ลักษณะการชำรุดของหนังสือ
การชำรุดของหนังสือห้องสมุด แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1.ลักษระการชำรุดน้อย เช่น หน้าหนังสือถูกพับไว้และรอยพับเริ่มขาด มีรอยปากกาดินสอขีดเขียนทำเครื่องหมายไว้ มีคราบรอยสกปรกที่ขอบหนังสือ มุมปกช้ำ เป็นต้น
2. ลักษณะการชำรุดมากที่อาจซ่อมได้ ได้แก่ จุดต่อหรือรอยบานพับระหว่างปกกับตัวเล่มฉีกขาด หรือหลุดออกจากกัน จุดที่เย็บเล่มชำรุด เช่น ด้ายที่เย็บขาดหรือหลวม ลวดเย็บหักหรือเป็นสนิมหรือกาวทาสันแห้งกรอบไม่ยึดแน่น ทำให้หน้าหนังสือหลุดออกเป็นแผ่นหรือเป็นปีก ปกแข็งหักยับหรือเก่า เปื่อย เป็นต้น
3.ลักษณะการชำรุดมากและอยู่ในสภาพที่ควรคัดออกจากห้องสมุด ได้ สภาพของวัสดุสิ่งพิมพ์ที่ชำรุดเสียหายมาก มีเนื้อหาไม่ครบหรือสมบูรณ์ นอกจากนั้นอายุของสิ่งพิมพ์ที่นานมากจนกระดาษเสื่อมคุณภาพจนเหลืองกรอบ หลุดออกเป็นแผ่น
หนังสือที่ชำรุดเล็กน้อย หรือชำรุดมากแต่เป็นเรื่องที่มีคุณค่า เนื้อหาครบถ้วยและสภาพทั่วไปยังซ่อมได้ก็ควรดำเนินการซ่อมใช้ต่อไป
หนังสือที่ชำรุด ไม่จำเป็นจะต้องซ่อมทุกเล่มเสมอไป เพราะเมื่อซ่อมแล้วอาจไม่คุ้มกับประโยชน์ที่จะได้ ควรคัดออกจากห้องสมุด หนังสือที่ชำรุดและไม่ควรซ่อม ได้แก่ หนังสือที่มีเนื้อหาล้าสมัย หนังสือนั้นสามารถหาเล่มอื่นที่มีคุณภาพดีกว่าหรือทันสมัยกว่ามาทดแทนได้ และหนังสือนั้นไม่มีความเหมาะสมต่อแหล่งความรู้ในห้องสมุดนั้นอีกต่อไป
- Log in to post comments
- 592 views