7 วิธีทําให้คอมพิวเตอร์บูตเข้า Windows 10 ได้เร็วยิ่งขึ้น

 

1. ปิดคุณสมบัติ Fast Startup

โดยปกติแล้ว ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 คุณสมบัติ Fast startup จะถูกเปิดใช้งานเอาไว้เป็นค่าเริ่มต้น ตามหลักการ มันจะช่วยลดเวลาในการเริ่มระบบด้วยการดาวน์โหลดข้อมูลที่จำเป็นในการบูตระบบมาเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนที่คุณจะปิดคอมพิวเตอร์

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้จำนวนมากพบว่า มันได้ผลตรงกันข้าม ทำให้คอมพิวเตอร์บูตช้าลงซะงั้น ดังนั้นการปิดคุณสมบัตินี้ดูก่อน อาจช่วยแก้ปัญหาให้คุณได้
วิธีปิดคุณสมบัติ Fast Startup

    - คลิก "ปุ่ม Start" พิมพ์ค้นหาว่า "Control Panel" แล้วคลิกเข้าไป
    - คลิกที่ "ไอคอน Power Options" 
    - ตรงเมนูฝั่งซ้ายมือ ให้คลิกที่ "เมนู Choose what the power buttons do"
    - คลิกที่ "เมนูย่อย Change settings that are currently unavailable"
    - ตรงช่อง ☑ Turn on fast startup (recommended) ถ้ามีเครื่องหมาย ✓ ติ๊กอยู่ ให้ติ๊กเอาออก
    - คลิก "ปุ่ม Save Changes"

 

2. ปรับแต่งการตั้งค่า Paging File

หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory) เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ ระบบปฏิบัติการ Windows นำพื้นที่ในหน่วยความจำหลักบางส่วนมาทำหน้าที่แทน แรม (RAM - Random Access Memory) ซึ่งเราเรียกการทำงานในส่วนนี้ว่า Paging File เวลาที่พื้นที่ใน RAM เต็มแล้ว ตัวระบบปฏิบัติการ Windows จะเริ่มนำ Virtual Memory เข้ามาช่วยในการทำงาน

ผู้ใช้บางส่วนพบว่า Windows 10 สามารถปรับแต่งขนาดของ Virtual Memory เองอัตโนมัติ ซึ่งมันส่งผลต่อความเร็วในการบูตด้วย ดังนั้นการตั้งค่าการทำงานของมันด้วยตนเองจึงสามารถแก้ปัญหาความเร็วในการบูตได้เช่นกัน
วิธีปรับแต่งการตั้งค่า Paging File

    - คลิก "ปุ่ม Start" พิมพ์ค้นหาว่า "Performance" แล้วคลิกที่ "เมนู Adjust the appearance and performance of Windows"
    - ไปที่ "แท็บ Advanced" ด้านล่างใต้หัวข้อ Virtual Memory คลิกที่ "ปุ่ม Change"
    - เอาเครื่อง ☑ ตรง "ช่อง Automatically manage paging file size for all drives" ออก
    - คลิกเลือก "ช่อง Custom Size" แล้วตั้งค่า Initial Size และ Maximum Size ใหม่ด้วยตนเอง
    - ค่า Initial Size ให้เอาขนาดแรม x 1.5 ส่วน Maximum Size ให้เอาขนาดแรม x 3
    - ตัวอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ของผู้เขียนมีแรมขนาด 32 GB. (1GB = 1,024 MB.) จะได้
       Initial Size คือ 1,024 x 32 x 1.5 = 49,152 MB.
       Maximum Size คือ 1,024 x 32 x 3 = 98,304 MB.
       คลิกที่ "ปุ่ม Set" แล้วตามด้วยกด "ปุ่ม OK" ก็เป็นอันเรียบร้อย
3. ปิดการทำงานของ Linux Subsystem

 

   นอกจากนี้แล้ว ระบบปฏิบัติการ Windows 10 รองรับการทำงานของ Linux Terminal ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อนักพัฒนาเป็นอย่างมาก แต่มันก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณเริ่มระบบได้ช้าด้วยเช่นกัน

  อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว คุณสมบัตินี้จะถูกปิดการใช้งานเอาไว้นะครับ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่ามันถูกเปิดไว้หรือเปล่า เราก็ควรเข้าไปตรวจสอบสถานะมันสักหน่อย หากเปิดอยู่ก็ปิดมันทิ้งซะ
วิธีปิดการทำงานของ Linux Subsystem

