวันจบ
(ดลยา บุญชูวงค์ และคณะ,2023)
ความหมายของ Lean
Lean หมายถึง การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อ
- เพิ่มคุณค่า ให้กับผู้รับบริการให้มากที่สุด โดยการกำหนดคุณค่าจากมุมมองของผู้รับบริการหรือขั้นตอนถัดไป
- ค้นหา/กำหนดขั้นตอนที่สิ้นเปลืองหรือเป็นความสูญเปล่า ลดหรือขจัด Waste ให้เหมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุด
- ทำให้กระบวนการทำงานไหล อย่างราบรื่นไม่สะดุด ไม่ติดขัด
- Pull vs Push เริ่มทำงานจากความต้องการของลูกค้าหรือความพร้อมของขั้นตอนถัดไป ไม่ทำก่อนนั้น คือไม่Push
- มุ่งมันที่จะทำให้กระบวนการทำงานสมบูรณ์ที่สุด ด้วยการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- Mura and Muri
Mura – ลดการผันแปรของขั้นตอนและชนิดงาน เพื่อทำให้สมารถควบคุมการไหลของงานได้
Muri – ควบคุมปริมาณงานที่มากเกินไป ไม่ทำให้คนทำงานเครียด ไม่ทำให้เครื่องมือทำงานหนักเกิดไป
สรปุความหมายของ Lean
การกำจัดหรือลดความสูญเปล่า ออกจากกระบวนการทำงาน เพิ่มคุณค่า ตามความต้องการของลูกค้า และทำให้ขั้นตอนการทำงานไหลลื่น โดยไม่ติดขัดและปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด
ประโยชน์ของการบริหารจัดการแบบลีน
- เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผลงาน
- เพิ่มความรวดเร็วของการทำงาน ลดระยะเวลาในการรอคอย
- เพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
- สร้างการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงานและหน่วยอื่น
- ลดความเครียดของบุคลากร
- ลดการเก็บ
- ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการบริหารจัดการ
- ลดจำนวนเอกสาร
- ทำให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น
- Log in to post comments
- 16 views