    - คลิก "ปุ่ม Start" พิมพ์ค้นหาว่า Windows Features แล้วคลิกที่ "เมนู Turn Windows features on or off"
    - เลื่อนหา "ตัวเลือก Windows Subsystem for Linux"
    - เอาเครื่องหมาย ☑ ออก หากมันมี ✓ ติ๊กอยู่

4. อัปเดตไดร์เวอร์การ์ดจอ (Graphic Card)

   ระบบปฏิบัติการ Windows 10 นั้นจะขึ้นชื่อเรื่องชอบมีปัญหากับ ไดร์เวอร์ (Driver) และยิ่งถ้าหากไดร์เวอร์ของ การ์ดจอ (Graphic Card) นั้นมีปัญหา ก็ส่งผลให้คอมพิวเตอร์เริ่มระบบได้ช้าเช่นกัน

 

5. ปิด Startup Programs ที่ไม่ใช้งาน

ระบบปฏิบัติการ Windows ของเรานั้น อาจจะมี โปรแกรม โปรแกรมบุคคลที่สาม (3rd-Party Software) หลายตัว จะเริ่มทำงานอัตโนมัติเมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ ยิ่งมีโปรแกรมพวกนี้มากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งสิ้นเปลืองทรัพยากรเครื่องเพิ่มขึ้น และ Windows ก็จะเริ่มระบบได้ช้าลงตามไปด้วย
วิธีปิด Startup Programs ที่ไม่ใช้งาน

    - กด "ปุ่มชุด Ctrl + Shift + Esc" เพื่อเปิดหน้าต่าง Task Manager
    ไปที่ "แท็บ Startup"
   -  "คลิกขวาที่โปรแกรม" ที่เราไม่ต้องการให้เปิดอัตโนมัติ แล้วกด "ปุ่ม Disable"
 

 

6. สแกน SFC (System File Checker)

คำสั่ง SFC หรือ System File Checker จะตรวจสอบไฟล์ระบบของ ระบบปฏิบัติการ Windows โดยถ้าหากมีไฟล์ไหนเสีย ก็จะทำการแก้ไขไฟล์ให้อัตโนมัติ อาจจะมีไฟล์ Windows สักตัวที่มีความเสียหาย แล้วส่งผลให้ระบบบูตช้ากว่าปกติก็เป็นได้ ดังนั้นการทำ SFC ดูจึงไม่ใช่เรื่องเสียหาย และอาจช่วยแก้ปัญหาให้คุณได้ด้วย
วิธีสแกน SFC

    - คลิกขวาที่ "ปุ่ม Start" แล้วเลือก Windows PowerShell (Admin)
    - พิมพ์ "คำสั่ง sfc /scannow" แล้วกด "ปุ่ม Enter"
    - อย่าเพิ่งปิดหน้าต่าง รอมันทำงานจนเสร็จ
 

 

7. ล้างการตั้งค่า หรือ รีเซ็ต Windows

ถ้าลองมาทุกกระบวนท่าแล้ว แต่คอมพิวเตอร์ก็ยังบูตช้าอยู่ดี การติดตั้ง ระบบปฏิบัติการ Windows ใหม่อีกครั้งอาจเป็นคำตอบสุดท้าย

ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 มีเครื่องมือสำหรับล้างการตั้งค่า หรือรีเซ็ต (Reset) อยู่ มันจะติดตั้ง Windows ให้เราใหม่ โดยที่ยังเก็บไฟล์เอาไว้ให้เราอยู่ อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน เราก็ควรสำรองข้อมูลที่สำคัญเก็บเอาไว้ก่อนทำอยู่ดีนะ
วิธีรีเซ็ต Windows

    - เข้า "Settings" แล้วคลิกที่ "เมนู Update & Security" ที่เมนูด้านซ้ายมือคลิก Recovery
    - ใต้ "เมนู Reset this PC" คลิก "ปุ่ม Get Started"
    - เลือก "เมนู Keep my files"
    - เลือกว่าจะดาวน์โหลด Windows ใหม่จาก Cloud Download หรือ Local Reinstall แล้วแต่สะดวก
 

เครดิตโดย : https://tips.thaiware.com/390.html

 

 

 

 

 

 

 

 

Rating

No votes yet